สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฤทธิ์ ธมฺมสิริ)
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ นามเดิม ฤทธิ์ ฉายา ธมฺมสิริ เป็นสมเด็จพระราชาคณะ เจ้าคณะใหญ่ฝายเหนือและอดีตเจ้าอาวาสวัดบพิตรพิมุขวรวิหารและวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ประวัติสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ มีนามเดิม ฤทธิ์ หรือ ริด เกิดเมื่อวันเสาร์ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 7 ปีระกา ตรงกับวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2380 เมื่ออายุได้ 10 ขวบ ได้ศึกษากับพระมหาพลาย วัดนาคกลาง หลังโกนจุก ได้บวชเป็นสามเณรอยู่วัดราชบุรณราชวรวิหาร เข้าสอบพระปริยัติธรรมครั้งแรกในปีระกา พ.ศ. 2391 ณ วัดพระเชตุพนฯ ได้เปรียญธรรม 3 ประโยค พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระเมตตามาก ตรัสว่า "เด็กขนาดนี้กำลังจะจับเป็ดจับไก่ แต่สามเณรฤทธิ์อุตส่าห์เล่าเรียนจนแปลหนังสือได้เป็นเปรียญ" จึงพระราชทานรางวัล 1 ชั่ง[1] ปีมะเส็ง พ.ศ. 2400 อุปสมบทที่วันราชบุรณฯ โดยมีพระธรรมวโรดม (สมบุรณ์) เป็นพระอุปัชฌาย์ และเข้าแปลพระปริยัติธรรมอีกครั้งขณะพรรษา 8 ได้อีก 2 ประโยค จึงเป็นเปรียญธรรม 5 ประโยค ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานตาลปัตรพื้นโหมดเป็นเกียรติยศพิเศษ เพราะท่านเทศนาได้ดีต้องพระทัย[1] หลังจากได้รับแต่งตั้งเป็นพระราชาคณะ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้ท่านไปครองวัดบพิตรพิมุข[2] ต่อมาวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2441 ขณะดำรงสมณศักดิ์เป็นพระธรรมวโรดม ท่านได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ไปอยู่วัดอรุณราชวราราม โดยมีพระครูปลัด 1 รูป พระครูฐานานุกรม 3 รูป พระเปรียญ 2 รูป สามเณรเปรียญ 1 รูป พระอันดับ 7 รูป ติดตามไปอยู่ด้วย[3] สมณศักดิ์
มรณภาพสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ อาพาธเป็นโรคชรา มรณภาพเมื่อวันพุธที่ 22 เมษายาน พ.ศ. 2456 เวลา 3 ยาม ปีฉลู สิริอายุได้ 75 ปี 318 วัน ในวันต่อมา เวลาบ่าย 5 โมงเศษ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ เสด็จแทนพระองค์ไปพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนครสวรรค์วรพินิต สวมลอมพอกโหมดถวายศพ แล้วเจ้าพนักงานยกศพตั้งบนแว่นฟ้า 2 ชั้น ประกอบโกศไม้สิบสอง แวดล้อมด้วยฉัตรเครื่อง 9 คัน แล้วสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฯ กรมพระยาภาณุพันธุวงษ์วรเดช ทอดไตร 10 ไตร และผ้าขาว 20 พับ พระราชทานบังสุกุล และให้พระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมทุกวันมีกำหนด 1 เดือน[9] อ้างอิง
|
Portal di Ensiklopedia Dunia