รองศาสตราจารย์ วินัย ดะห์ลัน เป็น กรรมการในคณะกรรมการสภาการศึกษา[ 1] กรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสังคม ใน รัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา [ 2] ผู้อำนวยการและผู้ก่อตั้งศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อีกทั้งยังเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปประเทศ ด้านการศึกษา พ.ศ. 2558 หัวหน้าศูนย์วิจัยวิทยาลิพิดและไขมัน คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และประธานหลักสูตรบัณฑิตศึกษานานาชาติ สาขาอาหารและโภชนาการ คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ประวัติ
วินัย ดะห์ลัน เกิดในครอบครัวเชื้อสายชวา ที่กรุงเทพมหานคร บิดาชื่ออิรฟาน ดะห์ลัน และมารดาชื่อซาหระห์ [ 3] ปู่ของเขาคือ อะห์มัด ดะห์ลัน ผู้ก่อตั้งสมาคมมุฮัมมะดิยะฮ์ ซึ่งปัจจุบันถือเป็นองค์กรอิสลามที่ใหญ่เป็นอันดับสองในอินโดนีเซีย วินัย ดะห์ลัน เป็น รองศาสตราจารย์ ระดับ 9 มีส่วนเกี่ยวข้องกับการฝึกอบรมทางวิทยาศาสตร์ โดยมีผลงานวิจัยที่ผ่านการตีพีมพ์มากกว่า 30 บทความทั้งในประเทศและระดับนานาชาติ รวมถึงบทความทางวิทยาศาสตร์และโภชนาการ มากกว่า 2 พันชิ้น และงานเขียนในนิตยสารรายสัปดาห์ 3 ฉบับติดต่อกันมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532 วินัย ดะห์ลัน เป็นหนึ่งใน 500 มุสลิมจากทั่วโลกที่มีชื่อปรากฏในทำเนียบมุสลิมที่มีอิทธิพลต่อโลกมากที่สุด 14 ปีติดต่อกัน [ 4] [ 5] และเป็นหนึ่งใน 16 มุสลิมจากทั่วโลกและมุสลิมไทยคนเดียวที่มีผลงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีส่งผลกระทบต่อโลก
หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 ได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ และเป็น กรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสังคม
การศึกษา
ประวัติการศึกษา
ปริญญาตรี วท.บ. (ชีวเคมี) คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 1972-1976
ปริญญาโท วท.ม. (โภชนศาสตร์) คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล 1980-1982
ปริญญาเอก Docteur en Biologie Medicale Appliqué (grand distinction), Faculty of Medicine and Pharmacy, St-Pierre Hospital, Université Libre de Bruxelles, Brussels, Belgium, 1985-1989
วินัย ดะห์ลัน มีเชี่ยวชาญในด้านลิพิดวิทยา, ชีวเคมีทางการแพทย์, วิทยาศาสตร์ฮาลาล
ประสบการณ์
การบริหารและวิชาการ
ปัจจุบัน
ผู้อำนวยการผู้ก่อตั้ง ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รองประธานกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย
ประธานสถาบันมาตรฐานฮาลาลแห่งประเทศไทย
กรรมการปฏิรูปประเทศด้านสังคม
กรรมการสถาบันศึกษา
รองประธานอนุกรรมการด้านประชาสังคม สภาการศึกษา
หัวหน้า ศูนย์วิจัยวิทยาลิพิดและไขมัน คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ประธานหลักสูตรบัณฑิตศึกษานานาชาติ สาขาอาหารและโภชนาการ คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ด้านสังคม พ.ศ. 2557
สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ด้านการศึกษา พ.ศ. 2558 จนถึง ปัจจุบัน
ประธานจัดงานเมาลิดกลางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 - พ.ศ. 2559
ประธานจัดงานเมาลิดกลางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2560
ประธานจัดงานเมาลิดกลางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2565
อดีต
คณบดี คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2543-2551)
ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเกษตร รองนายกรัฐมนตรี (ดร.ไตรรงค์ สุวรรณคีรี) (2553-2554)
ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (นายกษิต ภิรมย์) (2552-2554)
ที่ปรึกษาคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (2553-2554)
ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายอารีเพ็ญ อุตรสินธุ์) (2540)
คณะกรรมการอาหาร กระทรวงสาธารณสุข
คณะกรรมการแผนและพัฒนาอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
ผู้ทรงคุณวุฒิด้านอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
คณะกรรมการจัดทำข้อกำหนดสารอาหารที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย กระทรวงสาธารณสุข
ที่ปรึกษาโภชนาการ เมนูอาหารพิเศษ การแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 (2541), การแข่งขันกีฬาคนพิการเฟสปิกเกมส์ ครั้งที่ 7 (2542), การชุมนุมลูกเสือโลก ครั้งที่ 20 (2546), กีฬามหาวิทยาลัยโลก ครั้งที่ 24 (2548)
คณะทำงานพัฒนาระบบโลจิสติกส์ฮาลาล กระทรวงพาณิชย์ (2553)
คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพธุรกิจและสินค้าฮาลาล สำนักนายกรัฐมนตรี (2552-54)
คณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล สำนักนายกรัฐมนตรี (2545-48)
คณะกรรมการอิสลามประจำกรุงเทพมหานคร (2542-54)[ 6]
คณะกรรมการบริหารกิจการฮาลาล คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย (2548-50)
คณะกรรมการอำนวยการ สถาบันมาตรฐานอาหารฮาลาล (2548-50)
คณะกรรมการบริหาร สถาบันมาตรฐานฮาลาลแห่งประเทศไทย (2551-53)
คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยอิสลามยะลา (2550-52)
นักวิชาการประจำคณะกรรมาธิการติดตามผลการปฏิบัติตามมติสภาผู้แทนราษฎร (2540-2543)
คณะอนุกรรมาธิการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา (2552-54)
คณะอนุกรรมาธิการศึกษาและติดตามการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา (2547-48)
การสอน
อาจารย์ประจำจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อาจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยมหิดล, มหาวิทยาลัยบูรพา, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า, ครัวการบินไทย ฯลฯ
งานประพันธ์
รางวัล
หนึ่งในห้าร้อยมุสลิมที่มีอิทธิพลต่อโลกมากที่สุดปรากฏในหนังสือ The Muslim 500: The World’s Most Influential Muslims ประจำปี 2010, 2011, 2012, 2013, 2014, 2015, 2016,2017,2018,2019,2020,2021,2022 จัดทำโดย The Royal Islamic Strategic Studies Centre ประเทศจอร์แดน
พ.ศ. 2558 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่ง จตุตถดิเรกคุณาภรณ์
พ.ศ. 2556 - รางวัลนวัตกรรมบริการภาครัฐระดับดีเด่น, สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
พ.ศ. 2555 เมษายน - รับรางวัลสุดยอดนวัตกรรมด้านโลจิสติกส์ฮาลาล ในงาน World Halal Research Summit ประเทศมาเลเซีย
พ.ศ. 2554 เมษายน - รับรางวัลวิจัยชนะเลิศและรางวัลที่ 3 ในงาน World Halal Research Summit ประเทศมาเลเซีย
พ.ศ. 2552 มีนาคม - จัดตั้งศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักงานปัตตานี รับผิดชอบงานในพื้นที่ห้าจังหวัดชายแดนภาคใต้ และ IMT-GT
พ.ศ. 2552 IDCP’s Recognition Award for Halal Achievement จากสภาเผยแพร่ศาสนาอิสลามแห่งฟิลิปปินส์[ 7]
พ.ศ. 2552 ศิษย์เก่าดีเด่นด้านบริหาร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล [ 8]
พ.ศ. 2551 เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา สาขาวิทยาศาสตร์
พ.ศ. 2548 นิสิตเก่าดีเด่น คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พ.ศ. 2549 Halal Journal Award of Best Innovation in Halal Industry ณ ประเทศมาเลเซีย รับจากนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย
พ.ศ. 2544 อาจารย์ดีเด่น ระดับหน่วยงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อ้างอิง
↑ กรรมการในคณะกรรมการสภาการศึกษา
↑ กรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสังคม
↑ Winai Dahlan: Advancing Halal science , Yuliasri Perdani, 8 March 2013, The Jakarta Post
↑ "Winai Dahlan" . สืบค้นเมื่อ 2 February 2015 .
↑ "Winai Dahlan, Founding Director of HSC-CU named in the world's 500 most influential Muslims in 2012" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2 February 2015 .
↑ "ตำแหน่งกรรมการ คณะกรรมการอิสลามประจำกรุงเทพมหานคร" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2012-12-21 .
↑ "ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ ได้รับรางวัลจากฟิลิปปินส์" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2013-02-24. สืบค้นเมื่อ 2012-12-21 .
↑ อาจารย์จุฬาฯ ได้รับรางวัลศิษย์เก่าดีเด่นบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี ๒๕๕๑ [ลิงก์เสีย ]
↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓ เก็บถาวร 2022-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน , เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๑๗, ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน , เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๔๑, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๖๐ เก็บถาวร 2022-12-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน , เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๘ ข หน้า ๓, ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐
↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา ประจำปี ๒๕๕๑ เก็บถาวร 2022-04-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน , เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๙ ข หน้า ๑๒๖, ๑๐ มิถุนายน ๒๕๕๒
↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2022-04-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน , เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๒๑๔, ๑๐ มีนาคม ๒๕๔๗