สถานีกลางเบอร์ลิน
สถานีกลางเบอร์ลิน (เยอรมัน: Berlin Hauptbahnhof)[2][3][4][5][6][7] เป็นสถานีกลางในกรุงเบอร์ลินประเทศเยอรมนี และยังเป็นสถานีรถไฟที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป [8][9] ตั้งอยู่บนจุดที่ตั้งเก่าของสถานีรถไฟเลอร์เตอร์ (Lehrter Bahnhof) สถานีเบอร์ลิน เฮาปท์บาห์นอฟ ได้รับการออกแบบโดย Meinhard von Gerkan และเปิดใช้งานอย่างเป็นทางการในวันที่ 26 พฤษภาคม ค.ศ. 2006 เพื่อให้ทันการเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลกของเยอรมนี โดยใช้เวลาก่อสร้างจนแล้วเสร็จมากกว่า 11 ปี สถานีกลางเบอร์ลินถูกจัดสถานะให้เป็นสถานีประเภทที่ 1 (Category 1) คือมีสถานะเป็น 1 ใน 21 ศูนย์กลางการคมนาคมทางรางของเยอรมนี เป็นจุดผ่านของเส้นทางรถไฟหลายสาย ได้แก่ รถไฟความเร็วสูงอีเซเอ รถไฟทางไกลของด็อยท์เชอบาน รถไฟเร็วเขตเมืองเบอร์ลิน และรถไฟใต้ดินเบอร์ลิน ในแต่ละวันมีรถไฟไม่ต่ำกว่า 1,200 ขบวนเดินทางผ่าน และให้บริการผู้โดยสารกว่า 3 แสนคน จุดเด่นของสถาปัตยกรรมตัวอาคารเป็นการใช้กระจกเป็นจำนวนมากประกอบเป็นพื้นผิวของโครงสร้างอาคารผู้โดยสาร โดยที่ใช้โครงสร้างรับน้ำหนักที่ทำจากเหล็กให้น้อยที่สุด เพื่อให้แสงธรรมชาติสามารถส่องผ่านเข้าไปภายในอาคารผู้โดยสารให้ได้มากที่สุด ตัวสถานีมีความยาว 430 เมตร และมีรางรถไฟให้บริการ 16 ราง สถานีกลางแห่งนี้ ได้ย้ายมาจากสถานีรถไฟเบอร์ลินตะวันออก ซึ่งเคยเป็นสถานีกลางมาก่อน ประวัติ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() สถานีเลอร์เตอร์ (Lehrter Bahnhof) เปิดตัว ณ กรุงเบอร์ลิน, โดยตั้งอยู่ใกล้ๆกับสถานีฮัมบวร์เคอร์ (Hanburger Bahnhof), ในปี ค.ศ. 1871 ในฐานะสถานีปลายทางเชื่อมต่อกรุงเบอร์ลิน กับเลิร์ต (Lehrte) อันเป็นเมืองเล็กๆใกล้กับเมืองฮันโนเฟอร์ และต่อมาทางรถไฟยาว 239 กิโลเมตรนี้กลายเป็นทางรถไฟหลักสายตะวันออก-ตะวันตก ที่สำคัญที่สุดในเยอรมนี ตัวสถานีถูกออกแบบตามสไตล์ นีโอ-เรอเนสซองซ์ แบบฝรั่งเศส ซึ่งเป็นการฉีกสไตล์ไปจากอาคารก่ออิฐแดงที่นิยมกันในสมัยนั้น แต่เพราะเงินทุนที่จำกัด พื้นผิวตกแต่งอาคารจึงไม่ได้ทำด้วยหินตามแผนที่วางไว้แต่ใช้กระเบื้องเคลือบแทน ถึงกระนั้นก็ยังมีความงดงามทางสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นจนได้รับการยกย่องว่าเป็น "สถานีรถไฟที่งามดุจราชวัง" พอถึงปี 1882 ได้มีการสร้างเส้นทางรถไฟสายนครเบอร์ลิน หรือ ชตาดท์บาห์น (Berlin Stadtbahn) ขึ้นในเบอร์ลินโดยเป็นรางแบบยกระดับ 4 ราง พาดผ่านทางตอนเหนือของสถานี (ซึ่งภายหลังได้พัฒนามาเป็นทางรถไฟ เอส-บาห์น (S-Bahn)) และเกิดสถานีเชื่อมต่อขนาดย่อม Lehrter Stadtbahnhof ขึ้นเพื่อเชื่อมต่อกับเส้นทางใหม่ การขยายตัวและการเพิ่มบทบาทของสถานีเลอร์เตอร์ ทำให้สถานีนี้มีบทบาทเข้ามาแทนที่สถานีฮัมบวร์เคอร์ซึ่งปิดตัวลงในปี 1884 เมื่อเส้นทางไปฮัมบวร์คทางตะวันออกเฉียงเหนือของเยอรมนี กับสแกนดิเนเวียถูกเปลี่ยนไปหาสถานีเลอร์เตอร์แทน ต่อมาเส้นทางเบอร์ลิน-เลอร์ต ถูกแปรรูปให้เป็นรัฐวิสาหกิจ และเข้ามาอยู่ภายใต้การควบคุมของการรถไฟแห่งชาติปรัสเซียใน ปี 1886 ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ตัวอาคารสถานีได้รับความเสียหายอย่างหนัก เมื่อสงครามจบลงตัวโครงอาคารได้รับการซ่อมแซมให้ใช้การได้ชั่วคราว แต่การแบ่งแยกประเทศเยอรมนีภายหลังสงครามโลกก็ทำให้เส้นทางหลักๆต้องปิดการให้บริการลง จึงไม่มีโครงการจะบูรณะสถานีต่อไปอีก สถานนีเลอร์เตอร์จึงเป็นอันต้องถูกทำลายลงโดยการทุบทำลายโครงสร้างใช้เวลา 2 ปี (1957 - 1959) ส่วนสถานีเชื่อมต่อทางรถไฟสายนครเบอร์ลิน (Lehrter Stadtbahnhof) นั้นได้เปลี่ยนสถานะไปเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายเอ็ส-บาห์น ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1930 โดยเปลี่ยนไปใช้ระบบเดินรถด้วยไฟฟ้า แต่แม้จะไม่ได้รับความเสียหายจากสงคราม สถานี Lehrter Stadtbahnhof ก็ถูกผลกระทบของการก่อสร้างกำแพงเบอร์ลินทำให้มีขอบเขตการให้บริการที่จำกัด โดยเครือข่าย เอ็ส-บาห์น ทั้งหมดตกไปอยู่ในความรับผิดชอบของการรถไฟเยอรมนีตะวันออก (Deutsche Reichsbahn) ทำให้ประชากรจำนวนมากในฝั่งเบอร์ลินตะวันตกบอยค็อตไม่ใช้บริการ เอ็ส-บาห์น อยู่จนกระทั่งทศวรรษที่ 1980 เมื่อเบอร์ลินตะวันตกได้รับมอบสิทธิบริหารจัดการเส้นทาง เอ็ส-บาห์น สายเบอร์ลินตะวันตกเอง สถานี Lehrter Stadtbahnhof ที่รอดภัยสงครามมาถูกขึ้นทะเบียนอนุรักษ์เป็นโบราณสถาน แต่ในปี ค.ศ. 2002 สถานี Lehrter Stadtbahnhof ก็ถูกกำหนดให้โดนทำลายเพื่อเปิดทางให้มีการก่อสร้างสถานีกลาง (Hauptbahnhof) แห่งใหม่ ซึ่งถูกวางแปลนมาตั้งแต่ปี 1992 ให้สร้างขึ้นบนพื้นที่เก่าของสถานีเลอร์เตอร์เดิม (Lehrter Bahnhof) ซึ่งทั้งใกล้กับสถานที่ราชการในเมืองเบอรลิน และยังไม่มีคนอยู่อาศัยแออัดมาเกินไป โดยเริ่มก่อสร้างตั้งแต่ปี 1995 จนการก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ในปี 2006 ดูเพิ่มอ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น![]() วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ สถานีกลางเบอร์ลิน
|
Portal di Ensiklopedia Dunia