อลาหาบาด
ประยาคราช สมญา: The Sangam City,
[ 1] City of Prime Ministers,
[ 2] Abode of God
[ 3] อลาหาบาด (ประเทศอินเดีย)
แสดงแผนที่ประเทศอินเดีย อลาหาบาด (ทวีปเอเชีย)
แสดงแผนที่ทวีปเอเชีย พิกัด: 25°27′N 81°51′E / 25.450°N 81.850°E / 25.450; 81.850 ประเทศ อินเดีย รัฐ อุตตรประเทศ Division อลาหาบาด จังหวัด อลาหาบาด การปกครอง • ประเภท Municipal Corporation • องค์กร Allahabad Municipal Corporation • นายกรัฐมนตรี Abhilasha Gupta (BJP ) • Divisional Commissioner Ashish Kumar Goel, IAS • District Magistrate Suhas L. Y. , IAS • Inspector General , Allahabad Range Mohit Aggarwal, IPS • Senior Superintendent of Police Nitin Tiwari, IPS พื้นที่[ 4] • มหานคร 82 ตร.กม. (32 ตร.ไมล์) ความสูง 98 เมตร (322 ฟุต) ประชากร • มหานคร 1,117,094 คน • อันดับ 38th • ความหนาแน่น 14,000 คน/ตร.กม. (35,000 คน/ตร.ไมล์) • รวมปริมณฑล [ 6] 1,216,719 คน • Metro rank 41st เดมะนิม Allahabadi, Ilahabadi, Prayagraji ภาษา • ทางการ ฮินดี [ 7] • เพิ่มเติม อูรดู [ 7] • พื้นบ้าน อวธี [ 8] เขตเวลา UTC+5:30 (IST )PIN 211001-18 รหัสโทรศัพท์ +91-532 ทะเบียนพาหนะ UP-70 Sex ratio 852 ♀ /1000♂ เว็บไซต์ Official district website
ป้อมปราการริมฝั่งแม่น้ำยมุนาในอลาหาบาด สร้างโดยพระเจ้าอักบาร์มหาราช
ริมฝั่งแม่น้ำยมุนาในอลาหาบาดในช่วงฤดูฝน
อลาหาบาด (Allahabad; ฮินดี : इलाहाबाद ; อูรดู : الہ آباد ) หรือชื่อทางการ ประยาคราช (Prayagraj; ฮินดี : प्रयागराज ) เป็นเมืองใหญ่เมืองหนึ่งในรัฐอุตตรประเทศ และมีความสำคัญทางศาสนาฮินดู เพราะเป็นจุดที่แม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ทั้งสามสายคือ แม่น้ำคงคา แม่น้ำยมุนา และแม่น้ำสรัสวดี มาบรรจบกันซึ่งเรียกว่าจุฬาตรีคูณ
แต่เดิมเมืองนี้ชื่อเมืองประยาค พบศิลาจารึกสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช เกี่ยวกับคำสอนทางพุทธศาสนา ในสมัยพระเจ้าสมุทรคุปต์ ได้บันทึกเพิ่มเติมในด้านที่ว่างอยู่เกี่ยวกับการขยายอำนาจของพระองค์ ต่อมาใน พ.ศ. 2127 พระเจ้าอักบาร์มหาราช แห่งราชวงศ์โมกุล เปลี่ยนชื่อเมืองนี้เป็นอลาหาบาด แปลว่าเมืองแห่งอัลลอฮ์ เมืองนี้ยังเป็นศูนย์กลางทางการค้าที่สำคัญของอินเดียด้วย โดยเฉพาะหลังจากเหตุการณ์กบฏซีปอย พ.ศ. 2400 – 2401 และได้เลื่อนขึ้นเป็นเมืองหลวงของยูไนเต็ดโพรวินซ์หรือรัฐอุตรประเทศในปัจจุบัน
ต่อมา ใน พ.ศ. 2430 ได้จัดตั้งมหาวิทยาลัยอลาหาบาด ทำให้เมืองนี้มีความสำคัญทางการศึกษา ความสำคัญทางการเมืองและการค้าลดลงเมื่อย้ายเมืองหลวงของแคว้นจากอลาหาบาดไปยังเมืองลักเนา คงเหลือแต่ความสำคัญทางด้านการศึกษาและศาสนา โดยเฉพาะในเทศกาลมาฆเมลา จะมีผู้มาแสวงบุญที่จุฬาตรีคูณจำนวนมาก
อ้างอิง
ศรีสุรางค์ พูลทรัพย์. อลาหาบาด ใน สารานุกรมประวัติศาสตร์สากลสมัยใหม่: เอเชีย เล่ม 1 อักษร A-B ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กทม.ราชบัณฑิตยสถาน. 2539. หน้า 108-110
แหล่งข้อมูลอื่น