วิภาต บุญศรี วังซ้าย
ศาสตราจารย์ วิภาต บุญศรี วังซ้าย (12 มีนาคม พ.ศ. 2459 – 30 ตุลาคม พ.ศ. 2527) อดีตอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีการเกษตร[1] และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดแพร่ ประวัติวิภาต บุญศรี วังซ้าย เกิดเมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2459 ที่บ้านสันกลาง ตำบลในเวียง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ เป็นบุตรคนที่ 7 ของนายบุญมา(บุตรเจ้ามหาชัย วังซ้าย) และ นางบัวเกี๋ยง วังซ้าย การศึกษาอาจารย์วิภาต จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนพิริยาลัยจังหวัดแพร่ จากนั้นเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2476 และสอบได้เป็นนักเรียนทุนรุ่นแรกของโรงเรียนประถมกสิกรรมฝึกหัดครูภาคเหนือแม่โจ้ ในปี พ.ศ. 2477 การทำงานหลังจากเรียนจบ ในปี พ.ศ. 2479 อาจารย์วิภาต ได้ทำงานที่แผนกยาง กรมเกษตรและการประมง จังหวัดสงขลา ต่อมาได้สอบชิงทุนหลวง (ทุน ก.พ. ในสมัยนั้น) ไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์ ในระดับปริญญาตรีเศรษฐศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2484 และเข้ารับราชการเป็นอาจารย์ที่โรงเรียนประถมกสิกรรมฝึกหัดครูภาคเหนือแม่โจ้ ต่อมาในปี พ.ศ 2489 อาจารย์วิภาต ได้ลาออกจากราชการ เพื่อสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแพร่[2] (ต่อมาเข้าร่วมกับพรรคสหชีพ)[3] และได้ดำรงตำแหน่งเป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2491 มีการยุบสภาผู้แทนราษฎร อาจารย์วิภาตจึงอำลาชีวิตการเมือง ไปเป็นเกษตรกรทำไร่ที่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ในปี พ.ศ. 2497 อาจารย์วิภาต ได้กลับเข้าราชการอีกครั้ง ในตำแหน่งอาจารย์ใหญ่โรงเรียนเกษตรกรรมแม่โจ้ กองโรงเรียนเกษตรกรรม กรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ และได้ทำหน้าที่บริหารสถานศึกษาเรื่อยมาจนได้รับตำแหน่งอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีการเกษตร ในปี พ.ศ. 2518 – พ.ศ. 2526 บั้นปลายชีวิตอาจารย์วิภาต ต้องเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ในช่วงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2527 และได้เสียชีวิตเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2527 สิริรวมอายุ 68 ปี มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 ณ สุสานแม่โจ้ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ การรำลึกถึงศาสตราจารย์ ดร.วิภาตเพื่อน้อมระลึกถึงคุณความดีของศาสตราจารย์ ดร.วิภาต มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จึงได้กำหนดให้วันที่ 30 ตุลาคม เป็นวันวิภาต บุญศรี วังซ้าย มีพิธีทางศาสนาและวางพวงมาลาสดุดีอนุสาวรีย์ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย ที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่ และ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ เป็นประเพณีสืบทอด ตลอดมา เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อ้างอิง
|
Portal di Ensiklopedia Dunia