วัดดอนธาตุ
วันดอนธาตุ หรือ วัดเกาะแก้วพระนอนคอนสวรรค์วิเวกพุทธกิจศาสนา เป็นวัดป่าอรัญวาสี สังกัดนิกายเถรวาท คณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย ก่อตั้งวัดเมื่อปี พ.ศ. 2481 โดย พระครูวิเวกพุทธกิจ (เสาร์ กนฺตสีโล) และ พระอาจารย์ดี ฉนฺโน ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 99 ตอนที่ 143 วันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2525 วัดตั้งอยู่บนเกาะดอนธาตุกลางลำแม่น้ำมูล บ้านทรายมูล ตำบลทรายมูล อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี มีเนื้อที่ประมาณ 130 ไร่ ห่างจากตัวอำเภอพิบูลมังสาหาร ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2222 พิบูลฯ - โขงเจียม ประมาณ 6 กิโลเมตร ประวัติวันดอนธาตุ หรือ วัดเกาะแก้วพระนอนคอนสวรรค์วิเวกพุทธกิจศาสนา เดิมเป็นเกาะกลางลำแม่น้ำมูล ชาวบ้านเรียกว่า เกาะดอนธาตุ ตั้งอยู่พื้นที่ระหว่างบ้านทรายมูล ตำบลทรายมูล และบ้านคันไร่ ตำบลคันไร่ อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี เป็นเกาะกลางลำแม่น้ำมูลที่มีสภาพป่าไม้อุดมสมบูรณ์ มีต้นไม้ใหญ่ขึ้นปกคลุมหนาแน่นตามธรรมชาติ ![]() ปี พ.ศ. 2481 หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล พระอาจารย์ดี ฉนฺโน และคณะศิษย์ชาวอำเภอพิบูลมังสาหาร ได้ธุดงค์สำรวจเกาะแก่งน้อยใหญ่ในลำแม่น้ำมูลทางตอนใต้ของเมืองพิบูลมังสาหาร จนมาถึงเกาะดอนธาตุจึงได้ขึ้นพำนักปักกลดที่เกาะแห่งนี้ หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล ได้ปรารภว่าอยากสร้าง เกาะดอนธาตุ แห่งนี้ขึ้นเป็นวัดป่ากรรมฐานเพราะมีความเหมาะสม จึงมอบหมายให้ พระอาจารย์ดี ฉนฺโน และคณะศรัทธาญาติโยมชาวอำเภอพิบูลมังสาหาร รับหน้าที่ดูแลการสร้างวัดและเสนาสนะขึ้น ![]() ปี พ.ศ. 2482 หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล ได้กำหนดเอาตรงลานบริเวณศาลาชั่วคราวในขณะนั้นเป็นที่สร้าง พระพุทธไสยาสน์ (พระนอน) โดยให้เหตุผลว่าตรงที่กำหนดจะสร้างพระนั้นเป็นพระธาตุอังคารพระบรมศาสดาแต่เดิมที่ทรุดลงไปและพังทลายแล้ว จึงได้ให้สร้างพระพุทธรูปปางไสยาสน์ครอบเอาไว้เป็นสัญลักษณ์สำหรับกราบไหว้บูชาต่อไป โดยมี พระอาจารย์ดี ฉนฺโน เป็นช่างปั้น พระพุทธไสยาสน์ (พระนอน) ในครั้งนี้ และต่อมา หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล ได้ตั้งชื่อ เกาะดอนธาตุ แห่งนี้ว่า วัดเกาะแก้วพระนอนคอนสวรรค์วิเวกพุทธกิจศาสนา ครูบาอาจารย์ในสมัยนั้นเรียกสั้นๆว่า วัดเกาะแก้ว ต่อมากรมการศาสนาได้เปลี่ยนชื่อให้เป็น วัดดอนธาตุ ดังปรากฎในปัจจุบัน ![]() ซึ่งในปัจฉิมวัยขององค์หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล ได้พำนักจำพรรษา ณ วัดดอนธาตุ อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี แห่งนี้เป็นวัดสุดท้าย ก่อนที่ท่านจะละสังขาร มรณภาพในอิริยาบถนั่งกราบพระประธานครั้งที่ 3 ภายในพระอุโบสถวัดอำมาตยาราม อำเภอวรรณไวทยากร จังหวัดนครจัมปาศักดิ์ ประเทศไทย ในขณะนั้น (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของแขวงจำปาศักดิ์ ประเทศลาว) เมื่อวันอังคาร แรม 3 ค่ำ เดือน 3 ปีมะเมีย ตรงกับวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2485 สิริอายุ 82 ปี พรรษา 62 คณะศิษย์ได้เชิญศพของท่านกลับมา ณ วัดบูรพาราม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี และได้ทำพิธีฌาปนกิจในวันที่ 15 - 16 เมษายน พ.ศ. 2486 ปี พ.ศ. 2525 ได้รับพระราชทาน วิสุงคามสีมา ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 99 ตอนที่ 143 วันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2525 [1] ปี พ.ศ. 2544 ได้ทำพิธีวางศิลาฤกษ์ เจดีย์พิพิธภัณฑ์ท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล พระปรมาจารย์สายพระกรรมฐาน เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2544 โดยมี ฯพณฯ พลอากาศตรี กำธน สินธวานนท์ องคมนตรี เป็นประธาน ซึ่งเจดีย์มีขนาดฐาน กว้าง 16 เมตร สูง 33 เมตร สัณฐานเจดีย์ รูปทรงเป็นรูปกรวย เอกลักษณ์สถาปัตยกรรมอิสาน ทรงแปดเหลี่ยม หมายถึง มรรคมีองค์แปด อันได้แก่ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ต่อด้วยยอดเจดีย์ หมายถึง นิพพาน เป็นรูปกรวยกลมแหลมปิดด้วยทองอร่ามตาเป็นยอดสูงสุด เหนือสุดมีฉัตรทองปรกองค์พระเจดีย์อันสูงส่ง ควรแก่การสักการบูชา ภายในองค์เจดีย์เป็นห้องพิพิธภัณฑ์ มีแท่นศิลาหินอ่อนสีขาวบริสุทธิ์เป็นที่ประดิษฐานรูปหล่อ หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล มีตู้กระจกแสดงอัฐิธาตุและอัฐบริขารเครื่องใช้ของหลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล ปี พ.ศ. 2546 ได้มีพิธีพุทธาภิเษกและฉลองสมโภช เจดีย์พิพิธภัณฑ์ท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล พระปรมาจารย์สายพระกรรมฐาน ในการนี้ได้เมตตาจากพระเดชพระคุณ พระธรรมวิสุทธิมงคล (บัว ญาณสมฺปนฺโน) เป็นประธานในพิธี เมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2546 ณ วัดดอนธาตุ ตำบลทรายมูล อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ลำดับเจ้าอาวาสนับตั้งก่อตั้งวัดภูเขาแก้ว สำนักวิปัสสนากรรมฐานแห่งนี้ มีเจ้าอาวาสดังรายนามต่อไปนี้
อ้างอิง
|
Portal di Ensiklopedia Dunia