สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ที่ 2
สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ที่ 2 (Second Philippine Republic) หรือสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (ภาษาญี่ปุ่น: フィリピン共和国, ภาษาฟิลิปิโน: Republika ng Pilipinas) หรือสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ที่ญี่ปุ่นสนับสนุน (Japanese-sponsored Philippine Republic) เป็นรัฐหุ่นเชิด จัดตั้งเมื่อ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2486 ในช่วงที่ญี่ปุ่นเข้ายึดครอง ประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล เกซอน ได้ประกาศที่มะนิลา เมืองหลวงให้เป็นเมืองเปิด ปกครองโดยจอร์จ บี วาร์กัส ญี่ปุ่นเข้าเมืองได้เมื่อ 2 มกราคม พ.ศ. 2485 และตั้งมะนิลาเป็นเมืองหลวง ญี่ปุ่นเข้าสู่ฟิลิปปินส์อย่างเต็มที่เมื่อ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2485 หลังจากยุทธการคอร์เรกิดอร์ นายพลมาซาฮารุ ฮอมมา ได้ประกาศสลายเครือจักรภพฟิลิปปินส์และจัดตั้งคณะกรรมการสูงสุดฟิลิปปินส์ (Komisyong Tagapagpaganap ng Pilipinas) และให้จอร์จ วาร์กัสเป็นประธานคนแรกในเดือนมกราคม พ.ศ. 2485 กาลิบาปีซึ่งเป็นตัวย่อในภาษาตากาล็อกขององค์กรบริหารแห่งฟิลิปปินส์ใหม่ (Kapisanan sa Paglilingkod sa Bagong Pilipinas) ก่อตั้งขึ้นโดยประกาศหมายเลข 109 ของคณะกรรมการสูงสุดฟิลิปปินส์ และประกาศเป็นกฎหมายเมื่อ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2485 คว่ำบาตรพรรคการเมืองทั้งหมดที่มีอยู่ และจัดตั้งพันธมิตรของรัฐบาลใหม่ พรรคกานับซึ่งเป็นพรรคนิยมญี่ปุ่นได้รวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของกาลิบาปี[2] เอกราชก่อนการจัดตั้งคณะกรรมการเตรียมการณ์ ญี่ปุ่นให้ทางเลือกที่จะให้ฟิลิปปินส์อยู่ภายใต้การปกครองของอาร์เตมีโอ รีการ์เต ผู้ที่ญี่ปุ่นพากลับมาจากโยโกฮามาเพื่อช่วยในการโฆษณาชวนเชื่อ อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการสูงสุดของฟิลิปปินส์ปฏิเสธทางเลือกนี้ และเลือกที่จะเป็นสาธารณรัฐ เมื่อนายกรัฐมนตรีฮิเดกิ โตโก มาเยือนฟิลิปปินส์เมื่อ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2486 เขาได้ให้สัญญาว่าจะให้เอกราชแก่ฟิลิปปินส์ในฐานะส่วนหนึ่งของวงไพบูลย์แห่งมหาเอเชียบูรพา[3] กาลิบาปีได้จัดตั้งคณะกรรมการเตรียมการณ์เพื่อเอกราชฟิลิปปินส์เมื่อ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2486 [4]ร่างรัฐธรรมนูญที่เตรียมโดยคณะกรรมการที่มีสมาชิก 20 คน [5]นำโดย โฮเซ พี ลอเรล [6] ได้นำเสนอเมื่อ 4 กันยายน พ.ศ. 2486 และอีกสามวันต่อมา กาลิบาปีได้อนุมัติร่างนี้[5] ในวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2486 ได้เลือกตัวแทนกาลิบาปีระดับจังหวัดและเมืองเป็นสมาชิกสภาแห่งชาติฟิลิปปินส์จำนวน 45 คน โดยผู้บริหารจังหวัดและเมืองเป็นสมาชิกร่วม สามวันหลังจากจัดตั้งสภาแห่งชาติ สภาได้เปิดประชุมและเลือกเบนิกโน เอส อากีโนเป็นโฆษกรัฐบาล และลอเรลเป็นประธานาธบดี ซึ่งเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการในวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2486 ซึ่งถือเป็นการสถาปนาสาธารณรัฐ อดีตประธานาธิบดี เอเมลิโอ อากีนัลโด และนายพลอาร์เตมีโอ รีการ์เตได้ชักธงฟิลิปปินส์[5]ซึ่งเป็นธงเดียวกับที่ใช้ในสงครามฟิลิปปินส์-สหรัฐ[3] ในวันเดียวกันนั้น ได้มีการลงนามระหว่างสาธารณรัฐใหม่กับญี่ปุ่น และสภาแห่งชาติได้ให้สัตยาบันในอีกสองวันต่อมา วงไพบูลย์แห่งมหาเอเชียบูรพาการประชุมวงไพบูลย์แห่งมหาเอเชียบูรพา (Greater East Asia Conference; 大東亜会議 Dai Tōa Kaigi?) เป็นการประชุมระดับนานาชาติ จัดขึ้นที่โตเกียวเมื่อ 5-6 กันยายน พ.ศ. 2486 ระหว่างรัฐที่เข้าร่วมในวงไพบูลย์แห่งมหาเอเชียบูรพา เนื้อหาหลักเป็นการแสดงแนวคิดของจักรวรรดิญี่ปุ่นในการสร้างวงไพบูลย์แห่งเอเชียและปลดปล่อยเอเชียจากระบอบอาณานิคมของตะวันตก[7] การประชุมนี้เป็นจุดเปลี่ยนของนโยบายต่างประเทศและความสัมพันธ์ระหว่างญี่ปุ่นกับชาติในเอเชีย ความพ่ายแพ้ของญี่ปุ่นที่กัวดาคะแนล เพิ่มความกังวลในการกำจัดบทบาททางทหารของญี่ปุ่น ทำให้ญี่ปุ่นหันมาสร้างความร่วมมือมากกว่าการปกครองแบบอาณานิคม แต่ความพยายามนี้ล่าช้าเกินไปในการรักษาจักรวรรดิ ซึ่งได้ล่มสลายภายในเวลาไม่ถึง 2 ปีหลังการประชุม ปัญหาของสาธารณรัฐในระหว่างที่เป็นประธานาธิบดี ลอเรลต้องเผชิญกับปัญหามากมาย เช่น การขาดแคลนอาหาร เสื้อผ้า น้ำมัน และของจำเป็นอื่นๆ กองทัพญี่ปุ่นประจำการอยู่ทั่วประเทศ ญี่ปุ่นเข้าควบคุมการคมนาคมขนส่ง สื่อ และการสื่อสาร ลอเรพยายามแสดงถึงเอกราชของรัฐในการจัดการกับปัญหาเหล่านั้น การขาดแคลนอาหารในการจัดการกับปัญหาการขาดแคลนอาหาร เขาจัดให้มีตัวแทนสำหรับแจกจ่ายข้าว แม้ว่าข้าวส่วนใหญ่ถูกทหารญี่ปุ่นริบ มะนิลาเป็นหนึ่งในหลายสถานที่ที่ขาดแคลนอาหาร โดยเฉพาะระหว่างพายุไต้ฝุ่นขึ้นฝั่งเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2486 ประชาชนถูกบังคับให้ใช้ที่ดินปลูกผัก เช่น ผักบุ้ง[8] ญี่ปุ่นซึ่งต้องการเพิ่มผลผลิตข้าวในประเทศ ได้นำข้าวโฮไรซึ่งเป็นข้าวพันธุ์เบาที่เคยปลูกในไต้หวัน[9] ข้าวโฮไรนี่คาดว่าจะทำให้ฟิลิปปินส์มีข้าวเพียงพอใน พ.ศ. 2486 แต่ฝนตกหนักใน พ.ศ. 2485 ทำให้ไม่เกิดขึ้น[10] เงินญี่ปุ่นเริ่มใช้ใน พ.ศ. 2485 ในขนาด 1, 5, 10 และ 50 เกนตาโวส และ 1, 5, และ 10 เปโซ ในปีต่อมาได้ออกพันธบัตร 1, 5 และ 10 เปโซ ใน พ.ศ. 2487 ได้ออกขนาด 100 เปโซอีก และอีกไม่นานได้ออกขนาด 500 เปโซ ใน พ.ศ. 2488 ญี่ปุ่นได้ออกขนาด 1,000 เปโซ เงินเหล่านี้แม้จะพิมพ์ก่อนสงคราม แต่ก็เป็นที่รู้จักในฟิลิปปินส์ว่าเงินมิกกี้เมาส์เพราะมีคุณค่าต่ำ หนังสือพิมพ์ต่อต้านญี่ปุ่นได้ออกเรื่องล้อเลียนเกี่ยวกับการไปตลาดพร้อมขุดสูทแต่ใช้เงินญี่ปุ่น ใน พ.ศ. 2487 กล่องไม้ขีดมีต้นทุนมากกว่าเงิน 100 เปโซมิกกี้เมาส์[11] ใน พ.ศ. 2488 มันเทศ 1 กิโลกรัมมีราคาประมาณ 1000 เปโซมิกกี้เมาส์[12] เกิดเงินเฟ้อภายในประเทศถึง 60% ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2487[13] การศึกษาญี่ปุ่นยอมให้ใช้ภาษาตากาล็อกเป็นภาษาประจำชาติ[14] มีการจัดทำคู่มือเรียนเร็ว มีการเปิดโรงเรียนขึ้นอีกครั้งหนึ่ง มีนักเรียนถึง 300,000 คน[15] มีการเผยแพร่วัฒนธรรมญี่ปุ่นและฟิลิปปินส์ สิ้นสุดสาธารณรัฐลอเรลประกาศกฏอัยการศึกเมื่อ 22 กันยายน พ.ศ. 2487[16] ในวันที่ 23 กันยายน สาธารณรัฐประกาศสงครามกับสหรัฐและอังกฤษอย่างเป็นทางการ [17]เมื่อสหรัฐยกทัพมาถึง รัฐบาลได้ย้ายฐานที่มั่นจากมะนิลาไปยังบากิโอ [18]สาธารณรัฐได้ประกาศสลายตัวอย่างเป็นทางการเมื่อ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2488[18] อ้างอิง
|
Portal di Ensiklopedia Dunia