วัสดุฟิสไซล์วัสดุฟิสไซล์ (อังกฤษ: fissile material) ในวิศวกรรมนิวเคลียร์, หมายถึงวัสดุที่สามารถรักษาปฏิกิริยาลูกโซ่นิวเคลียร์ฟิชชันให้ยั่งยืน. โดยคำนิยาม วัสดุฟิสไซล์สามารถรักษาปฏิกิริยาลูกโซ่ให้ยั่งยืนด้วยนิวตรอนที่มีพลังงานใดๆ. พลังงานนิวตรอนที่เป็นส่วนสำคัญหลักอาจแบ่งออกเป็นหลายชนิดเช่น นิวตรอนช้า(เช่นระบบร้อน) หรือ นิวตรอนเร็ว. วัสดุฟิสไซล์สามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงใน
"ฟิสไซล์"เปรียบเทียบกับ"ฟิชชันได้"ตาม "กฏของฟิสไซล์", สำหรับองค์ประกอบเคมีหนักที่มี 90 ≤ Z ≤ 100, ไอโซโทปของมันที่มี 2 × Z − N = 43 ± 2, ด้วยข้อยกเว้นบางอย่าง, เป็นฟิสไซล์ (เมื่อ N = จำนวนของนิวตรอน และ Z = จำนวนของโปรตอน)[1][2][note 1]. "ฟิสไซล์"ต่างจาก"ฟิชชั่นได้". นิวไคลด์ที่สามารถเกิดฟิชชั่นได้(แม้ว่าจะมีความเป็นไปได้ต่ำ)หลังการจับนิวตรอนพลังงานสูงจะถูกเรียกว่า "ฟิชชั่นได้". นิวไคลด์ที่ฟิชชั่นได้ที่สามารถถูกเหนี่ยวนำให้เกิดฟิชชั่นด้วยนิวตรอนความร้อนพลังงานต่ำที่มีความเป็นไปได้สูงจะถูกเรียกว่า "ฟิสไซล์"[3]. แม้ว่าสองคำนี้แต่เดิมมีความหมายเหมือนกัน, วัสดุที่ฟิชชั่นได้จะรวมถึงพวก(เช่นยูเรเนียม-238)ที่สามารถถูกฟิชชั่นด้วยนิวตรอนพลังงานสูงเท่านั้น. ผลก็คือ, วัสดุฟิสไซล์(เช่นยูเรเนียม-235)เป็นชุดย่อยของวัสดุที่ฟิสชั่นได้.
ฟิชชันเร็วของยูเรเนียม-238 ในขั้นตอนที่สองของอาวุธนิวเคลียร์มีส่วนช่วยอย่างมากใน ผลผลิตอาวุธนิวเคลียร์และในผลร้ายที่ตามมาของนิวเคลียร์. ฟิชชันเร็วของยูเรเนียม-238 ยังทำให้มีส่วนร่วมอย่างมีนัยสำคัญในการส่งออกพลังงานของเครื่องปฏิกรณ์นิวตรอนเร็วอีกด้วย. นิวไคลด์(ที่เป็น)ฟิสไซล์โดยทั่วไป, ไอโซโทป actinide ส่วนใหญ่ที่มี หมายเลขนิวตรอน เป็นเลขคี่จะเป็นฟิสไซล์. เชื้อเพลิงนิวเคลียร์ส่วนใหญ่จะมี หมายเลขมวลอะตอม เป็นเลขคี่ (A = Z + N = จำนวนรวมของ นิวคลีออน), และ หมายเลขอะตอม เป็นเลขคู่ Z. นี่ก็หมายถึงจำนวนนิวตรอนเป็นจำนวนคี่. ไอโซโทปที่มีจำนวนนิวตรอนเป็นจำนวนคี่จะได้รับพลังงานเพิ่มเป็นพิเศษอีก 1-2 MeV จากการดูดซับหนึ่งนิวตรอนที่เกิน, จากผลกระทบการจับคู่ซึ่งชอบพอจำนวนคู่ของทั้งนิวตรอนและโปรตอน. พลังงานนี้ก็เพียงพอที่จะจ่ายพลังงานที่จำเป็นพิเศษสำหรับฟิชชันโดยนิวตรอนที่ช้ากว่า, ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการทำไอโซโทปที่ fissionable ให้เป็น fissile ได้ด้วย. มากกว่าปกติ, นิวไคลด์ที่มีจำนวนโปรตอนเป็นเลขคู่และจำนวนนิวตรอนเป็นเลขคู่, และอยู่ใกล้กับเส้นโค้งที่รู้จักกันดีในฟิสิกส์นิวเคลียร์ของเลขอะตอมเทียบกับจำนวนมวลอะตอมจะมีเสถียรภาพมากกว่าตัวอื่นๆ; ด้วยเหตุนี้, พวกมันมีโอกาสน้อยที่จะทำการฟิชชั่น. พวกมันมีแนวโน้มที่จะ "เพิกเฉย" นิวตรอนและปล่อยให้มันไปในทางของมัน, หรือถ้าไม่, พวกมันจะดูดซับนิวตรอนแต่โดยไม่ได้รับพลังงานที่เพียงพอจากกระบวนการที่จะเปลี่ยนรูปนิวเคลียสพอสำหรับมันในการฟิชชั่น. ไอโซโทปที่เป็น "เลขคู่-เลขคู่" เหล่านี้ยังมีโอกาสน้อยที่จะทำการ ฟิชชันที่เกิดขึ้นเอง (อังกฤษ: spontaneous fission) และพวกมันยังมีครึ่งชีวิตบางส่วน (อังกฤษ: partial half-lives) ค่อนข้างยาวมากสำหรับการสลายตัวของอัลฟาหรือเบต้า. ตัวอย่างของไอโซโทปเหล่านี้คือยูเรเนียม-238 และ ทอเรียม-232. ในทางตรงกันข้าม, นิวเคลียสที่มีจำนวนโปรตอนเป็นเลขคี่และจำนวนนิวตรอนเป็นเลขคี่ (Zคี่, Nคี่) มักจะอายุสั้น (ยกเว้นที่น่าสังเกตคือ เนปทูเนียม-236 ที่มีครึ่งชีวิต 154,000 ปี) เพราะพวกมัน'สลายตัวโดยการปล่อยอนุภาคเบต้า'ได้อย่างง่ายดายกลายเป็น isobars ที่มีจำนวนโปรตอนเป็นเลขคู่และจำนวนนิวตรอนเป็นเลขคู่ (Zคู่, Nคู่), กลายเป็นเสถียรมากขึ้น. พื้นฐานทางกายภาพสำหรับปรากฏการณ์นี้ยังมาจาก'ผลการจับคู่'ในพลังงานผูกพันนิวเคลียร์, แต่คราวนี้จากการจับคู่ทั้งโปรตอน-โปรตอนและนิวตรอน-นิวตรอน. ครึ่งชีวิตที่ค่อนข้างสั้นของไอโซโทปหนักแบบคี่-คี่เช่นนั้นหมายความว่าพวกมันจะมีปริมาณไม่พร้อมให้ใช้ได้ในและพวกมันมีกัมมันตภาพรังสีสูง เชื้อเพลิงนิวเคลียร์เพื่อที่จะเป็นเชื้อเพลิงที่มีประโยชน์สำหรับการเกิดปฏิกิริยาลูกโซ่นิวเคลียร์, วัสดุจะต้อง:
นิวไคลด์ฟิสไซล์ในเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ ได้แก่:
นิวไคลด์ฟิสไซล์ไม่ได้มีโอกาส 100% ของการทำฟิชชันในการดูดซึมของนิวตรอน. โอกาสจะขึ้นอยู่กับนิวไคลด์เช่นเดียวกับพลังงานนิวตรอน. สำหรับนิวตรอนพลังงานระดับต่ำและระดับกลาง, ภาคตัดขวางของการจับนิวตรอนสำหรับการฟิชชัน (σF), ภาคตัดขวางของการจับนิวตรอนด้วยการปล่อยรังสีแกมมา(σγ), และร้อยละของ non-fissions อยู่ในตารางด้านขวา.
กฎหมายควบคุมสำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศได้จัดประเภทวัสดุฟิสไซล์ตามระดับความปลอดภัยในการขนส่ง:[9][10]
ดูเพิ่มอ้างอิง
|
Portal di Ensiklopedia Dunia