วิธีการบังคับต่อประเทศอิหร่านหลังจากการปฏิวัติอิหร่านในปี 2522 เป็นต้นมา สหรัฐอเมริกากำหนดวิธีการบังคับต่อประเทศอิหร่านและขยายวิธีการบังคับให้รวมบริษัทห้างร้านที่ทำข้อตกลงกับรัฐบาลอิหร่านด้วยในปี 2538[1] ในปี 2549 คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติผ่านข้อมติที่ 1696[2] และกำหนดวิธีการบังคับหลังอิหร่านไม่ยอมระงับโครงการเสริมสมรรถนะยูเรเนียมของตน วิธีการบังคับของสหรัฐทีแรกมุ่งเป้าไปการลงทุนด้านน้ำมัน แก๊สและปิโตรเคมี การส่งออกผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมกลั่น และธุรกิจที่ทำข้อตกลงกับเหล่าพิทักษ์การปฏิวัติอิหร่าน ซึ่งรวมธุรกรรมการธนาคารและการประกันภัย (ซึ่งรวมถึงธนาคารกลางอิหร่าน) การขนส่งสินค้าทางเรือ บริการเว็บโฮสต์ติงในเชิงพาณิชย์ และบริการจดทะเบียนชื่อโดเมน[3] เมื่อเวลาล่วงไป วิธีการบังคับมีผลร้ายแรงต่อเศรษฐกิจและประชาชนอิหร่าน นับแต่ปี 2522 สหรัฐเป็นผู้นำความพยายามนานาชาติในการใช้วิธีการบังคับเพื่อให้มีอิทธิพลต่อนโยบายของอิหร่าน[4] ซึ่งรวมโครงการเสริมสมรรถนะยูเรเนียมของอิหร่าน ซึ่งรัฐบาลตะวันตกเกรงว่าเจตนาพัฒนาขีดความสามารถเพื่อผลิตอาวุธนิวเคลียร์ อิหร่านตอบโต้ว่าโครงการนิวเคลียร์ของตนเป็นไปเพื่อความมุ่งหมายทางพลเรือน ซึ่งรวมถึงการผลิตไฟฟ้าและวัตถุประสงค์ทางการแพทย์[5] เมื่อการเจรจานิวเคลียร์ระหว่างอิหร่านและรัฐบาลตะวันตกสะดุดและถูกมองว่าล้มเหลว ยิ่งถูกอ้างเป็นเหตุผลการบังคับใช้วิธีการบังคับทางเศรษฐกิจต่ออิหร่านที่หนักข้อขึ้น[6] วันที่ 2 เมษายน 2558 พี5+1 และอิหร่าน ซึ่งประชุมในโลซาน ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ บรรลุความตกลงชั่วคราวเรื่องกรอบซึ่งเมื่อเสร็จสมบูรณ์และนำไปปฏิบัติแล้วจะยกเลิกวิธีการบังคับส่วนมากเพื่อแลกกับการจำกัดโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่านซึ่งกินเวลาอย่างน้อยสิบปี[7][8][9][10] ผลทำให้วิธีการบังคับของสหประชาชาติถูกยกเลิกเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2559 อ้างอิง
|
Portal di Ensiklopedia Dunia