สะพานชุดเจริญ![]() ![]() ![]() สะพานชุดเจริญ คือสะพานที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเป็นอนุสรณ์เหมือนพระราชบิดา โดยตัวเลขหลังชื่อสะพานคือปีที่เจริญพระชนมพรรษา[1] ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์มีพระราชดำริให้สร้างสะพานชุดเจริญด้วยพระราชนิยมตามสมเด็จพระบรมชนกนาถ แต่สร้างเพียงไม่กี่สะพาน เนื่องจากทรงเห็นว่าในพื้นที่พระนครมีสะพานน้อยใหญ่เป็นจำนวนมาก จึงมีพระราชวินิจฉัยให้ยุติการสร้างสะพานชุดเจริญในเวลาต่อมา สะพานชุดเจริญสายแรกที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้มีการสร้างขึ้นเพื่อฉลองพระชนมายุ ครบ 31 ปี ซึ่งเป็นปีที่พระองค์ทรงสืบราชสมบัติต่อจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว[2] คือสะพานเจริญรัช 31 เปิดใช้เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2454[3] ชุดสะพานสะพานชุดเจริญ มีทั้งหมด 7 สะพาน ดังนี้ 1. สะพานเจริญรัช 31 สร้างข้ามคลองคูเมืองเดิมที่ถนนสนามไชยและถนนจักรเพชร หรือบริเวณปากคลองตลาดในปัจจุบัน เปิดใช้เมื่อปี พ.ศ. 2454 (ปัจจุบันสะพานนี้ยังมีอยู่ และยังใช้สำหรับการสัญจรทางรถยนต์ได้) 2. สะพานเจริญราษฎร์ 32 สร้างข้ามคลองมหานาคที่ถนนกรุงเกษม หรือบริเวณตลาดโบ๊เบ๊ในปัจจุบัน เปิดใช้เมื่อปี พ.ศ. 2455 (ปัจจุบันสะพานนี้ยังมีอยู่ และยังใช้สำหรับการสัญจรทางรถยนต์ได้) 3. สะพานเจริญพาศน์ 33 สร้างข้ามคลองบางกอกใหญ่ที่ถนนอิสรภาพ เปิดใช้เมื่อปี พ.ศ. 2456 (ปัจจุบันสะพานนี้ยังมีอยู่ และยังใช้สำหรับการสัญจรทางรถยนต์ได้ ถือเป็นสะพานชุดเจริญเพียงสะพานเดียวที่สร้างในฝั่งธนบุรี) 4. สะพานเจริญศรี 34 สร้างข้ามคลองคูเมืองเดิมที่ถนนบุญศิริ หรือบริเวณด้านหลังศาลฎีกาในปัจจุบัน เปิดใช้เมื่อปี พ.ศ. 2457 (ปัจจุบันสะพานนี้ยังมีอยู่ แต่ไม่มีการสัญจรทางรถยนต์แล้ว เป็นเพียงสะพานสำหรับเดินเท้าเท่านั้น) 5. สะพานเจริญทัศน์ 35 สร้างข้ามคลองวัดสุทัศน์ที่ถนนบำรุงเมือง หรือบริเวณเสาชิงช้า หน้าวัดสุทัศนเทพวรารามในปัจจุบัน เปิดใช้เมื่อปี พ.ศ. 2458 (รื้อถอนแล้วเนื่องจากคลองถูกถมทิ้ง แนวคลองที่ถูกถมในปัจจุบันคือถนนศิริพงษ์ ถือเป็นสะพานชุดเจริญเพียงสะพานเดียวที่ปัจจุบันถูกรื้อถอนไปแล้ว) 6. สะพานเจริญสวัสดิ์ 36 สร้างข้ามคลองผดุงกรุงเกษมที่ถนนพระรามที่ 4 หรือบริเวณด้านหน้าสถานีรถไฟหัวลำโพงในปัจจุบัน เปิดใช้เมื่อปี พ.ศ. 2459 (ปัจจุบันสะพานนี้ยังมีอยู่ และยังใช้สำหรับการสัญจรทางรถยนต์ได้) 7. สะพานเจริญศรัทธา 37 สร้างข้ามคลองเจดีย์บูชาที่ถนนรถไฟ อยู่ระหว่างวัดพระปฐมเจดีย์กับสถานีรถไฟนครปฐม จังหวัดนครปฐม เปิดใช้เมื่อปี พ.ศ. 2461 (ปัจจุบันสะพานนี้ยังมีอยู่ แต่ไม่มีการสัญจรทางรถยนต์แล้ว เป็นเพียงสะพานสำหรับเดินเท้าเท่านั้น และถือเป็นสะพานชุดเจริญเพียงสะพานเดียวที่สร้างนอกเขตกรุงเทพมหานคร) ดูเพิ่มอ้างอิง
|
Portal di Ensiklopedia Dunia