วิกิพีเดีย:คู่มือการเขียน/การเขียนเกี่ยวกับเรื่องแต่ง
วิกิพีเดีย มีหลายบทความที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องแต่ง โลกแห่งนิยาย และองค์ประกอบต่าง ๆ ของนิยาย เมื่อสร้างบทความประเภทนี้ ต้องมีความโดดเด่นที่เกี่ยวข้องกับโลกแห่งความจริง โดยพิจารณาจากเกณฑ์พิจารณาความโดดเด่นทั่วไป ที่ต้องมีแหล่งข้อมูลทุติยภูมิอิสระที่มีความเชื่อถือได้ ถึงจะรับรองว่าบทความมีแหล่งข้อมูลที่แสดงความโดดเด่นที่เพียงพอและข้อเท็จจริงที่ถูกต้องแม่นยำ ถัดไป หากหัวข้อนั้นได้มีการสรุปว่ามีบทความในวิกิพีเดีย ผู้เขียนควรพิจารณาการเขียนและการให้ข้อมูลที่ดีที่สุดอย่างไร ผู้อ่านไม่ควรที่จะต้องได้รับคำอธิบายเพิ่มเติมอีก ว่าเหตุใดจึงแยกบทความมาเช่นนั้นอีก มุมมองโลกความจริงบทความเกี่ยวกับเรื่องแต่งนั้น เช่นเดียวกับทุกบทความในวิกิพีเดีย จะต้องมีอ้างอิงจากโลกความจริงเป็นโครงสร้างพื้นฐานหลัก เขียนเนื้อหาที่อธิบายถึงมุมมองในโลกความจริงของงานเขียนและงานตีพิมพ์ มีความจำเป็นที่ต้องมีข้อมูลทั้งแหล่งอ้างอิงปฐมภูมิและแหล่งอ้างอิงทุติยภูมิ ตัวอย่างการเขียนมุมมองในโลกความเป็นจริง เช่น:
ปัญหาการเขียนในมุมมองโลกที่แต่งขึ้นในมุมมองโลกที่แต่งขึ้น เขียนมุมมองของตัวละครนั้นในโลกที่แต่งขึ้น เขียนราวกับว่าเป็นเรื่องจริงและหลีกเลี่ยงความเป็นจริงและการวิเคราะห์ข้อมูล เป็นจุดเริ่มต้นของการบัญญัติโลกของเรื่องแต่ง ในการพยายามที่จะหาความสำราญหรือสนับสนุนเรื่องลวงจากนิยายดั้งเดิม โดยละเลยต่อข้อมูลในโลกความเป็นจริง ผู้ชื่นชอบวิกิและเว็บไซต์ผู้ชื่นชอบ ต่างหาโอกาสสร้างเรื่องขึ้น สิ่งเหล่านี้ไม่ควรจะใส่เข้าในบทความของวิกิพีเดีย ในมุมมองของโลกแต่งขึ้นนั้น ทำให้เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนและชักนำไปในทางที่ผิด เชื้อเชิญให้เกิดการเขียนข้อมูลแบบงานค้นคว้าต้นฉบับ สิ่งที่สำคัญที่สุด การเขียนในมุมมองโลกที่แต่งขึ้นเป็นการฝ่าฝืนความคิดเห็นส่วนใหญ่ของชุมชน ที่วิกิพีเดียไม่ต้องการให้เป็นเช่นนั้น ปัญหาการเขียนที่เกี่ยวข้องการมุมมองโลกที่แต่งขึ้น:
ข้อมูลปฐมภูมิและข้อมูลทุติยภูมิข้อมูลปฐมภูมิข้อมูลปฐมภูมิ คือข้อมูลที่ได้จากแหล่งข้อมูลต้นฉบับของเรื่องแต่ง เช่น นวนิยายหรือผลงานเขียนดัดแปลงในเรื่องเดียวกัน ถึงแม้จะเข้มงวดการเขียนในโลกแห่งความจริง แต่การเขียนในโลกแต่งก็ควรเขียนด้วย โดยใช้ข้อมูลจากต้นฉบับ ตัวอย่างการให้ข้อมูลปฐมภูมิที่เขียนลงบทความได้:
ข้อมูลทุติยภูมิข้อมูลทุติยภูมิหมายถึงข้อมูลจากนอกโลกที่แต่งขึ้น เป็นแหล่งข้อมูลทุติยภูมิที่กล่าวถึงผลงานการเขียน หรือบรรยายโลกที่แต่งขึ้น หรือแหล่งข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิเกี่ยวกับผู้แต่งและการบรรยายถึงการสร้างสรรค์ผลงาน ส่วนผลงานการตีพิมพ์ เช่น นิตยสารสำหรับแฟน ไม่ถือเป็นแหล่งข้อมูลทุติภูมิที่เหมาะสม อย่างไรก็ตามบางเรื่องราวของการตีพิมพ์ก็อาจเป็นแหล่งอ้างอิงปฐมภูมิหรือทุติยภูมิที่เหมาะสมในบทความได้ กฎพื้นฐาน คือ ใช้แหล่งข้อมูลทุติยภูมิให้มากที่สุดที่จำเป็น และให้ข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อโลกความเป็นจริง ไม่มากไม่น้อยเกินไป อีกกฎหนึ่งคือ หากบทความนั้นมีความโดดเด่น ต้องมีแหล่งอ้างอิงทุติยภูมิในบทความนั้นเรียบร้อยแล้ว ตัวอย่างของการให้ข้อมูลที่มีประโยชน์ จากแหล่งอ้างอิงทุติยภูมิของผลงานต้นฉบับ หรือผลงานปฐมภูมิ และแหล่งข้อมูลทุติยภูมิจากแหล่งข้อมูลอื่นของงานเขียน:
|
Portal di Ensiklopedia Dunia