สถาปัตยกรรมไฮเทค

สถาปัตยกรรมไฮเทค
อาคารลอยด์ ในลอนดอน ผลงานของริชาร์ด รอเจอส์
ช่วงเวลา1960–ปัจจุบัน
ภูมิภาคนานาชาติ

สถาปัตยกรรมไฮเทค (อังกฤษ: high-tech architecture) หรือที่เรียกอีกอย่างว่า สถาปัตยกรรมเอกซเพรสชันนิซึมเชิงโครงสร้าง (structural expressionism) เป็นประเภทหนึ่งของสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ตอนปลายที่เกิดขึ้นในช่วงทศวรรษ 1970 โดยนำเอาองค์ประกอบของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูงและเทคโนโลยีมาผสมผสานกับการออกแบบอาคาร สถาปัตยกรรมไฮเทคพัฒนามาจากรูปแบบสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ โดยใช้ประโยชน์จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและวัสดุก่อสร้าง เน้นย้ำถึงความโปร่งใสในการออกแบบและการก่อสร้าง โดยมุ่งเน้นที่จะสื่อสารโครงสร้างพื้นฐานและการใช้งานของอาคารตลอดทั้งภายในและภายนอก สถาปัตยกรรมไฮเทคมีการใช้อลูมิเนียม เหล็ก กระจก และใช้คอนกรีตน้อยลง (ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนามาก่อนหน้านี้) เนื่องจากวัสดุเหล่านี้มีความก้าวหน้ามากขึ้นและมีให้เลือกใช้ในรูปแบบต่าง ๆ มากขึ้นในช่วงเวลาที่มีการพัฒนารูปแบบนี้[1] โดยทั่วไปแล้ว มีแนวโน้มที่มุ่งเน้นไปที่ใช้วัสดุน้ำหนักเบา[2]

สถาปนิกที่โดดเด่นของแนวนี้ ได้แก่ เซอร์ ไมเคิล ฮอปกินส์, บรูซ เกรแฮม, ฟาซลูร์ ราห์มัน ข่าน, มิโนรุ ยามาซากิ, เซอร์นอร์มัน ฟอสเตอร์, เซอร์ริชาร์ด รอเจอส์, เรนโซ เปียโน และซานเตียโก กาลาตราบา[3]

อ้างอิง

  1. Pawley, Martin (1991). "High-Tech Architecture: History Vs. The Parasites". AA Files (21): 26–29. ISSN 0261-6823. JSTOR 29543727.
  2. Etherington, Rose (18 February 2010). "How much does your building weigh, Mr. Foster?". Dezeen.
  3. Moore, Rowan (2014-02-09). "The Brits who built the modern world". The Observer (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0029-7712. สืบค้นเมื่อ 2019-12-02.

 

Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9

Portal di Ensiklopedia Dunia