สาวปากฉีก
![]() คูจิซาเกะ-อนนะ (ญี่ปุ่น: 口裂け女; โรมาจิ: Kuchisake-onna; 'สาวปากฉีก'; อังกฤษ: Slit-Mouthed Woman)[1] เป็นบุคคลชั่วร้ายในตำนานและคติชนญี่ปุ่นที่ได้รับการอธิบายเป็นวิญญาณร้าย หรือ อนเรียว ของผู้หญิง เธอมักคลุมหน้าบางส่วนด้วยหน้ากากหรือสิ่งของอื่น และถือกรรไกร มีด หรือของมีคมอื่น ๆ ผู้คนมักอธิบายถึงเธอบ่อยครั้งว่ามีความสูงประมาณ 175-180 ซม. อย่างไรก็ตาม บางคนเชื่อว่าเธอมีความสูงถึง 8 ฟุต มีผมตรงยาวสีดำ มือสีขาว ผิวซีด และถือว่าสวยในด้านอื่นๆ (ยกเว้นรอยแผลเป็นของเธอ) เธอมักได้รับการอธิบายเป็นโยไกร่วมสมัย[1][2] ตามตำนานเล่าขานกันว่า เธอจะถามผู้ที่อาจตกเป็นเหยื่อให้คิดว่าเธอสวยหรือไม่ ถ้าตอบ "ไม่" เธอจะฆ่าพวกเขาด้วยกรรไกรแพทย์ยาวของเธอที่จุดเกิดเหตุ หรือจะรอจนถึงพลบค่ำแล้วฆ่าพวกเขาขณะนอนหลับ ถ้าตอบ "ใช่" เธอจะเปิดเผยให้เห็นมุมปากที่ฉีกถึงหู และจะถามคำถามนั้นอีกครั้ง ถ้าตอบ "ไม่" เธอจะฆ่าด้วยอาวุธของเธอ และถ้าตอบ "ใช่" อย่างลังเล เธอจะตัดมุมปากของพวกเขาในลักษณะที่คล้ายกับรูปหน้าของเธอเอง วิธีที่สามารถใช้เพื่อเอาชีวิตรอดจากการเผชิญหน้ากับคูจิซาเกะ-อนนะ ได้แก่ การตอบคำถามของเธอโดยบรรยายลักษณะภายนอกของเธอว่า "ธรรมดา"[3] ตำนานคูจิซาเกะ-อนนะมีบันทึกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 ถึง 19 ในยุคเอโดะของญี่ปุ่น[1] เรื่องราวนี้ได้รับความสนใจอีกครั้งในญี่ปุ่นช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 เมื่อหนังสือพิมพ์และนิตยสารหลายฉบับรายงานเกี่ยวกับตำนานนี้ และข่าวลือเกี่ยวกับเรื่องนี้ก็แพร่กระจายไปทั่วประเทศ ทำให้เด็กนักเรียนต้องเดินกลับบ้านกับผู้ใหญ่เป็นกลุ่ม ๆ[2][4] ตำนานและรูปแบบต่าง ๆ![]() ตามตำนาน คูจิซาเกะ-อนนะเป็นสตรีที่ถูกทำให้เสียโฉมตอนที่มีชีวิตด้วยปากที่ถูกกรีดจากหูข้างหนึ่งถึงหูอีกข้าง ในบางฉบับ คูจิซาเกะ-อนนะเป็นภรรยาที่ผิดประเวณีหรือภรรยาลับของซามูไรตอนที่ยังมีชีวิตอยู่[5][6] เธอเริ่มเหงาเนื่องจากซามูไรมักจะออกรบนอกบ้าน และเริ่มมีสัมพันธ์กับผู้คนในเมือง เมื่อซามูไรได้ยินเรื่องนี้ เขาก็โกรธมาก สามีของเธอจึงเฉือนมุมปากของเธอจากหูถึงหูเพื่อเป็นการลงโทษฐานที่เธอไม่ซื่อสัตย์[5][6] ในเรื่องเล่าอีกฉบับ ปากของเธอถูกทำให้เสียโฉมขณะทำทันตกรรมหรือทางการแพทย์ หรือโดยผู้หญิงที่อิจฉาในความงามของเธอ ในเรื่องราวอีกแบบหนึ่ง ปากของเธอเต็มไปด้วยฟันแหลมคมจำนวนมาก[7] หลังเสียชีวิต สตรีผู้นั้นกลับมาเป็นวิญญาณอาฆาต (อนเรียว) ในฐานะ อนเรียว เธอปิดปากด้วยหน้ากากผ้า (มักระบุเฉพาะเจาะจงเป็นหน้ากากอนามัย) หรือในบางฉบับระบุเป็นพัดโบกหรือผ้าเช็ดหน้า[1] เธอพกของมีคมติดตัวไปด้วย ซึ่งได้รับคำอธิบายว่าอาจเป็นมีด มีดพร้า เคียว หรือกรรไกรขนาดใหญ่[7] เธอได้รับการอธิบายว่ามีความเร็วเหนือธรรมชาติด้วย[8] กล่าวกันว่าเธอจะถามผู้ที่อาจเป็นเหยื่อว่าพวกเขาคิดว่าเธอมีเสน่ห์หรือไม่ ซึ่งมักจะใช้วลีว่า "วาตาชิ, คิเร?" (ญี่ปุ่น: 私、綺麗?; โรมาจิ: Watashi, kirei)[a] (แปลว่า "ฉันสวยไหม?")[1] ถ้าบุคคลนั้นตอบว่า "ไม่" เธอจะฆ่าพวกเขาด้วยอาวุธของเธอ และถ้าบุคคลนั้นตอบว่า "ใช่" เธอจะเปิดปากที่ทำให้เสียโฉม จากนั้นจึงถามซ้ำอีกครั้ง (หรือถามว่า "โคเระ เดโมะ?" ซึ่งแปลว่า "แม้แต่สภาพนี้หรอ?" หรือ "แล้วตอนนี้หล่ะ?") และถ้าบุคคลนั้นตอบว่า "ไม่" หรือกรีดร้องด้วยความกลัว เธอจะสังหารคนั้นด้วยอาวุธของเธอ[1] ถ้าตอบว่า "ใช่" เธอจะเฉือนมุมปากของคนนั้นตั้งแต่หูข้างหนึ่งถึงอีกข้าง คล้ายกับใบหน้าที่เสียโฉมของเธอเอง[1][9] วิธีการเอาชีวิตรอดจากการเผชิญหน้ากับคูจิซาเกะ-อนนะใช้ได้ด้วยหนึ่งในหลายวิธี ในบางตำนาน คูจิซาเกะ-อนนะจะปล่อยผู้ที่อาจตกเป็นเหยื่อถ้าพวกเขาตอบว่า "ใช่" กับทั้งสองคำถาม แม้ว่าในบางฉบับ เธอจะไปเยี่ยมบ้านของผู้ที่ถูกถามในคืนนั้น และฆ่าบุคคลนั้นขณะนอนหลับ[1][2] กลวิธีอีกอย่างหนึ่งคือการบอกว่าบุคคลนั้นกำลังสาย และเธอจะโค้งคำนับและขอโทษเพื่อให้บุคคลนั้นผ่านไปได้ กลวิธีเอาตัวรอดอื่น ๆ ได้แก่ การตอบคำถามของคูจิซาเกะ-อนนะโดยบรรยายลักษณะภายนอกของเธอว่า "ก็พอใช้ได้" เพื่อให้บุคคลนั้นมีเวลามากพอที่จะวิ่งหนี[2][7] ทำให้เธอไขว้เขวด้วยการให้เงินเธอหรือลูกกวาด โดยเฉพาะลูกกวาดที่มีชื่อว่าเบ็กโกะอาเมะ ที่ทำจากน้ำตาลคาราเมล (หรือโยนลูกอมไปทางเธอ ทำให้เธอหยุดเพื่อหยิบมันขึ้นมา)[1][2][10] หรือพูดคำว่า "ยาขี้ผึ้งใส่ผม" สามครั้ง[2][11] ประวัติแมทธิว เมเยอร์ (Matthew Meyer) นักเขียนและนักคติชนวิทยา กล่าวถึงตำนานคูจิซาเกะ-อนนะว่ามีรากฐานถึงยุคเอโดะของญี่ปุ่น ซึ่งอยู่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 ถึง 19[1] แต่อีกูระ โยชิยูกิ ศาสตราจารย์ด้านวรรณคดีญี่ปุ่น เชื่อว่าตำนานนี้มีอายุถึงเพียงคริสต์ทศวรรษ 1970[3] ตำนานคูจิซาเกะ-อนนะในเอกสารตีพิมพ์สืบได้ถึง ค.ศ. 1979 มีการรายงานถึงตำนานนี้ในสื่อสิงพิมพ์หลายแห่ง เช่น ใน กิฟุนิจินิจิชิมบุง หนังสือพิมพ์ของจังหวัดกิฟุ ฉบับวันที่ 26 มกราคม ค.ศ. 1979 สื่อสิ่งพิมพ์รายสัปดาห์ ชูกังอาซาฮิ ฉบับวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1979 และนิตยสารข่าวรายสัปดาห์ ชูกังชินโจ ฉบับวันที่ 5 เมษายน ค.ศ. 1979[12] ข่าวลือเกี่ยวกับคูจิซาเกะ-อนนะกระจายไปทั่วญี่ปุ่น ซึ่งทำให้บางครั้งเด็กเล็กจะมีสมาชิกองค์กรผู้ปกครอง–ครูเดินเป็นกลุ่มขณะกลับจากโรงเรียนด้วย[2][4] ชิเงรุ มิซูกิ นักประวัติศาสตร์และนักเขียนมังงะ ถือให้ตูจิซาเกะ-อนนะเป็นตัวอย่างโยไก ดวงวิญญาณ และปีศาจในคติชนญี่ปุ่น[13] แซ็ก เดวิสสัน ผู้แปลผลงานของมิซูกิหลายงาน กล่าวว่า "เมื่อมิซูกิระบุสาวปากฉีกเข้าในหนึ่งในสารานุกรมโยไกเล่มใหม่ล่าสุดของเขา นั่นเป็นช่วงเธอถือเป็นโยไกอย่างเป็นทางการ"[13] ในวัฒนธรรมร่วมสมัย
ดูเพิ่ม
หมายเหตุอ้างอิง
ข้อมูล
อ่านเพิ่ม
แหล่งข้อมูลอื่น
|
Portal di Ensiklopedia Dunia