หม่อมเจ้าเพลารถ จิตรพงศ์
หม่อมเจ้าเพลารถ จิตรพงศ์ (3 ธันวาคม พ.ศ. 2457 - 26 มีนาคม พ.ศ. 2537) เป็นพระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ประสูติแต่หม่อมราชวงศ์โต จิตรพงศ์ มีพระเชษฐา พระเชษฐภคินี และพระขนิษฐาร่วมพระบิดาและพระมารดา 4 พระองค์ พระประวัติหม่อมเจ้าเพลารถ จิตรพงศ์ มีพระนามลำลองว่า ท่านชายงั่ว ประสูติเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2457 เป็นพระโอรสลำดับที่ 8 ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ลำดับที่ 4 อันประสูติแต่หม่อมราชวงศ์โต จิตรพงศ์ (ราชสกุลเดิม งอนรถ ) มีพระเชษฐภคินี พระเชษฐา และพระขนิษฐาร่วมพระมารดา 4 พระองค์ คือ [1]
หม่อมเจ้าเพลารถ จิตรพงศ์ เป็นพระโอรสพระองค์เดียวที่มิได้มีพระนามลงท้ายด้วย 'ใจ' เช่นพระเชษฐาทั้งสอง (คือหม่อมเจ้าเจริญใจ จิตรพงศ์ และหม่อมเจ้ายาใจ จิตรพงศ์) เหตุที่พระบิดาประทานพระนามพระโอรสว่า เพลารถ เนื่องจากเมื่อหม่อมราชวงศ์หญิงโต จิตรพงศ์ ตั้งครรภ์ หม่อมเจ้าแดง งอนรถ บิดาของหม่อมราชวงศ์หญิงโตได้ทูลขอพระโอรสที่อยู่ในครรภ์จากสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เนื่องจากหม่อมเจ้าแดงไม่มีผู้สืบราชสกุล แต่ต่อมา หม่อมวัน งอนรถ หม่อมในหม่อมเจ้าแดง งอนรถได้ให้กำเนิดหม่อมราชวงศ์เล็ก งอนรถ ทำให้ราชสกุลงอนรถมีผู้สืบราชสกุล แต่เพื่อมิให้ผิดคำสัตย์ที่ทรงให้ไว้กับหม่อมเจ้าแดง งอนรถ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์จึงประทานพระนามแก่พระโอรสองค์นี้ว่า เพลารถ เมื่อชันษายังไม่ครบสิบชันษา หม่อมเจ้าเพลารถ จิตรพงศ์ ได้ทูลขอว่าจะผนวชกับพระบิดา สมเด็จฯ ประทานอนุญาตให้ผนวช ซึ่งหม่อมเจ้าสามเณรเพลารถ ได้ไปจำพรรษา ณ วัดเทพศิรินทราวาส โดยมีสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร) เป็นพระอุปัชฌาย์ หม่อมเจ้าสามเณรเพลารถ ทรงรอบรู้ในพระบาลีอย่างแตกฉาน และได้รับความไว้วางใจจากสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร) ให้เป็นหนึ่งในกรรมการแม่กองบาลีสนามหลวงด้วย ด้วยความรอบรู้ในพระบาลี หม่อมเจ้าสามเณรเพลารถ จิตรพงศ์ ทรงเคยเทศนาสอน 'หลาน' คือโอรสธิดาในหม่อมเจ้าตระนักนิธิผล ไชยันต์ กับหม่อมเจ้าหญิงประโลมจิตร ไชยันต์ (จิตรพงศ์) เมื่อหม่อมเจ้าตระนักนิธิผล ไชยันต์ ถึงชีพิตักษัยในปีพุทธศักราช 2473 เรื่อง "กตัญญูกถา" ซึ่งมีเนื้อความเป็นที่จับใจแก่ผู้ที่ได้ฟังเป็นอันมาก[2] ในปี พ.ศ. 2474 สามเณรหม่อมเจ้าเพลารถ ได้รับพระราชทานพัดยศเปรียญ 3 ประโยค เป็นพัดยศพัดหน้านางพื้นตาดเหลืองล้วน ปักดินเลื้อม[3] นอกจากนี้หม่อมเจ้าสามเณรเพลารถ ยังได้ทรงแสดงพระธรรมเทศนา กัณฑ์ "อตฺตสมฺมาปณิธิกถา" ในงานพระศพพระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา เพื่อ พ.ศ. 2472 อีกด้วย[4] ต่อมาเมื่อชันษายี่สิบปี ใน พ.ศ. 2477 หม่อมเจ้าเพลารถ จิตรพงศ์ ทรงเป็นนาคหลวง ได้ผนวชเป็นสามเณร ณ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร ถึงวันที่ 19 กรกฎาคม เวลา 16.00 น. จึงเสด็จโดยรถยนต์หลวงมาอุปสมบท ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ เสร็จพิธีแล้วสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ (ขณะนั้นทรงกรมพระ) ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ทรงประเคนเครื่องบริขาร[5] ต่อมาทรงเห็นว่าสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงชรามากแล้ว ประกอบกับเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง จึงทรงลาสิกขา หม่อมเจ้าเพลารถ จิตรพงศ์ สำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนเทพศิรินทร์[6] การทำงานหม่อมเจ้าเพลารถ จิตรพงศ์ ทรงเข้าทำงานที่การไฟฟ้านครหลวง ในทำแหน่งหน้าที่ต่างๆ ดังนี้[7] 15 มีนาคม 2487 เสมียน บริษัทไฟฟ้าสยาม 1 มกราคม 2493 ผู้ช่วยสมุห์บัญชีใหญ่ ไฟฟ้ากรุงเทพ 1 มกราคม 2503 หัวหน้าแผนก แผนกสารบรรณ กองบัญชี การไฟฟ้านครหลวง 20 เมษายน 2503 ผู้ช่วยผู้อำนวยการกอง กองบัญชี 1 ธันวาคม 2503 ผู้ช่วยผู้อำนวยการกอง ควบคุมงานงบประมาณเงินกู้ 10 สิงหาคม 2504 รองผู้อำนวยการกอง กองการบัญชีและการเงิน ตำแหน่งสุดท้ายก่อนเกษียณอายุราชการ ตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายการบัญชีและการเงิน การไฟฟ้านครหลวง ครอบครัวหม่อมเจ้าเพลารถ จิตรพงศ์ เสกสมรสกับหม่อมเจ้ากุมารีเฉลิมลักษณ์ ดิศกุล (พ.ศ. 2458 - พ.ศ. 2544) พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ประสูติแต่หม่อมเจิม ดิศกุล ณ อยุธยา มีโอรสธิดา 3 คน คือ
สิ้นชีพิตักษัยหม่อมเจ้าเพลารถ จิตรพงศ์ สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2537 สิริพระชันษา 79 ปี ได้รับพระราชทานเพลิงศพวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2537 ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส พงศาวลี
อ้างอิง
|
Portal di Ensiklopedia Dunia