หญ้ากุศะ
หญ้ากุศะ (ชื่อวิทยาศาสตร์ Desmostachya bipinnata) เป็นหญ้าในวงศ์ Gramineae (Poaceae) มีถิ่นกำเนิดที่ประเทศอินเดียและเนปาล ชอบขึ้นในที่แห้งแล้งริมฝั่งแม่น้ำ โดยจะขึ้นเป็นกอเหง้าใหญ่ ใบอวบรูปยาวเหมือนหอก ขอบใบคม ดอกเป็นช่อรูปพีระมิด หรือเป็นแท่งตั้งตรง แข็ง สีน้ำตาลอ่อน ออกดอกตลอดฤดูฝน ขยายพันธุ์ได้โดยการเพาะเมล็ด และแยกกอ หญ้ากุศะเป็นหญ้าชนิดหนึ่งซึ่งถือกันว่ามีความสำคัญมากในศาสนาพุทธ เนื่องจากปรากฏในพุทธประวัติว่าวันก่อนที่พระโคตมพุทธเจ้าจะตรัสรู้ ทรงได้รับถวายหญ้าชนิดนี้จำนวน 8 กำมือจากพราหมณ์โสตถิยะ แล้วทรงนำไปปูรองที่ประทับนั่งในวันที่พระองค์ตรัสรู้ และนิยมนำหญ้าชนิดนี้มาประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เช่น นำมาทำเป็นที่ประพรมน้ำพระพุทธมนต์ เป็นต้น ชาวฮินดูนับถือว่าหญ้านี้มีความศักดิ์สิทธิ์เช่นกัน โดยนำหญ้านี้มาประกอบพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ในวันแรม 15 ค่ำเดือน 9 หรือที่เรียกว่า กุโศตปาฎนีอมาวสยา เพื่อเป็นการบูชาพระกฤษณะ[1] หญ้ากุศะยังมีสรรพคุณทางยาสมุนไพร คือ ใช้ทั้งต้นเป็นยาฝาดสมานขับปัสสาวะ ขับเสมหะ รากมีรสหวาน เป็นยาเย็น แก้อาการกระหายน้ำได้อีกด้วย[2] ดูเพิ่มอ้างอิง
|
Portal di Ensiklopedia Dunia