สตาร์ วอร์ส ไตรภาค (อังกฤษ : Star Wars Trilogy ) หรือมักเรียกว่า ไตรภาคเดิม หรือ ไตรภาคคลาสสิก เป็นภาพยนตร์ไตรภาคชุดแรกที่สร้างในแฟรนไชส์ สตาร์ วอร์ส มหากาพย์บันเทิงคดีอวกาศซึ่งสร้างโดย จอร์จ ลูคัส ภาพยนตร์สร้างโดยลูคัสฟิล์ม และจัดจำหน่ายโดยทเวนตีท์เซนจูรีฟอกซ์ ประกอบด้วย ภาพยนตร์ สตาร์ วอร์ส ฉบับดั้งเดิม (1977), สตาร์ วอร์ส 2 (1980) และ สตาร์ วอร์ส 3: ชัยชนะของเจได (1983) ภาพยนตร์ในไตรภาคเล่าเรื่องสงครามกลางเมืองระหว่างพันธมิตรกบฏ และจักรวรรดิกาแลกติก ผู้ปกครองด้วยระบอบเผด็จการ เช่นเดียวกับ การเดินทางของวีรบุรุษ ของลุค สกายวอล์คเกอร์ ซึ่งได้รับการฝึกฝนจากอาจารย์เจได โอบีวัน เคโนบี และ โยดา จนได้กลายเป็นเจได ลุค, เจ้าหญิงเลอา , ฮาน โซโล , ชิวแบคคา , ซีทรีพีโอ และอาร์ทูดีทู ได้เข้าร่วมพันธมิตรกบฏเพื่อต่อสู้กับเอมไพร์และลอร์ดมืดผู้ชั่วร้าย ดาร์ธ เวเดอร์
ภาพยนตร์ในชุดไตรภาคเดิมนี้ มีเนื้อเรื่องเป็นองก์ที่สองของ มหากาพย์สกายวอล์คเกอร์ ซึ่งอยู่ระหว่างไตรภาคต้น ฉายระหว่างปี ค.ศ. 1999 ถึง 2005 และไตรภาคต่อ ฉายระหว่างปี ค.ศ. 2015 ถึง 2019[ 1]
เบื้องหลัง
เมื่อปี ค.ศ. 1971 จอร์จ ลูคัส ต้องการสร้างภาพยนตร์ที่ดัดแปลงจาก ภาพยนตร์ฉายเป็นตอนของ แฟลชกอร์ดอน แต่ว่าเขาไม่ได้รับสิทธิ์นั้น เขาจึงเริ่มต้นพัฒนาภาพยนตร์บันเทิงคดีแนวอวกาศ ของเขา โดยได้รับแรงบันดาลใจจากงานของ เอ็ดการ์ ไรซ์ เบอร์โรห์ [ b] [ 2] หลังลูคัสกำกับภาพยนตร์เรื่อง อเมริกันกราฟฟิติ (1973) เขาได้เขียนเรื่องย่อของภาพยนตร์บันเทิงคดีแนวอวกาศของเขาจำนวนสองหน้า ตั้งชื่อว่า เจอร์นัลออฟเดอะวิลล์ส (อังกฤษ : Journal of the Whills ) ทเวนตีท์เซนจูรีฟอกซ์ ตัดสินใจลงทุนกับภาพยนตร์เรื่องนี้ หลังภาพยนตร์ได้รับการปฏิเสธจาก ยูไนเต็ดอาร์ตติสต์ , ยูนิเวอร์แซลสตูดิโอส์ และดิสนีย์ [ 3] [ 5] ลูคัสรู้สึกว่าเนื้อเรื่องต้นฉบับของเขานั้นยากเกินกว่าจะเข้าใจ ดังนั้นในวันที่ 17 เมษายน ค.ศ. 1973 เขาเริ่มเขียนบทร่างจำนวน 13 หน้า ตั้งชื่อว่า เดอะ สตาร์ วอร์ส มีเนื้อเรื่องคล้ายคลึงกับภาพยนตร์ เดอะฮิดเดนฟอร์เทรสส์ (1958) ของ อากิระ คูโรซาวะ ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1974 เขาได้ขยายเรื่องราวไปสู่ร่างบทแรกของบทภาพยนตร์[ 7] แต่พบว่าบทภาพยนตร์นั้นยาวเกินไปสำหรับภาพยนตร์เรื่องเดียว[ 8] และในที่สุดบทร่างก็กลายเป็นบทภาพยนตร์ของภาพยนตร์ สตาร์ วอร์ส ฉบับดั้งเดิม[ 9]
ลูคัสเจรจาต่อรองเพื่อรักษาสิทธิ์ในการสร้างภาคต่อ ทอม พอลล็อก ซึ่งต่อมาได้เป็นทนายของลูคัสเขียนว่า "เรามาถึงข้อตกลงที่จอร์จจะรักษาสิทธิ์ในการสร้างภาคต่อ แต่ไม่ได้ [สิทธิ์ในการขายสินค้า] ทั้งหมดซึ่งตามมาในภายหลัง คุณต้องไตร่ตรองให้ดี แค่สิทธิ์ในการสร้างภาคต่อ และฟอกซ์จะได้รับโอกาสครั้งแรกและสิทธิ์ในการปฏิเสธครั้งสุดท้ายในการสร้างภาพยนตร์"[ 10] ลูคัสได้รับเงินข้อเสนอ $50,000 สำหรับการเขียนบท อีก $50,000 สำหรับการสร้างและอีก $50,000 สำหรับการกำกับภาพยนตร์[ 10] ค่าตอบแทนการกำกับของเขาต่อมาเพิ่มเป็น $100,000 เขายังได้เจรจาขอสิทธิ์ในการสร้างภาคต่อและเป็นเจ้าของ 40% ของผลกำไรจากการขายสินค้า[ 11] [ 12] [ 13] แฮร์ริสัน ฟอร์ด หนึ่งในนักแสดงใน อเมริกันกราฟฟิติ เลิกเป็นนักแสดงเพื่อพยายามไปเป็นช่างไม้ จนกระทั่งลูคัสจ้างเขามาเล่นเป็น ฮาน โซโล [ 14]
การคัดเลือกนักแสดง
มีนักแสดงหลายพันคนได้การพิจารณาในค้นหานักแสดงหลักของไตรภาค[ 15] นักแสดงที่ได้รับการคัดเลือก ได้รับการพิจารณาจากผู้ชมหลายคนว่ามีเคมีเข้ากันบนหน้าจอ แม้ว่าบางคนจะไม่มีประสบการณ์ ยกเว้นอเล็ก กินเนสส์ และปีเตอร์ คุชิง [ 16] [ 17] บางคน เช่น ฟอร์ดบอกว่าบทพูดนั้นดูอืดอาด และบทพูดหลายบทมาจากการด้นสด บางบทพูดถือว่าเป็นช่วงที่น่าจดจำที่สุดในภาพยนตร์[ c]
ภาพยนตร์
สตาร์ วอร์ส ฉายเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1977 เล่าเรื่องราวของ ลุค สกายวอล์คเกอร์ ได้เข้ามามีส่วนร่วมในสงครามกลางเมืองระหว่าง จักรวรรดิกาแลกติก และ พันธมิตรกบฏ โดยมีดรอยด์สองตัวและหนึ่งอัศวินเจได คอยช่วยเหลือเขา โดยลุคช่วยสร้างหนึ่งในชัยชนะที่สำคัญที่สุดให้กับพันธมิตรกบฏ ความสำเร็จที่ไม่คาดคิดของภาพยนตร์เรื่องนี้ ทำให้ลูคัสสร้างรากฐานของการสร้างภาพยนตร์ฉายเป็นตอนที่มีความละเอียดซับซ้อน ลูคัสตัดสินใจว่าภาพยนตร์ชุดนี้จะเป็นไตรภาคของไตรภาค ด้วยเนื้อเรื่องที่เขาเขียนไว้สำหรับสร้างภาคต่อ[ 20] โดยภาพยนตร์ฉบับดั้งเดิมได้เพิ่มชื่อเรื่องรอง เพื่อเป็นบอกว่าเป็นภาคแรกของไตรภาคที่สอง[ 21] ภาคต่อเรื่องแรก สตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 5: จักรวรรดิเอมไพร์โต้กลับ ฉายเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม ค.ศ. 1980 เล่าเรื่องราวของ ลุค เริ่มฝึกฝนเพื่อเป็นเจไดโดย โยดา อาจารย์เจไดคนสุดท้ายที่ยังมีชีวิตอยู่ ลุคเผชิญหน้ากับซิธลอร์ด ดาร์ธ เวเดอร์ ซึ่งเขาเปิดเผยว่าเป็นพ่อของลุค เวเดอร์พยายามชักชวนลุคให้เข้าสู่ด้านมือของพลัง สตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 6: การกลับมาของเจได ฉายเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1983 เล่าเรื่องราวของ ลุค ที่กลายเป็นเจไดแล้ว เขาพยายามเกลี้ยกล่อมเวเดอร์ เพื่อให้พ่อของเขากลับสู่ด้านสว่างและกอบกู้จักรวาลจากเอมไพร์ ภาคต่อทั้งสองภาค ลูคัสฟิล์ม เป็นผู้ออกเงินทุนสร้างเองและประชาสัมพันธ์โดยไม่มีเลขตอน ซึ่งเลขตอนนั้นปรากฏในฉากข้อความเปิดเรื่อง
สตาร์ วอร์ส
สตาร์ วอร์ส 2
สตาร์ วอร์ส 3: ชัยชนะของเจได
การตอบรับ
การตอบรับจากนักวิจารณ์
รางวัลออสการ์
การทำเงินในบ๊อกซ์ออฟฟิศ
ภาพยนตร์
วันฉาย
ทุนสร้าง
ทำเงินในบ๊อกซ์ออฟฟิศ
อันดับสูงสุด
อ้างอิง
อเมริกาเหนือ
ปรับเงินตามอัตราเงินเฟ้อ (อเมริกาเหนือ)[ k]
ภูมิภาคอื่น
ทั่วโลก
อเมริกาเหนือ
ทั่วโลก
สตาร์ วอร์ส
25 พฤษภาคม ค.ศ. 1977
$11 ล้าน
$460,998,007
$1,608,419,900
$314,600,000
$775,598,007
#16
#90
[ 29] [ 30]
สตาร์ วอร์ส 2
21 พฤษภาคม ค.ศ. 1980
$33 ล้าน
$290,075,067
$886,571,200
$257,900,000
$547,975,067
#91
#183
[ 31] [ 32] [ 33]
สตาร์ วอร์ส 3: ชัยชนะของเจได
25 พฤษภาคม ค.ศ. 1983
$32.5 ล้าน
$309,306,177
$849,356,500
$166,000,000
$475,306,177
#75
#220
[ 34] [ 35]
ทั้งหมด
$76.5 ล้าน
$ 1,060,779,251
$3,344,347,600
$ 728,500,000
$ 1,798,879,251
#2
#2
อ้างอิง
เชิงอรรถ
↑ ตามข้อตกลงเมื่อปี ค.ศ. 2012 สิทธิ์การจัดจำหน่ายแผ่นภาพยนตร์ของ เอพพิโซด 5 –6 จะถูกโอนให้กับดีสนีย์ในปี ค.ศ. 2020 ขณะที่สิทธิ์ของ เอพพิโซด 4 จะคงอยู่กับฟอกซ์ แต่ในที่สุด สิทธิ์ของไตรภาคนี้ก็ถูกโอนให้กับดีสนีย์เมื่อปี ค.ศ. 2019 หลังดิสนีย์ซื้อกิจการของฟอกซ์
↑ ผู้สร้าง แฟลชกอร์ดอน อเล็กซ์ เรย์มอนด์ ได้รับอิทธิพลจาก จอห์น คาเตอร์ ออฟ มาร์ส
↑ บทพูดของฟอร์ด "We're fine. We're all fine here, now, thank you. How are you?" ใน ความหวังใหม่ และ "I know" ใน จักรวรรดิเอมไพร์โต้กลับ เป็นการด้นสด และ มาร์ค ฮามิลล์ (ลุค สกายวอล์คเกอร์) พูดว่า "I can't see a thing in this helmet" โดยที่เขาไม่รู้ว่ากำลังถ่ายทำอยู่ใน ความหวังใหม่ [ 18]
↑ ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น สตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 4: ความหวังใหม่
↑ ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น สตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 5: จักรวรรดิเอมไพร์โต้กลับ
↑ ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น สตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 6: การกลับมาของเจได
↑ อเล็ก กินเนสส์ สำหรับบทบาท โอบีวัน เคโนบี
↑ Ben Burtt for the creation of the alien, creature, and robot voices
↑ Brian Johnson , Richard Edlund , Dennis Muren and Bruce Nicholson for visual effects
↑ Richard Edlund , Dennis Muren , Ken Ralston and Phil Tippett for visual effects
↑ การปรับอัตราเงินเฟ้อมีความซับซ้อนเนื่องจากด้วยข้อเท็จจริงที่ว่าภาพยนตร์สี่เรื่องแรกมีการฉายหลายรอบในแต่ละปีที่แตกต่างกัน ดังนั้นรายได้ของพวกเขาไม่สามารถปรับได้ง่าย ๆ ตั้งแต่ปีแรกที่เปิดตัว จำนวนเงินที่ปรับอัตราเงินเฟ้อในปี ค.ศ. 2005 พบในหนังสือ Block, Alex Ben; Wilson, Lucy Autrey, บ.ก. (2010). George Lucas's Blockbusting: A Decade-By-Decade Survey of Timeless Movies Including Untold Secrets of Their Financial and Cultural Success . HarperCollins . p. 519. ISBN 978-0061778896 . ทำการปรับค่าเงินดอลลาร์ให้สอดคล้องกับ ดัชนีราคาผู้บริโภคสหรัฐ ซึ่งจัดทำโดยธนาคารกลางแห่งมินนิอาโปลิส โดยใช้จำนวนเงินของปี ค.ศ. 2005 เป็นฐาน[ 28]
อ้างอิง
↑ "Star Wars: Episode IX Cast Announced" . StarWars.com . July 27, 2018. สืบค้นเมื่อ November 24, 2018 .
↑ Young, Bryan (December 21, 2015). "The Cinema Behind Star Wars: John Carter" . StarWars.com . สืบค้นเมื่อ September 17, 2018 .
↑ Vallely, Jean (June 12, 1980). "The Empire Strikes Back and So Does Filmmaker George Lucas With His Sequel to Star Wars". Rolling Stone . Wenner Media LLC.
↑ Smith, Kyle (September 21, 2014). "How 'Star Wars' was secretly George Lucas' Vietnam protest" . The New York Post . สืบค้นเมื่อ September 22, 2014 .
↑ Empire of Dreams: The Story of the Star Wars Trilogy (DVD). Star Wars Trilogy Box Set DVD documentary. 2004. 14 นาที.
↑ Empire of Dreams: The Story of the Star Wars Trilogy (DVD). Star Wars Trilogy Box Set DVD documentary. 2004. 16 นาที.
↑ "Starkiller" . Jedi Bendu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ June 28, 2006. สืบค้นเมื่อ March 27, 2008 .
↑ 10.0 10.1 Fleming Jr, Mike (December 18, 2015). "An Architect Of Hollywood's Greatest Deal Recalls How George Lucas Won Sequel Rights" . Deadline Hollywood . สืบค้นเมื่อ November 10, 2017 .
↑ Empire of Dreams: The Story of the Star Wars Trilogy (DVD). Star Wars Trilogy Box Set DVD documentary. 2004. 18 นาที.
↑ "The Real Force Behind 'Star Wars': How George Lucas Built an Empire" . The Hollywood Reporter. February 9, 2012. สืบค้นเมื่อ September 26, 2018 .
↑ "30 pieces of trivia about Star Wars " . BBC. May 23, 2007. สืบค้นเมื่อ May 9, 2014 .
↑ Taylor, Chris (April 13, 2017). "Harrison Ford to George Lucas: You're wrong about Han Solo" . Mashable . สืบค้นเมื่อ December 27, 2018 .
↑ Romano, Steven (August 20, 2015). "Actors Who Almost Appeared in Star Wars" . StarWars.com . สืบค้นเมื่อ August 17, 2019 .
↑ Wilson, Kevin (March 1, 2016). "What If The Original Star Wars Trilogy Was Cast Today?" . ScreenRant . สืบค้นเมื่อ August 17, 2019 .
↑ Chiodaroli, David (May 20, 2019). "10 Behind the Scenes Stories from the Original Star Wars Trilogy" . ScreenRant . สืบค้นเมื่อ August 17, 2019 .
↑ Mitchell, Maurice (May 4, 2018). "9 Greatest Unscripted Moments in "Star Wars" Movie History" . The Geek Twins . สืบค้นเมื่อ August 17, 2019 .
↑ Steranko, "George Lucas", Prevue #42, September–October 1980.
↑ Saporito, Jeff (November 11, 2015). "Why was "Star Wars Episode IV: A New Hope" originally released under another title" . ScreenPrism . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2018-11-18. สืบค้นเมื่อ November 7, 2018 .
↑ "Star Wars" . Rotten Tomatoes . สืบค้นเมื่อ January 25, 2020 .
↑ "Star Wars: Reviews" . Metacritic . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2009-03-01. สืบค้นเมื่อ December 16, 2015 .
↑ "Empire Strikes Back" . Rotten Tomatoes . สืบค้นเมื่อ January 25, 2020 .
↑ "The Empire Strikes Back" . Metacritic . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2009-03-01. สืบค้นเมื่อ December 16, 2015 .
↑ "Return of the Jedi" . Rotten Tomatoes . สืบค้นเมื่อ January 25, 2020 .
↑ "Return of the Jedi" . Metacritic . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2009-03-01. สืบค้นเมื่อ December 16, 2015 .
↑ 1634–1699: McCusker, J. J. (1997). How Much Is That in Real Money? A Historical Price Index for Use as a Deflator of Money Values in the Economy of the United States: Addenda et Corrigenda (PDF) . American Antiquarian Society . 1700–1799: McCusker, J. J. (1992). How Much Is That in Real Money? A Historical Price Index for Use as a Deflator of Money Values in the Economy of the United States (PDF) . American Antiquarian Society . 1800–present: Federal Reserve Bank of Minneapolis. "Consumer Price Index (estimate) 1800–" . สืบค้นเมื่อ January 1, 2020 .
↑ "Star Wars (1977) - Box Office Mojo" . www.boxofficemojo.com .
↑ "Star Wars Episode IV: A New Hope (1977)" . Box Office Mojo . สืบค้นเมื่อ May 15, 2019 .
↑ "The Empire Strikes Back (1980) - Box Office Mojo" . www.boxofficemojo.com .
↑ "Star Wars Episode V: The Empire Strikes Back (1980)" . Box Office Mojo . สืบค้นเมื่อ May 15, 2019 .
↑ "The Empire Strikes Back (1980) - International Box Office Results - Box Office Mojo" . www.boxofficemojo.com .
↑ "Return of the Jedi (1983) - Box Office Mojo" . www.boxofficemojo.com .
↑ "Star Wars: Episode VI – Return of the Jedi (1983)" . Box Office Mojo . สืบค้นเมื่อ May 15, 2019 .