หม่อมเจ้าเวียงวัฒนา ชยางกูร
นาวาอากาศตรี หม่อมเจ้าเวียงวัฒนา ชยางกูร (30 เมษายน พ.ศ. 2467 - 30 มิถุนายน พ.ศ. 2564) เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพงษาดิศรมหิป ประสูติแต่หม่อมแหวนศุลี ชยางกูร ณ อยุธยา
พระประวัติหม่อมเจ้าเวียงวัฒนา ชยางกูร เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพงษาดิศรมหิป อดีตองคมนตรีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และอดีตอธิบดีกรมพิพิธภัณฑ์พระองค์แรก พระมารดาคือ หม่อมแหวนศุลี ชยางกูร ณ อยุธยา (สกุลเดิม บุญยมาลิก; บุตรีหลวงพิทักษ์นันทนาการ) หม่อมเจ้าเวียงวัฒนา ประสูติเมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2467[1] มีโสทรกนิษฐภคินีและโสทรกนิษฐภาดารวมสององค์ คือ หม่อมเจ้าอุทัยเที่ยง ชยางกูร และหม่อมเจ้าจรูญฤทธิเดช ชยางกูร หม่อมเจ้าเวียงวัฒนา เจริญวัยมาจากวังเสาชิงช้า ทรงสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และทรงสำเร็จการศึกษาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2490 โดยเป็นเพื่อนร่วมรุ่นกับพลอากาศเอกกำธน สินธวานนท์ อดีตองคมนตรี หลังจากทรงสำเร็จการศึกษาได้ผนวชที่วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร และได้เข้าทำงานที่บริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย ต่อมาได้ลาออก[2] หม่อมเจ้าเวียงวัฒนา เริ่มรับราชการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2494 เป็นนายทหารสังกัดกรมช่างอากาศ กองทัพอากาศ มียศ "นาวาอากาศตรี" ต่อมาในปี พ.ศ. 2505 ทรงลาออกมาทรงงานเป็นวิศวกรประจำบริษัทสังกะสีไทย และในระหว่างปี พ.ศ. 2516 - 2528 ทรงย้ายมาประจำบริษัทสหยูเนียน จนเกษียณอายุราชการ หม่อมเจ้าเวียงวัฒนา ชยางกูร สิ้นชีพตักษัยเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2564 ด้วยพระอาการหทัยล้มเหลวเนื่องจากปัปผาสะอักเสบ ณ โรงพยาบาลกรุงเทพ สิริชันษา 97 ปี พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานน้ำหลวงสรงศพและโกศแปดเหลี่ยม พร้อมฉัตรเบญจาตั้งประดับ ปี่ กลองชนะประโคม และรับศพไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์ พิธีสวดพระอภิธรรมศพจัดขึ้นเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 โดยมีพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคล เป็นประธานในพิธี ณ วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร จากนั้นในวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2565 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ประธานองคมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์ไปในการพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพมหานคร กรณียกิจหม่อมเจ้าเวียงวัฒนา ชยางกูร ทรงปฏิบัติกรณียกิจสำคัญหลายประการ เช่น วันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2558 เสด็จเป็นเจ้าภาพร่วมกับสมาชิกราชสกุลชยางกูร ในการบำเพ็ญพระกุศลสวดพระอภิธรรมพระศพ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร ณ ตำหนักเพ็ชร วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร วันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2559 เสด็จเป็นเจ้าภาพร่วมกับหม่อมเจ้าอุทัยเที่ยง ชยางกูร, หม่อมเจ้าจรูญฤทธิเดช ชยางกูร และหม่อมจรุงใจ ชยางกูร ณ อยุธยา ในการบำเพ็ญพระกุศลถวายพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2562 เสด็จพร้อมด้วยหม่อมเจ้าอุทัยเที่ยง ชยางกูร, หม่อมเจ้าจรูญฤทธิเดช ชยางกูร และหม่อมจรุงใจ ชยางกูร ณ อยุธยา ไปทรงเยี่ยมชมงาน "อุ่นไอรักคลายความหนาว: สายน้ำแห่งรัตนโกสินทร์" ซึ่งพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดขึ้น ณ พระลานพระราชวังดุสิต และสนามเสือป่า นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พลอากาศเอกสุบิน ชิวปรีชา กรมวังผู้ใหญ่ประจำพระองค์ อัญเชิญพวงมาลัยและกระเช้าพระราชทานไปทูลถวายหม่อมเจ้าเวียงวัฒนา ชยางกูร, หม่อมเจ้าอุทัยเที่ยง ชยางกูร และหม่อมเจ้าจรูญฤทธิเดช ชยางกูร เนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ เมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2562 พระทายาทหม่อมเจ้าเวียงวัฒนา ชยางกูร เสกสมรสกับหม่อมชมชื่น ชยางกูร ณ อยุธยา (โกมารกุล ณ นคร) มีโอรส 1 คน คือ
พระเกียรติยศเครื่องราชอิสริยาภรณ์
พระยศ
พงศาวลี
อ้างอิง
|
Portal di Ensiklopedia Dunia