อัตราส่วนสัญญาณต่อสัญญาณรบกวนอัตราส่วนสัญญาณต่อสัญญาณรบกวน[1] (signal-to-noise ratio หรือ signal-noise ratio) คือค่าที่ใช้ในทฤษฎีสารสนเทศ วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เป็นอัตราส่วนของสัญญาณต่อสัญญาณรบกวน อัตราส่วนสัญญาณต่อสัญญาณรบกวนมักเขียนด้วยตัวย่อเป็น SNR หรือไม่ก็ S/N[2] ยิ่งอัตราส่วนสัญญาณต่อสัญญาณรบกวนสูงเท่าใด อิทธิพลของสัญญาณรบกวนต่อการส่งสัญญาณก็จะยิ่งน้อยลงเท่านั้น ในทางกลับกัน ถ้ายิ่งค่าต่ำลง อิทธิพลของสัญญาณรบกวนก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น ดังนั้นโดยทั่วไปแล้วค่านี้ยิ่งสูงก็ยิ่งหมายความว่าสัญญาณมีความชัดเจน ดีกว่า คำนิยามอัตราส่วนสัญญาณต่อสัญญาณรบกวนคำนวณได้จากความแปรปรวนของสัญญาณหารด้วยความแปรปรวนของสัญญาณรบกวน[3] คำจำกัดความของสัญญาณและสัญญาณรบกวนขึ้นอยู่กับสิ่งที่กำลังพิจารณา สัญญาณรบกวนไม่จำเป็นต้องมาจากกระบวนการเฟ้นสุ่มเสมอไป เมื่อพิจารณาความแปรปรวนของสัญญาณจริง S และสัญญาณรบกวน N อาจแสดงออกมาเป็นสูตรได้ดังนี้
ในทางวิศวกรรมไฟฟ้า ความแปรปรวนคือกำลังไฟฟ้าของส่วนประกอบไฟฟ้ากระแสสลับ ดังนั้นจึงมักแสดงด้วยอักษร P พิจารณาเฉพาะส่วนประกอบไฟฟ้ากระแสสลับโดยไม่รวมส่วนประกอบไฟฟ้ากระแสตรงซึ่งสอดคล้องกับค่าเฉลี่ย A คือ ค่ายังผล (ค่าเฉลี่ยกำลังสอง) ของส่วนเบี่ยงเบน ซึ่งในทางวิศวกรรมไฟฟ้าคือส่วนประกอบของ กระแสไฟฟ้า หรือ แรงดันไฟฟ้า ของไฟฟ้ากระแสสลับ ไม่ว่าสนามหรือปริมาณทางกายภาพจะเป็นอย่างไร ก็มักจะเรียกว่า "กำลัง" และแสดงด้วยอักษร P แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไม่จำเป็นต้องเป็นค่าพลังงาน ตัวอย่างเช่น ความสว่าง ในวิดีโอ หรือ ในการวัดปริมาณทางกายภาพทั้งหลาย ได้แก่ ความยาว และ มวล ประสิทธิภาพในการสื่อสารหากสัญญาณมีการแจกแจงปรกติ ความจุช่องสัญญาณของเส้นทางการส่งสัญญาณจะคำนวณได้จากทฤษฎีบทแชนนอน–ฮาร์ตลีย์ โดย B คือ ความกว้างแถบ จะเป็นเครื่องหมายเท่าเมื่อวิธีการสื่อสารเหมาะสมที่สุด ยิ่งอัตราส่วนสัญญาณต่อสัญญาณรบกวนสูงเท่าไร ประสิทธิภาพการสื่อสารก็จะยิ่งดีขึ้นเท่านั้น โดยเฉพาะถ้าหาก แล้วจะได้ว่า และประสิทธิภาพในการสื่อสารจะเป็นสัดส่วนกับอัตราส่วนสัญญาณต่อสัญญาณรบกวนที่แสดงเป็นเดซิเบล อ้างอิง
|
Portal di Ensiklopedia Dunia