วินโดวส์ 10 โมบายล์
วินโดวส์ โมบายล์ 10 (อังกฤษ: Windows 10 Mobile) เป็นระบบปฏิบัติการล่าสุดสำหรับแทปเล็ตคอมพิวเตอร์ขนาดพกพาและโทรศัพท์มือถือโดยเฉพาะพัฒนาโดยไมโครซอฟต์ เปิดตัวครั้งแรกในปี 2015 เป็นรุ่นต่อจากวินโดวส์ 8.1, 8 โมบายล์ (วินโดวส์โฟน 8.1, 8) , วินโดวส์โฟน 7.8, 7.5, 7 และ เป็นผู้สืบทอดของ วินโดวส์ 5, 6, 6.5 โมบาย วินโดวส์ 10 โมบายล์ มีเป้าหมายเพื่อให้ระบบปฏิบัติการมีความสอดคล้องกับพีซีมากขึ้น รวมถึงการซิงโครไนซ์เนื้อหาที่กว้างขวางยิ่งขึ้น แอพ Universal Windows Platform รวมถึงความสามารถในการเชื่อมต่อกับจอแสดงผลและการใช้เมาส์และแป้นพิมพ์บนฮาร์ดแวร์ที่รองรับ ไมโครซอฟต์ได้สร้างเครื่องมือสำหรับนักพัฒนาเพื่อพอร์ตแอปอ็อบเจกทีฟ-ซีของไอโอเอสโดยจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนเพียงเล็กน้อย สมาร์ทโฟนวินโดวส์โฟน 8.1 สามารถอัปเกรดเป็นวินโดวส์ 10 โมบายล์ได้ ตามการสนับสนุนจากผู้ผลิตและผู้ให้บริการ[5] คุณสมบัติบางอย่างขึ้นอยู่กับความเข้ากันได้ของฮาร์ดแวร์[6] วินโดวส์ 10 โมบายล์ได้รับการออกแบบมาเพื่อใช้กับสมาร์ทโฟนและแฟบเล็ตที่ทำงานบนสถาปัตยกรรมเออาร์เอ็มแบบ 32 บิต[4] ไมโครซอฟต์ยังตั้งใจที่จะใช้แพลตฟอร์มนี้ใช้กับแท็บเล็ตเออาร์เอ็มที่มีหน้าจอขนาด 9 นิ้วหรือเล็กกว่านั้น แต่อุปกรณ์ดังกล่าวไม่เคยวางจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ วินโดวส์ 10 โมบายล์เข้าสู่เบต้าสาธารณะสำหรับสมาร์ทโฟนลูเมียบางรุ่นในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2015 สมาร์ทโฟนลูเมียเครื่องแรกที่ทำงานโดยวินโดวส์ 10 โมบายล์เปิดตัวเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2015[7] ในขณะที่อุปกรณ์วินโดวส์โฟนที่สามารถอัปเดตได้ ได้อัปเดตเป็นวินโดวส์ 10 โมบายล์เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2016 ตามการสนับสนุนจากผู้ผลิตและผู้ให้บริการ แพลตฟอร์มนี้ไม่เคยได้รับความนิยมหรือส่วนแบ่งการตลาดในระดับที่มีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับแอนดรอยด์หรือไอโอเอส ในปี 2017 ไมโครซอฟต์ได้เริ่มลดการพัฒนาวินโดวส์ 10 โมบายล์ลงเนื่องจากผู้ใช้และนักพัฒนาไม่สนใจในแพลตฟอร์ม การสนับสนุนสำหรับวินโดวส์ 10 โมบายล์ สิ้นสุดในวันที่ 14 มกราคม 2020 วินโดวส์ 10 โมบายล์มีส่วนแบ่งตลาด 0.03% ในเดือนพฤษภาคม 2020[8] อ้างอิง
|
Portal di Ensiklopedia Dunia