หม่อมเจ้าอุปพัทธพงศ์ ศรีธวัช |
---|
หม่อมเจ้า ชั้น 4 |
![](//upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/0/03/%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%9E%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B9%8C_%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%98%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%8A.jpg/220px-%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%9E%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B9%8C_%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%98%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%8A.jpg) |
ประสูติ | 25 มีนาคม พ.ศ. 2419 |
---|
สิ้นชีพตักษัย | 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2475 (56 ปี) |
---|
ชายาและหม่อม | หม่อมเจ้าอาทรถนอม ศรีธวัช หม่อมชื่น ศรีธวัช ณ อยุธยา หม่อมประทีป ศรีธวัช ณ อยุธยา |
---|
พระบุตร | 6 คน |
---|
ราชสกุล | ศรีธวัช |
---|
ราชวงศ์ | จักรี |
---|
พระบิดา | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนศิริธัชสังกาศ |
---|
พระมารดา | หม่อมเสงี่ยม ศรีธวัช ณ อยุธยา |
---|
นายพลเรือโท มหาอำมาตย์โท หม่อมเจ้าอุปพัทธพงศ์ ศรีธวัช (25 มีนาคม พ.ศ. 2419 – 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2475) เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนศิริธัชสังกาศ ประสูติแต่หม่อมเสงี่ยม (บุตรีพระยาเสนานุชิต (นุช ณ นคร))[1]
หม่อมเจ้าอุปพัทธพงศ์ทรงสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และได้รับพระราชทานทุนเล่าเรียนหลวงศึกษาต่อยังประเทศฝรั่งเศส[2] หลังจากสำเร็จการศึกษาแล้วได้เข้ารับราชการทหารเรือ
ได้รับพระราชทานยศนายเรือโท เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2449 โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินยังโรงเรียนนายเรือ ในการทรงเปิดโรงเรียนนายเรือ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตรทหารเรือแก่นายเรือโท ผู้ช่วย หม่อมเจ้าอุปพัทธพงศ์ เป็น นายเรือโท สังกัดยกกระบัตรกรมทหารเรือฝ่ายบก
หม่อมเจ้าอุปพัทธพงศ์เสกสมรสกับหม่อมเจ้าอาทรถนอม ศรีธวัช (ขนิษฐาต่างพระมารดา) มีหม่อมอีกสองคน คือ หม่อมชื่นและหม่อมประทีป มีโอรสและธิดา ดังนี้
- หม่อมราชวงศ์สิริโสภา เสกสมรสกับหม่อมเจ้าทองบรรณาการ ทองแถม
- หม่อมราชวงศ์ศรีถนอม เสกสมรสกับหม่อมเจ้าทองบรรณาการ ทองแถม
- หม่อมราชวงศ์ศรีสมบูรณ์ ศรีธวัช
- หม่อมราชวงศ์ถนอมวงศ์ ศรีธวัช
- หม่อมราชวงศ์พงศ์สิริ ศรีธวัช
- นาวาโท หม่อมราชวงศ์ธัชพงศ์ ศรีธวัช
หม่อมเจ้าอุปพัทธพงศ์ ศรีธวัช ประชวรพระโรควักกะพิการ ถึงชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2475 สิริชันษา 56 ปี โปรดเกล้าฯ พระราชทานโกศราชวงศ์ ชั้นรอง 2 ชั้น เครื่องสูง 4 องค์ กับพระราชทานผ้าไตร 10 ไตร สดับปกรณ์ เป็นพระเกียรติยศ
การทรงงาน
พลเรือโท มหาอำมาตย์โท หม่อมเจ้าอุปพัทธพงศ์ ศรีธวัช ทรงรับราชการเป็นทหารเรือ และดำรงตำแหน่งต่างๆ ดังต่อไปนี้[3]
- พ.ศ. 2448 - นายนาวาตรี
- พ.ศ. 2452 - นายนาวาโท ประจำประจำกองตรวจการกรมยกกระบัตรกองทัพเรือ
- พ.ศ. 2454 - นายนาวาเอก ตำแหน่งยกกระบัตรกองทัพเรือ[4]
- พ.ศ. 2456 - ปลัดบัญชีกองทัพเรือ
- พ.ศ. 2460 - นายพลเรือตรี
- พ.ศ. 2466 - นายพลเรือโท
- พ.ศ. 2468 - ผู้รั้งตำแหน่งสมุหเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลปราจีนบุรี
- พ.ศ. 2469 - เป็นสมุหเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลปราจีนบุรี
- พ.ศ. 2470 - องคมนตรี ตามพระราชบัญญัติองคมนตรี พุทธศักราช 2470
- พ.ศ. 2471 - มหาอำมาตย์โท สมุหเทศาภิบาลมณฑลอยุธยา
- พ.ศ. 2475 ออกจากราชการรับบำนาญ
ในขณะมียศนาวาเอก ทรงดำรงตำแหน่งปลัดบาญชีกระทรวงทหารเรือ และต่อมาได้ดำรงตำหน่งเจ้ากรมอู่ทหารเรือ ในระหว่างวันที่ 6 กรกฎาคม - 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2466 ในขณะมีพระยศนายพลเรือโท พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งสมุหเทศาภิบาลมณฑลปราจีนบุรี[5] และนายกกองอนุสภากาชาดมณฑลปราจีนบุรี[6]ในระหว่างปี พ.ศ. 2468 - พ.ศ. 2472 และทรงดำรงตำแหน่งกรรมการสภาองคมนตรี ตามพระราชบัญญัติองคมนตรี พุทธศักราช 2470[7]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
พงศาวลี
พงศาวลีของหม่อมเจ้าอุปพัทธพงศ์ ศรีธวัช
|
|
- ↑ หม่อมเจ้าหญิงอาทรถนอม ศรีธวัช ทรงพิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพ นายพลเรือโท หม่อมเจ้าอุปพัทธพงษ์ ณ วัดเทพศิรินทราวาศ พ.ศ. 2475.
- ↑ จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน-ใน-รัชกาลที่-๕-ปีมะโรง-พศ-๒๔๑๑-–-ปีระกา-พศ-๒๔๑๖/ภาคผนวก-๔-เรื่อง-นักเรียนไทยไปศึกษา-ณ-ต่างประเทศ.
- ↑ ข่าวถึงชีพิตักษัย ราชกิจจานุเบกษา วันที่ 15 พฤษภาคม 2475
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรทหารเรือ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษาวันที่ 22 พฤษภาคม 2470http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2470/D/513_2.PDF
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา วันที่ 2 พฤษภาคม 2469http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2469/D/583.PDF
- ↑ พระราชบัญญัติองคมนตรี พุทธศักราช 2470 ราชกิจจานุเบกษา วันที่ 5 กันยายน 2470http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2470/A/205.PDF
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญ เก็บถาวร 2022-04-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๔๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๔๒๐, ๗ มกราคม ๒๔๖๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จุลจอมเกล้าฝ่ายหน้า เก็บถาวร 2022-10-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๔๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๖๒๗, ๓๐ พฤศจิกายน ๒๔๖๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๖๑๙, ๓๐ มกราคม ๒๔๖๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ส่งเหรียญจักรมาลาไปพระราชทาน เก็บถาวร 2022-10-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๔๔๐, ๙ มีนาคม ๒๔๖๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๓๘๓, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๔๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเข็มพระชนมายุสมมงคล เก็บถาวร 2022-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๒๖ ตอนที่ ๐ ง หนอา ๒๖๓๕, ๖ มีนาคม ๑๒๘