อะนิวเดย์...
อะนิวเดย์... (อังกฤษ: A New Day...) เป็นมหรสพของเซลีน ดิออน จัดแสดงที่โรงมหรสพเดอะโคลอสเซียม ณ โรงแรมซีซาส์พาเลซ ในนครลาสเวกัส รัฐเนวาดา สหรัฐอเมริกา[2] โดยเป็นผลงานการสร้างสรรค์และอำนวยการผลิตของฟรังโก ดรากอน ซึ่งเดิมนั้นกำหนดแสดงสามปี (พ.ศ. 2546-2549) แต่ด้วยความสำเร็จทำให้มีการขยายเวลาออกไปอีกสองเป็น รวมการแสดงทั้งหมดเป็นระยะเวลาห้าปี เจ็ดร้อยรอบ และห้าคืนต่อหนึ่งสัปดาห์ มหรสพชุด อะนิวเดย์... สิ้นสุดลงในวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2550 โดยมีมหรสพของแชร์ ชื่อ "แชร์แอตเดอะโคลอสเซียม" (อังกฤษ: Cher at the Colosseum) และมหรสพของเบ็ตต์ มิดเลอร์ ชื่อ "เดอะโชว์เกิร์ลมัสต์โกออน" (อังกฤษ: The Showgirl Must Go On) มาแทน ประวัติโครงการ อะนิวเดย์ ถือกำเนิดขึ้นเมื่อเซลีนและเรอเนเข้าชมมหรสพชุด โอ ณ โรงละคร Le Cirque du Soleil ในลาสเวกัส ทั้งสองประทับใจในการแสดงดังกล่าวยิ่งจึงสอบถามไปยังฟรังโก ดรากอนเพื่อเข้าพบปะกับเหล่านักแสดงหลังการแสดงเสร็จสิ้น ต่อมาเซลีนได้ส่งจดหมายแสดงความชื่นชมไปยังฟรังโก ดรากอน และได้เชิญมาแวะเยี่ยมที่บ้านพักของเธอ ภายหลังการสนทนาของฟรังโกและเซลีนนั้น ฟรังโกตกลงรับข้อเสนอทันใดในราวเดือนมีนาคม พ.ศ. 2546 เซลีนเปิดเผยว่า " โอ เปลี่ยนชีวิตของฉัน ฉันไม่เคยพบเห็นการแสดงเช่นนั้นมาก่อน จากช่วงที่มอบดอกกุหลาบนั้น ฉันยังคงอ้าปากค้างจนกระทั่งผู้ชมออกจากโรงละครจนหมด ฉันลุกจากเก้าอี้ไม่ได้ ฉันบอกกับเรอเน่ว่า ไม่มีทางเลยที่ฉันจะกลับมาแสดงคอนเสิร์ตอีกครั้งถ้าการแสดงจะไม่ใช่ในแบบนี้"[3] ทั้งสองเจรจากับคณะผู้บริหารของโรงแรมซีซ่าร์พาเลสในเรื่องของการจัดการแสดง เงินทุน และการแบ่งปันผลกำไร การเจรจาในข้อตกลงเป็นที่เห็นพ้องของทุกฝ่ายทันใด จึงได้เริ่มการก่อสร้างโรงละครสำหรับการแสดง หรือ เดอะโคลอสเซียม ซึ่งได้จัดสร้างด้วยความเร็วสูงโดยใช้เวลาเพียง 14 เดือน และเป็นโรงละครที่มีลักษณะพิเศษ อาทิ เวทีที่มีความชัน 7.5 องศา และเป็นโรงละครที่มีความจุถึง 4,000 คนโดยที่นั่งที่ไกลที่สุดมีระยะใกล้กับเวทีมากกว่าโรงละครที่จัดการแสดงชุด โอ กว่า 2 เท่าตัว นอกจากนี้ ฉากหลังบนเวทีซึ่งเดิมตั้งใจจะเป็นฉากผ้าใบสีขาวขนาดใหญ่แล้วใช้เครื่องฉายส่องภาพลงไปแทน แต่เยฟ โอกวง ผู้ออกแบบโรงมหสรพ เห็นว่า ไม่ควรมีเงาของนักแสดงตกลงบนฉาก จึงรายงานต่อเรอเน และโน้มน้าวให้ฟีล อานสชุตซ์ ซีอีโอของซีร์พาเลสอนุมัติงบประมาณเพิ่มขึ้นอีกสิบล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อซื้อจอไดโอดเปล่งแสงขนาดมหาศาลมาติดเป็นฉากหลังแทน ซึ่งทำให้เดอะโคลอสเซียมมีจอภาพไดโอดเปล่งแสงในที่ร่มขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ในขณะเดียวกันก็ได้มีการคัดเลือกนักแสดงจากผู้สมัครกว่า 4,000 คน ณ บริษัทของฟรังโกในลาร์ลูเวียร์ ประเทศเบลเยี่ยม งานคัดเลือกนักแสดงเริ่มต้นเมื่อวันที่24 มิถุนายน พ.ศ. 2545 ถึงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2545 จึงได้คัดเลือกนักแสดงเหลือ 58 คน ทั้งนี้เซลีนได้เข้าเยี่ยมชมงานคัดเลือกนักแสดงดังกล่าวเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2545[3] ชื่อของมหรพสพในเบื้องต้นเซลีนตั้งใจจะใช้ชื่อว่า มุส (Muse) ต่อมาชื่อดังกล่าวถูกปฏิเสธจากการพิจารณาในที่ประชุมในช่วงปลายเดือนตุลาคม พ.ศ. 2545 เมื่อมูส วงดนตรีชาวบริติชแถลงการณ์ในเว็บไซต์ของตนเองว่าการใช้ชื่อดังกล่าวอาจทำให้เกิดความสับสน[3] และชื่อดังกล่าวยังได้ถือลิขสิทธิ์ทั่วโลก [4] แม้เซลีนจะติดต่อเพื่อขอซื้อลิขสิทธิ์นั้นด้วยจำนวนเงินกว่า 5 หมื่นดอลลาร์ แต่ได้รับการปฏิเสธขากแมต ทิว เบลลามี หัวหน้าวงซึ่งไม่ต้อกงารให้เข้าใจว่าวงดนตรีเล่นเพลงดังกล่าวให้กับเซลีน ภายหลังจึงได้ตกลงในที่ประชุมให้ใช้ชื่อการแสดงว่า อะนิวเดย์... สืบเนื่องจากอัลบั้ม อะนิวเดย์แฮสคัม ที่ออกจำหน่ายในช่วงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2545[3] การแสดงเริ่มต้นขึ้นในคืนวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2545 และสิ้นสุดลงในวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2550 รวมระยะเวลาการแสดงกว่า 5 ปี จำนวนการแสดงกว่า 700 รอบ และมีผู้เข้าชมกว่า 3 ล้านคน นับเป็นการแสดงที่ทำรายได้สูงสุดในประวัติศาสตร์ดนตรี ด้วยรายได้กว่า 400,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ[5] และได้รับการเลือกให้เป็นการแสดงดีเด่นของลาสเวกัสตลอดระยะเวลา 5 ปี รายชื่อเพลง
หมายเหตุ
การแพร่ภาพและการบันทึกภาพได้มีการเลื่อนกำหนดการนำแผ่นวีดิทัศน์ระบบดิจิทัล ไลฟ์อินลาสเวกัส - อะนิวเดย์... ออกจำหน่าย จากเดิมที่ประกาศในแผ่นซีดีอะนิวเดย์... ไลฟ์อินลาสเวกัส ไป เนื่องจากมีการแก้ไขเพิ่มเติมช่วงต่าง ๆ ของมหรสพเป็นอันมาก ทั้งนี้ มีการบันทึกวีดิทัศน์มหรสพครั้งใหม่แล้วในระหว่างวันที่ 17-21 มกราคม พ.ศ. 2550 เพื่อแพร่ภาพทางโทรทัศน์และจัดจำหน่ายเป็นแผ่นวีดิทัศน์ระบบดิจิทัลในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ในยุโรป และ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ในอเมริกาเหนือ โดยมีบริษัทของ จูลี สไนเดอร์ (Julie Snyder) อำนวยการบันทึก ทั้งนี้ มีความคาดหมายว่าบริษัทโซนีจะจัดจำหน่ายวีดิทัศน์การแสดงที่ทำการบันทึกภาพไปเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2546 เพื่อให้ผู้ชมได้ทราบถึงวิวัฒนาการของการแสดงด้วย รายชื่อเพลงในการแสดงลำดับเพลงล่าสุด (เปลี่ยนแปลงเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549) ประกอบด้วยเพลงดังต่อไปนี้ 2. เดอะเพาเวอร์ออฟเลิฟ 3. อิตส์ออลคัมมิงแบกทูมีนาว 4. บีคอสยูเลิฟด์มี 5. ทูเลิฟยูมอร์ 6. แอมอะไลฟ์ 8. เซดิวส์เซสมี 9. อิฟไอคูล์ด 11. ไอเซอเรนเดอร์ 12. อัมมอร์อันนัสคุนุตโต 13. ออลเดอะเวย์ 14. ไอฟ์กอตเดอะเวิลด์ออนอะสตริง 15. ไอวิช 16. เลิฟแคนมูฟเมาน์เทนส์ 18. มายฮาร์ตวิลโกออน คณะทำงานคณะอำนวยเพลง
คณะอำนวยการ
เกียรติคุณ
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|
Portal di Ensiklopedia Dunia