วัดปากง่าม (จังหวัดสมุทรสงคราม)
วัดปากง่าม เป็นวัดในพระพุทธศาสนาเถรวาท สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย (ภาค 15) ตั้งอยู่ที่ 8/1 หมู่11 ตำบลกระดังงา อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม 75120 มีความสำคัญในฐานะเป็นวัดที่เป็นศูนย์กลางชุมชนกระดังงา ในการทำกิจกรรมทางศาสนา ประวัติวัดปากง่ามเป็นวัดเก่าแก่ สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ไม่ปรากฏหลักฐานผู้สร้าง คาดว่ามีอายุกว่า 200 ปี มีหลักฐานว่าขอตั้งเป็นวัดเมื่อ พ.ศ. 2305 การคมนาคมสมัยโบราณอาศัยคลองบางน้อย และคลองบางใหญ่ เป็นหลักสำคัญ วัดตั้งอยู่ตรงคลองสามแพร่งของคลองทั้งสอง จึงชื่อ "วัดปากง่าม"จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ซึ่งอายุเกือบ 100 ปีแล้ว เล่าว่า เกิดมาจำความได้ก็เห็นวัดนี้เป็นวัดเก่าๆ ไม่ค่อยเจริญเพราะตั้งอยู่ในสวน บ้านเรือนมีน้อย อุโบสถสร้างมา 3 หลังแล้ว ตั้งอยู่ต่างสถานที่กัน หลัง พ.ศ. 2479 วัดจึงได้เจริญรุ่งเรืองตามลำดับ ทั้งนี้ ด้วยความสามารถของเจ้าอาวาสที่สืบทอดต่อๆ กันมา ประกอบกับชุมชนขยายใหญ่ขึ้น บ้านเรือนหนาแน่นขึ้น ประชาชนมีความศรัทธาในพระพุทธศาสนา วัดจึงมีศาสนสถาน และศาสนวัตถุครบถ้วน มีอุโบสถ และศาลาการเปรียญสวยงาม กุฏิสงฆ์ หอฉัน หอสวดมนต์ทรงไทย ศาลาท่าน้ำ สร้างสะพานข้ามคลองบางน้อย ตลอดจนการศึกษาก็บริบูรณ์ มีโรงเรียนพระปริยัติธรรม และโรงเรียนประถมศึกษา วัดนี้ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. 2501 สิ่งสำคัญของวัดที่ควรชม และนมัสการ ได้แก่ 1. พระพุทธรูปปูนปั้น ปางมารวิชัยพระนามว่า “หลวงพ่อเกษร” เป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์ เข้าประตูอุโบสถแล้วจะแลเห็นท่านยิ้มรับ แต่เมื่อเข้าพิจารณาใกล้ๆ จะแลเห็นพระพักตร์ท่านนิ่งเฉย มีพระอัครสาวกทั้ง 2 นั่งคุกเข่านมัสการท่านอยู่ 2. ภาพผนังอุโบสถแปลกกว่าวัดอื่นๆ คือ วาดเป็นภาพเทวดารักษาทิศทั้ง 8 งดงามมาก 3. ศาลาการเปรียญชั้นบนทรงไทย ภายในมีธรรมาสน์เทศน์ ทรงบุษบกโบราณสามชั้น ฝีมือประณีตงดงามมาก 4. หลวงพ่อแดงหน้าอุโบสถเป็นพระพุทธรูปโบราณศิลาแลง ปางสมาธิ มีความศักดิ์สิทธิ์ 5. พระพุทธรูปหล่อสมัยอู่ทองปางห้ามสมุทร สูง 1 เมตร 20 เซนติเมตร อยู่ที่หอสวดมนต์ 6. เจดีย์โบราณสมัยกรุงศรีอยุธยา หน้าอุโบสถใหม่ สถานที่สร้างอุโบสถเก่าของวัด 7. หอพระไตรปิฎกโบราณ ปัจจุบันเป็นศาลเจ้าแม่แก่นจันทร์อยู่หน้าอุโบสถ 8. ต้นสมอพิเภกอายุกว่า 200 ปี อยู่หลังอุโบสถ บนต้นสมอมีต้นกล้วยไม้ช้างกระขึ้นเป็นกระจุกขึ้นมากมาย ถึงฤดูออกดอก จะบานสะพรั่งเต็มต้น นกเป็นผู้พามาปลูกไว้ ศาสนสถาน
เจ้าอาวาส
อ้างอิง |
Portal di Ensiklopedia Dunia