วัดธรรมามูลวรวิหาร
วัดธรรมามูลวรวิหาร เดิมชื่อ วัดธรรมามูล อยู่เชิงเขาธรรมามูล ริมฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยา ตำบลธรรมามูล อำเภอเมืองชัยนาท จังหวัดชัยนาท เป็นพระอารามหลวง ประวัติพระมหากษัตริย์ในสมัยสุโขทัยทรงสร้างวัดนี้บนเชิงเขาธรรมามูลด้านติดริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา วัดธรรมามูลวรวิหารเป็นวัดโบราณ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป ทองสำริด ชื่อ หลวงพ่อธรรมจักร ปัจจุบันใช้ปูนหุ้มไว้ทั้งองค์ สมัยกรุงศรีอยุธยา มีการบูรณะวัด ความสำคัญน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา หน้าวัดธรรมามูลวรวิหาร น้ำตักที่หน้าวัดธรรมามูลวรวิหาร ใช้ทำเป็นน้ำอภิเษกจากจังหวัดชัยนาท สิ่งสำคัญของวัดนี้ คือ พระพุทธรูปทองสำริด ประทับยืนปางห้ามญาติอันมีนามว่า หลวงพ่อธรรมจักร ศิลปะประยุกต์สมัยเชียงแสนตอนปลายถึงสุโขทัยตอนต้นผสมกับสมัยอยุธยา[1] น้ำอภิเษกจากจังหวัดชัยนาทมีอยู่ 2 แห่ง คือ น้ำตักที่หน้าวัดพระบรมธาตุ และน้ำตักที่หน้าวัดธรรมามูล ประเพณีนมัสการหลวงพ่อธรรมจักร ในวันขึ้น 8 ค่ำ เดือน 6 และวันแรม 8 ค่ำ เดือน 11 ใช้มือตักน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณหน้าวัด ประพรมตัว เพื่อความเป็นสิริมงคล ในงานมีมหรสพสมโภชน์ตามประเพณีนิยมทั่วไป ในอดีตเมื่อมีงานประเพณีนมัสการปิดทองคราวใด จะต้องมีงานแข่งเรือในลำน้ำหน้าวัดด้วย แต่ประเพณีนี้ได้ล้มเลิกไปเมื่อประมาณ พ.ศ. 2505[2] อ้างอิง
|
Portal di Ensiklopedia Dunia