สะพานไครเมีย
สะพานไครเมีย (รัสเซีย: Крымский мост) หรือ สะพานเคียร์ช (Керченский мост)[11] หรือบางครั้งเรียกว่า สะพานช่องแคบเคียร์ช เป็นสะพานคู่ขนานที่สร้างขึ้นโดยรัสเซีย เพื่อทอดข้ามช่องแคบเคียร์ช ระหว่างคาบสมุทรตามันกับดินแดนครัสโนดาร์ (รัสเซีย) และคาบสมุทรเคียร์ชของแหลมไครเมีย (ถูกผนวกเข้ากับรัสเซีย แต่ตามสากลถือว่าเป็นของยูเครน) สะพานแห่งนี้มีทั้งทางสัญจรของยานพาหนะและของรถไฟ ด้วยความยาว 18.1 กิโลเมตร (11.2 ไมล์) ทำให้สะพานแห่งนี้ยาวที่สุดในรัสเซีย[12] และในยุโรป[13][14][15][12][16] สะพานแห่งนี้มีการพิจารณาสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2446 จนมีแผนก่อสร้างในปี พ.ศ. 2557 หลังจากการผนวกคาบสมุทรไครเมีย ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2558 ได้มีการมอบสัมปทานก่อสร้างสะพานมูลค่ากว่าพันล้านดอลลาร์สหรัฐ ให้กับบริษัทสตรอยกัซมอนตัจ (รัสเซีย: Стро̀йга̀змонта́ж) ซึ่งดูแลโดยอาร์คาดี โรเตนเบียร์ก (รัสเซีย: Аркадий Романович Ротенберг) งานก่อสร้างเบื้องต้นเริ่มในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2558 และการก่อสร้างหลักส่วนของสะพานเริ่มขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 วลาดีมีร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย ทำพิธีเปิดส่วนถนนของสะพาน โดยใช้สำหรับการสัญจรของรถยนต์สำหรับการโดยสารตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม และเปิดสำหรับรถบรรทุกในวันที่ 1 ตุลาคม[7][17] ส่วนทางรถไฟของสะพานเปิดใช้เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2562 และรถไฟโดยสารขบวนแรกตามตารางการเดินรถประจำ ข้ามสะพานเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2562 สะพานเปิดสำหรับรถไฟบรรทุกสินค้าเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2563 บันทึกปริมาณการจราจรเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2563 มีจำนวนรถยนต์ผ่านทั้งสิ้น 36,393 คัน[18] ชื่อสะพานที่ชื่อว่า "สะพานไครเมีย" ได้รับคะแนนเสียงมากที่สุดจากการลงคะแนนทางอินเทอร์เน็ตในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2560 ซึ่งรองลงมาคือชื่อสะพานว่า "สะพานช่องแคบเคียร์ช" และชื่อสะพานว่า "สะพานเอกภาพ" ตามลำดับ[19] หมายเหตุอ้างอิง
อ่านเพิ่มเติม
แหล่งข้อมูลอื่นวิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ สะพานไครเมีย |
Portal di Ensiklopedia Dunia