อันดับมหาวิทยาลัยไทยจากมุมมองของนานาชาติหลากหลายสำนัก สามารถทำให้เห็นภาพรวมและศักยภาพของมหาวิทยาลัยไทยในสังคมโลกยุคปัจจุบัน ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาเพื่อให้ทัดเทียมนานาอารยประเทศ
การจัดอันดับโดย Academic Ranking of World Universities
การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดย Academic Ranking of World Universities หรือ ARWU ประจำปี 2017 จัดโดยมหาวิทยาลัยเซี่ยงไฮ้เจียวทง ของประเทศจีน โดยใช้เกณฑ์พิจารณาจากงานวิจัย ที่ได้รับการตีพิมพ์และอ้างอิงในวารสารชั้นนำของโลก ศิษย์เก่าที่ได้รับรางวัลโนเบล หรือรางวัลในระดับนานาชาติ
CWTS Leiden University
เป็นการจัดอันดับโดยอาศัยข้อมูลจากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวรสารที่มีอยู่ในฐานข้อมูลของ Web of Science ซึ่งเป็นฐานข้อมูลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ขนาดใหญ่แห่งหนึ่งของโลก รวมทั้งหมด 842 มหาวิทยาลัย จาก 53 ประเทศทั่วโลก[ต้องการอ้างอิง ]
Center for World University Rankings (CWUR)
เป็นการจัดอันดับโดยพิจารณาจากการได้รับรางวัลต่างๆในระดับนานาชาติและการได้ดำรงตำแหน่ง CEO ในบริษัทชั้นนำทั่วโลกของบัณทิตที่จบไปแล้ว, การได้รับรางวัลต่างๆในระดับนานาชาติ ของคณาจารย์, งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารที่มีชื่อเสียง เป็นต้น[ต้องการอ้างอิง ]
Nature Index
Nature Index จัดโดยวารสารในเครือ Nature Publishing Group ซึ่งเป็นวารสารทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีชื่อเสียงชั้นนำของโลก โดยการนับจำนวนบทความที่ตีพิมพ์ต่อปีในวารสารที่ในเครือ Nature Publishing Group
Quacquarelli Symonds (QS)
Quacquarelli Symonds (QS) เป็นสถาบันการจัดอันดับมหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักร ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่นิยม โดยมีการจัดอันดับที่ครอบคลุม ประกอบด้วย การจัดอันดับมหาวิทยาลัยระดับโลก(QS World University Rankings® ) การจัดอันดับมหาวิทยาลัยระดับภูมิภาค(QS University Ranking by Region) การจัดอันดับมหาวิทยาลัยแบ่งตามกลุ่มวิชา(QS University Ranking by Faculty) และ การจัดอันดับมหาวิทยาลัยตามรายวิชา(QS University Ranking by Subject)
การจัดอันดับมหาวิทยาลัยระดับโลก(QS World University Rankings® )
ใช้ดัชนีชี้วัดดังนี้[ 22]
ชื่อเสียงทางวิชาการ : สำรวจจากอาจารย์ทั่วโลก (40%)
ทัศนคติของผู้จ้างงานบัณฑิต : สำรวจจากผู้จ้างงานทั่วโลก (10%)
สัดส่วนจำนวนอาจารย์ต่อนักศึกษา : ชี้วัดคุณภาพการสอน (20%)
สัดส่วนจำนวนการอ้างอิงต่อจำนวนอาจารย์ : ชี้วัดคุณภาพการวิจัย (20%)
สัดส่วนนักศึกษาต่างชาติ : วัดความเป็นนานาชาติของนักศึกษา (5%)
สัดส่วนอาจารย์ต่างชาติ : วัดความเป็นนานาชาติของอาจารย์ (5%)
การจัดอันดับมหาวิทยาลัยระดับภูมิภาคเอเชีย (QS University Ranking by Region: Asia)
ใช้ดัชนีชี้วัดดังนี้[ 29]
ชื่อเสียงทางวิชาการ (30 เปอร์เซนต์) เป้าหมายของตัวชี้วัดนี้เพื่อจะบอกว่ามหาวิทยาลัยใดมีชื่อเสียงในในระดับนานาชาติ
การสำรวจผู้จ้างงาน (20 เปอร์เซนต์)
อัตราส่วนของคณะต่อนักศึกษา (15 เปอร์เซนต์) วัดจากอัตราส่วนของบุคลากรทางการศึกษาต่อจำนวนนักศึกษา และการติดต่อและให้การสนับสนุนของบุคลากรที่มีต่อนักศึกษา
การอ้างอิงในรายงาน (10 เปอร์เซนต์) และผลงานของคณะ (10 เปอร์เซนต์) เป็นการรวมทั้งงานที่อ้างอิงใน scopusและ การตีพิมพ์ผลงานโดยคณะนั้นๆเอง
บุคลากรระดับดุษฎีบัณฑิต (5 เปอร์เซนต์)
สัดส่วนคณะที่เป็นหลักสูตรนานาชาติ (2.5 เปอร์เซนต์) และนักศึกษาต่างชาติ (2.5 เปอร์เซนต์)
สัดส่วนของรับนักศึกษาและเปลี่ยนที่เข้ามาศึกษา (2.5 เปอร์เซนต์) และการส่งนักศึกษาออกไปแลกเปลี่ยน (2.5 เปอร์เซนต์)
การจัดอันดับมหาวิทยาลัยแบ่งตามกลุ่มวิชา (QS University Ranking by Faculty)
ศิลปศาสตร์และมนุษยศาสตร์
วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี
วิทยาศาสตร์ชีวภาพและแพทยศาสตร์
วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ
สังคมศาสตร์และการจัดการ
การจัดอันดับมหาวิทยาลัยแบ่งตามรายวิชา(QS University Ranking by Subject)
ศิลปศาสตร์ มนุษยศาสตร์
โบราณคดี
สถาปัตยกรรม / สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้าง
ศิลปะและการออกแบบ
ประวัติศาสตร์โบราณ
ภาษาอังกฤษและวรรณกรรม
ประวัติศาสตร์
ภาษาศาสตร์
ภาษาร่วมสมัย
ศิลปะการแสดง
ปรัชญา
ศาสนศึกษา
วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี
วิทยาการคอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศ
วิศวกรรมเคมี
วิศวกรรมโยธา
วิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมการบิน วิศวกรรมอุตสาหการ
วิศวกรรมเหมืองแร่
วิทยาศาสตร์ชีวภาพและการแพทย์
การเกษตรและการป่าไม้
กายวิภาค และ สรีระวิทยา
วิทยาศาสตร์ชีวภาพ
ทันตแพทย์
สถาบัน
2018[ 66]
อันดับในประเทศ
อันดับโลก
แพทยศาสตร์
พยาบาลศาสตร์
เภสัชศาสตร์
จิตวิทยา
สัตวแพทย์
วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ
เคมี
วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
ภูมิศาสตร์
วัสดุศาสตร์
คณิตศาสตร์
ปี 2018 ไม่มีมหาวิทยาลัยไทยถูกจัดอันดับ
ฟิสิกส์และดาราศาสตร์
สังคมศาสตร์และการจัดการ
การเงินและการบัญชี
บริหารธุรกิจและการจัดการ
เศรษฐศาสตร์ และ เศรษฐมิติ
สังคมวิทยา
รัฐศาสตร์ และ การศึกษาระหว่างประเทศ
การจัดอันดับ QS Graduate Employability Rankings
เป็นการจัดอันดับคุณภาพการจ้างงานของบัณฑิต โดยพิจารณาจาก ชื่อเสียงและความเชื่อมั่นของผู้จ้างงาน ผลผลิตของบัณฑิต อัตราการจ้างงานบัณฑิต เป็นต้น
Round University Rankings
การจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก Round University Rankings 2016 โดย RUR Rankings Agency ของประเทศรัสเซีย เป็นการจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก (a ranking of leading world universities) ในปี ค.ศ. 2016 มีเกณฑ์ที่ใช้ในการจัดอันดับโดยการพิจารณาตามพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัยใน ระดับสากล 4 ด้าน 20 ตัวชี้วัด คือด้านการสอน (Teaching) 5 ตัวชี้วัด คิดเป็น 40% การวิจัย (Research) 5 ตัวชี้วัด 40% ด้านความเป็นนานาชาติ (International Diversity) 5 ตัวชี้วัด 10% และด้านความยั่งยืนทางการเงิน (Financial Sustainability) 5 ตัวชี้วัด 10%[ 83]
RUR Reputation Rankings
การจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก RUR Reputation Rankings โดย RUR Rankings Agency ของประเทศรัสเซีย เป็นการจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก (a ranking of leading world universities) ในปี ค.ศ. 2016 มีเกณฑ์ที่ใช้ในการจัดอันดับโดยการพิจารณาในด้านชื่อเสียงการสอน และชื่อเสียงเกี่ยวกับงานวิจัย
การจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก RUR Research Performance World University Rankings โดย RUR Rankings Agency ของประเทศรัสเซีย เป็นการจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก (a ranking of leading world universities) ในปี ค.ศ. 2016 โดยเน้นจัดอันดับในด้านคุณภาพการวิจัย
RUR Academic Rankings
การจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก RUR Research Performance World University Rankings โดย RUR Rankings Agency ของประเทศรัสเซีย เป็นการจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก (a ranking of leading world universities) ในปี ค.ศ. 2017 โดยเน้นจัดอันดับในด้านบุคลากร ปริมาณและการอ้างอิงงานวิจัย
SCImago Institutions Ranking (SIR)
SCImago Institutions Ranking (SIR) เป็น การจัดอันดับสถาบันที่มีผลงานวิจัยในระดับนานาชาติ ซึ่งจะไม่ได้นับเฉพาะมหาวิทยาลัย แต่จะนับสถาบันเฉพาะทางด้วย เช่น สถาบันเทคโนโลยี วิทยาลัย โรงพยาบาล เป็นต้น[ 92]
Times Higher Education World University Rankings
นิตยสารไทมส์ไฮเออร์เอดูเคชันซัปพลีเมนต์ (THES) ได้จัดทำอันดับมหาวิทยาลัยทั่วโลก โดยแบ่งเป็นโดยภาพรวม และจัดแยกสาขาออกเป็น 5 สาขา ได้แก่ สาขาเทคโนโลยี (วิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ ) สาขาเวชชีวศาสตร์ สาขาศิลปศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์ และสาขาสังคมศาสตร์
การจัดอันดับมหาวิทยาลัยระดับโลก (THE - World University Rankings)
ใช้ดัชนีชี้วัดดังนี้[ 95]
การสอน : สภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ (30%)
การวิจัย : ปริมาณ รายได้ และชื่อเสียง (30%)
การอ้างอิง : การนำไปใช้อ้างอิง (30%)
รายได้ทางอุตสาหกรรม : นวัตนกรรมใหม่ (2.5%)
ความเป็นนานาชาติ : เจ้าหน้าที่, นักศึกษา และงานวิจัย (7.5%)
การจัดอันดับในเอเชีย(THE - Asia University Rankings)
University Ranking by Academic Performance หรือ “URAP” เป็นการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกที่ก่อตั้งขึ้นโดยสถาบันสารสนเทศของมหาวิทยาลัยเทคนิคตะวันออกกลาง (Informatics Institute of Middle East Technical University) ประเทศตุรกี ในปี ค.ศ.2009 โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ ต้องการที่จะพัฒนาระบบการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก โดยมีพื้นฐานทางด้านวิชาการตรงตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คุณภาพและปริมาณของบทความตีพิมพ์ทางวิชาการ บทความวิจัย การเผยแพร่ และการอ้างอิง เป็นต้น โดยเริ่มทำการเผยแพร่งานวิจัยผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยตั้งแต่ปี 2010 เป็นต้นมา
U.S. News Best Global Universities[ 102]
U.S. News & World Report นิตยสารการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงของสหรัฐอเมริกา มีเกณฑ์จัดอันดับหลายด้าน เช่น ชื่อเสียงการวิจัยในระดับโลก และระดับภูมิภาค สื่อสิ่งพิมพ์ การถูกนำไปอ้างอิง ความร่วมมือระหว่างประเทศ จำนวนบุคลากรระดับปริญญาเอก เป็นต้น
อันดับในด้านอื่นๆ
UI GreenMetric World University Ranking[ 104]
เป็นการจัดอันดับมหาวิทยาลัยสีเขียวและมีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
ใช้ดัชนีชี้วัดดังนี้[ 105]
Setting And Infrastructure (ที่ตั้งและโครงสร้างพื้นฐาน) 15%
Energy and Climate Change (การจัดการพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ) 21%
Waste management (การจัดการของเสีย) 18%
Water usage (การจัดการน้ำ) 10%
Transportation (การขนส่งที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม) 18%
Education (ความสามารถในการให้การศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืน) 18%
การจัดอันดับของ Webometrics จัดทำขึ้นเพื่อแสดงความตั้งใจของสถาบันต่าง ๆ ในการเผยแพร่ความรู้สู่เว็บ และเป็นความริเริ่มเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงความรู้อย่างเปิดกว้าง (Open Access) ทั่วโลก อันดับ Webometrics จะบอกถึงปริมาณและคุณภาพของสิ่งตีพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ในเว็บไซต์ของสถาบัน โดยพิจารณาจากจำนวน Link ที่เชื่อมโยงเข้าสู่เว็บนั้นๆจากเว็บภายนอกโดยวัดจากการสืบค้นด้วย Search Engine และนับจำนวนเอกสารตีพิมพ์ออนไลน์ในกลุ่มของไฟล์ .pdf .ps .ppt และ .doc และจำนวนเอกสารที่มีการอ้างอิง (Citation) แบบออนไลน์ผ่านกูเกิลสกอลาร์ (Google Scholar) โดยจะจัดอันดับปีละ 2 ครั้ง ได้แก่ เดือนมกราคม และ เดือนกรกฎาคม
10 อันดับแรก (อันดับเพิ่มเติมสามารถดูได้ที่เว็บไซต์) http://www.webometrics.info/en/Asia/thailand
*หมายเหตุ มักมีการเข้าใจผิดนำเอาอันดับจาก Webometrics ไปใช้อ้างอิงในด้านคุณภาพของมหาวิทยาลัย ซึ่งผิดวัตถุประสงค์ของการจัดอันดับนี้ที่เน้นในด้านของระบบสื่อออนไลน์และการสืบค้นผ่านระบบอินเทอร์เน็ต
ตัวอย่างการนำ Webometrics ไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ เช่น
"อันดับมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดด้านวิชาการจาก Webometrics"
ตัวอย่างแนะนำที่ใช้ตรงตามวัตถุประสงค์ เช่น
"อันดับมหาวิทยาลัยในด้านระบบสื่อออนไลน์ จาก Webometrics "
อ้างอิง