สุริยุปราคา 23 สิงหาคม พ.ศ. 2587
สุริยุปราคาเต็มดวงจะเกิดขึ้นในวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2587 สุริยุปราคาเกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์ โคจรผ่านระหว่างโลกและดวงอาทิตย์ โดยวิธีนั้นจะเห็นสุริยุปราคาแบบเต็มดวงและแบบบางส่วนเมื่อมองจากโลก สุริยุปราคาเต็มดวงเกิดขึ้นเมื่อขนาดเชิงมุมของดวงจันทร์ มีขนาดใหญ่กว่าดวงอาทิตย์ โดยจะบดบังแสงโดยตรงทั้งหมดจากดวงอาทิตย์ ทำให้เวลากลางวันเข้าสู่ความมืด สุริยุปราคาแบบเต็มดวงเกิดขึ้นในแนวแคบผ่านบนพื้นผิวโลก และสุริยุปราคาบางส่วนสามารถมองเห็นได้เหนือบริเวณรอบ ๆ ภูมิภาคนั้นกว้างหลายพันกิโลเมตร สุริยุปราคาเต็มดวงมองเห็นได้จากนอร์ทเวสต์เทร์ริทอรีส์ รัฐอัลเบอร์ต้า และส่วนตะวันตกที่สุดของรัฐซัสแคตเชวันในแคนาดา และมองเห็นได้จากรัฐมอนแทนาและบางส่วนของรัฐนอร์ทดาโคตาในสหรัฐ และพื้นท่ีส่วนมากในสหรัฐตะวันตกมองเห็นเป็นสุริยุปราคาบางส่วนในช่วงดวงอาทิตย์ตก บริเวณที่เห็นคราสบดบังนานที่สุดของอุปราคาครั้งนี้อยู่ในบริเวณห่างจากทะเลสาบเกรตแบร์ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ 97 กม. ในนอร์ทเวสต์เทร์ริทอรีส์[1] ภาพอุปราคาที่เกี่ยวข้องสุริยุปราคา พ.ศ. 2587–2590อุปราคานี้เป็นสมาชิกของชุดเทอม โดยอุปราคาในชุดเทอมของสุริยุปราคาจะวนซ้ำโดยประมาณทุก ๆ 177 วัน 4 ชั่วโมง (เทอม) ที่การสลับโหนดของวงโคจรดวงจันทร์[2]
แซรอสอุปราคาครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของวงรอบแซรอสที่ 126 ซึ่งวนซ้ำทุก ๆ 18 ปี 11 วัน ประกอบด้วย 71 เหตุการณ์ โดยชุดนี้เริ่มต้นจากสุริยุปราคาบางส่วนในวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 1722 (ค.ศ. 1179) จากนั้นเป็นสุริยุปราคาวงแหวนซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 1866 (ค.ศ. 1323) จนถึงวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2353 (ค.ศ. 1810) จากนั้นเป็นสุริยุปราคาผสมซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2371 (ค.ศ. 1828) จนถึงวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2407 (ค.ศ. 1864) จากนั้นเป็นสุริยุปราคาเต็มดวงซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2425 (ค.ศ. 1882) จนถึงวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2587 (ค.ศ. 2044) และชุดแซรอสนี้จบลงในสุริยุปราคาบางส่วน วันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 3002 (ค.ศ. 2459) คราสบดบังยาวนานที่สุดของสุริยุปราคากึ่งกลางในแซรอสนี้ (แบบวงแหวนหรือเต็มดวง) คือ 5 นาที 46 วินาทีของสุริยุปราคาวงแหวนวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2136 (ค.ศ. 1593) ส่วนคราสเด็มดวงยาวนานที่สุดในแซรอสนี้คือ 2 นาที 36 วินาทีของสุริยุปราคาเต็มดวงวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 (ค.ศ. 1972)[3]
อ้างอิง
|
Portal di Ensiklopedia Dunia