อาหารจีนแบบญี่ปุ่น![]() ![]() ![]() ![]() ![]() อาหารจีนแบบญี่ปุ่น (日本式中華料理)[1][2] เป็นรูปแบบของอาหารที่ถูกคิดค้นขึ้นใหม่ในประเทศญี่ปุ่น จากการปรับอาหารจีนให้เข้ากับวัฒนธรรมญี่ปุ่น และรสนิยมของคนญี่ปุ่น ในภาษาญี่ปุ่น คำว่า "จูกะ" (中華) บางครั้งใช้เพื่อหมายถึงอาหารจีนหรือร้านอาหารที่ให้บริการอาหารจีน[3] และถูกใช้ในชื่ออาหารญี่ปุ่นแบบจีนหลายชนิด เช่น จูกาดง (中華丼), ฮิยาชิจูกะ (冷やし中華) เป็นต้น ประวัติความเป็นมาของอาหารจีนแบบญี่ปุ่นอาจกล่าวได้ว่าเป็นผลผลิตของการแลกเปลี่ยนทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมระหว่างญี่ปุ่นและจีน ประวัติศาสตร์การนำอาหารจีนเข้าสู่ญี่ปุ่นมีมาตั้งแต่ยุคยาโยอิ อย่างเช่นนาเรซูชินั้นถูกสร้างขึ้นในช่วงการเพาะปลูกข้าวเริ่มขึ้นในญี่ปุ่น[4][5] และสันนิษฐานว่าวิธีการรับประทานปลาในจีนและอุษาคเนย์ ได้ถูกนำมาใช้ในญี่ปุ่นในขณะนั้น ในสมัยราชวงศ์ถัง และ ซ่ง เมื่อการค้าขายระหว่างจีนและญี่ปุ่นดำเนินไป อาหารจีนจำนวนมากได้ถูกนำมาสู่ญี่ปุ่น ตัวอย่างเช่น ในกรณีของ อุด้ง ซึ่งเป็นตัวแทนของอาหารญี่ปุ่น มีทฤษฎีที่นักเรียนชาวญี่ปุ่นส่งไปเป็นทูตของราชวงศ์ถัง ได้นำเทคนิคการทำบะหมี่จากถังกลับมา โทโกโรเต็ง ยังเป็นอาหารที่ได้รับการนำมาจากประเทศจีนในยุคนาระ[6] อีกทฤษฎีหนึ่งก็คือพระเอ็นนิซึ่งกลับมาจากจีนในปี 1241 ได้นำเทคโนโลยีการโม่แป้ง และเผยแพร่วัฒนธรรมการกินอาหารทำจากแป้งไปยังญี่ปุ่น[7] อาหารญี่ปุ่นอื่น ๆ เช่น โซเม็ง[8] มิโสะ[9][10] และ นัตโต[11][12] ก็เชื่อกันว่ามีต้นกำเนิดมาจากประเทศจีน ในช่วงยุคเอโดะ ญี่ปุ่นทำการปิดประเทศ (ซาโกกุ) แต่การค้าขายกับราชวงศ์ชิงยังคงดำเนินไปผ่านทางนางาซากิ และปลิงทะเลแห้งเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญจากญี่ปุ่นซึ่งเป็นแหล่งรายได้[13] ในช่วงกลางยุคเอโดะ อาหารชิปโปกุ ที่ทำจากอาหารจีนถือกำเนิดขึ้นที่นางาซากิ[13] และได้รับความนิยมในเอโดะในช่วงปลายยุคเอโดะด้วย[13] อย่างไรก็ตามอาหารชิปโปกุไม่ได้ใช้เนื้อสัตว์ และอาหารจีนต้นตำรับต้องรอจนถึง ยุคเมจิ เมื่อการห้ามรับประทานเนื้อสัตว์ถูกยกเลิก[13] ใน ปี 1883 ชิบุซาวะ เออิจิ เป็นผู้นำในการก่อตั้งร้านอาหารที่ให้บริการอาหารจีนต้นตำรับขึ้นในญี่ปุ่น[13] อย่างไรก็ตามราคาถือว่าสูงเมื่อเทียบกับเงินเดือนของคนทั่วไปในปลายยุคเมจิ จึงถือเป็นอาหารชั้นสูงที่คนทั่วไปเข้าถึงไม่ได้[13] ใน ปี 1910 ร้านอาหารจีนไรไรเก็ง ได้เปิดทำการในอาซากุสะ[13] หลังจากนั้นร้านอาหารชื่อดังหลายแห่งก็เปิดตั้งแต่ยุคเมจิถึงยุคไทโช และในยุคโชวะ ร้านค้าเหล่านี้ก็เนืองแน่นไปด้วยครอบครัวและงานสังสรรค์[13] นอกจากนี้ ตั้งแต่ปลายยุคไทโชจนถึงยุคโชวะ นิตยสารผู้หญิงได้รับความนิยมอย่างมาก และนิตยสารผู้หญิง เล่มก็มีหน้าการทำอาหารเป็นหนึ่งในบทความเด่น และอาหารจีนก็ถูกนำเสนอจากมุมต่าง ๆ[13] ตลอดระยะเวลากว่า 80 ปี ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1868 ถึง 1930 อาหารจีนที่เข้าสู่ประเทศญี่ปุ่นสามารถจำแนกได้ดังนี้
เมื่อรสชาติและส่วนผสมของอาหารจีนแผ่นดินใหญ่ถูกแนะนำในญี่ปุ่น รสชาติและส่วนผสมอาจมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย ตัวอย่างทั่วไป ได้แก่ อาหารเสฉวน เช่น หมาผัวโต้วฟู กุ้งผัดพริก และ หมาผัวเฉียจึ ซึ่งได้รับการปรุงเพื่อลดความเผ็ดของอาหารเสฉวนให้เหมาะกับรสนิยมของคนญี่ปุ่น ตัวอย่างอาหารจีนแบบญี่ปุ่นส่วนประกอบอย่างเช่นซุปเปรี้ยวเผ็ดได้ถูกนำมาใช้ในอาหารจีนหลายชนิด แต่ไม่ค่อยมีการนำมาทำบะหมี่ แต่ในญี่ปุ่นได้มีการนำมากินกับราเม็ง เกิดเป็นเมนูราเม็งซุปเปรี้ยวเผ็ดขึ้นมา[19] ราเม็งราเม็งเป็นอาหารจีนแบบญี่ปุ่นที่มีที่มาจากลาเมี่ยนของจีน ในประเทศจีนนั้น ลาเมี่ยนหลานโจว เป็นที่นิยม แต่ก็ไม่ได้มีความหลากหลายมากนัก[19] ในขณะที่ในญี่ปุ่น มีราเม็งหลากหลายชนิดมาก มีความแตกต่างกันไปตามส่วนประกอบ เช่นใช้เครื่องปรุงที่ต่าง เช่นโชยุ, มิโสะ, เกลือ เป็นต้น[19] เกี๊ยวซ่าในญี่ปุ่น เกี๊ยวซ่า ซึ่งเป็นเกี๊ยวที่ทำโดยการทอดเป็นที่นิยม แต่ในจีนเกี๊ยวน้ำเป็นที่นิยมกว่า[19] นอกจากนี้ประเภทของส่วนผสมที่ใช้ในประเทศจีนก็มีมากกว่า[19] ชาฮังชาฮังคือข้าวผัดแบบญี่ปุ่น แม้ว่าข้าวผัดจีนและญี่ปุ่นจะมีลักษณะคล้ายกัน แต่ข้าวผัดจีนมีความมันมากกว่าข้าวผัดญี่ปุ่น และไม่มีเนื้อสัมผัสกรุบกรอบเหมือนอย่างข้าวผัดญี่ปุ่น[19] ตัวอย่างอาหารที่มีต้นกำเนิดจากประเทศญี่ปุ่นซึ่งไม่พบในประเทศจีนปฏิกิริยาในประเทศจีนจากการสัมภาษณ์โดยยู ฮานาโซโนะ บล็อกเกอร์ที่อาศัยอยู่ใน เซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน ไม่พบความคิดเห็นจากชาวจีนที่มองว่าอาหารจีนแบบญี่ปุ่นเป็นปัญหาแต่อย่างใด[20] อาหารจีนนั้นมีความแตกต่างกันไปในด้านเครื่องปรุงรสและส่วนผสมขึ้นอยู่กับภูมิภาค และได้รับการออกแบบให้เหมาะกับภูมิภาค จึงเป็นเรื่องปกติที่คนญี่ปุ่นในญี่ปุ่นจะเปลี่ยนอาหารให้เหมาะกับรสนิยมของคนญี่ปุ่น[20] แม้กระทั่งการเรียกอาหารที่คนญี่ปุ่นคิดค้นขึ้นว่า "อาหารจีน" ก็ได้รับการมองว่าเป็นการแสดงถึงความเคารพต่ออาหารจีน โดยไม่ได้อ้างว่าเป็นอาหารของประเทศตัวเอง[20] อ้างอิง
|
Portal di Ensiklopedia Dunia