วัดชมชื่น
วัดชมชื่น เป็นโบราณสถานร้างตั้งอยู่ริมแม่น้ำยม นอกเมืองโบราณศรีสัชนาลัย อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ในตำบลศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย กรมศิลปากร ประกาศกำหนดจำนวนโบราณสถานระดับชาติ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 52 ลงวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2478 หน้า 3701 โบราณสถานและโบราณวัตถุจากการขุดค้นทางโบราณคดี พบหลักฐานการตั้งถิ่นฐานบริเวณวัดชมชื่นมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย (ราวพุทธศตวรรษที่ 9) หลักฐานสำคัญที่พบได้แก่ เศษภาชนะดินเผาเนื้อหยาบ ขึ้นรูปด้วยมือ คุณภาพต่ำ หลักฐานมาพบมากขึ้นในสมัยกึ่งก่อนประวัติศาสตร์ถึงสมัยทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 10–16) โดยขุดค้นพบโครงกระดูกมนุษย์ จำนวน 15 โครง[1] สมัยวัฒนธรรมร่วมแบบเขมรถึงสมัยสุโขทัยตอนต้น กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ 17–18 พบหลักฐานเป็นกลุ่มซากโบราณสถานอิฐจำนวน 3 หลัง ชิ้นส่วนกี๋ท่อดินเผา เศษภาชนะดินเผาเนื้อแกร่งไม่เคลือบ เศษภาชนะดินเผาเนื้อแกร่งเคลือบเขียวและกระดูกสัตว์ สมัยวัฒนธรรมสุโขทัยถึงสมัยอยุธยา กำหนดอายุได้ราวพุทธศตวรรษที่ 19–21 ประกอบด้วยเจดีย์และวิหารที่สร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษ 19–20 และได้รับการบูรณะในราวพุทธศตวรรษที่ 21 เจดีย์ทรงกลมก่อด้วยศิลาแลง วิหารตั้งอยู่ด้านหน้าเจดีย์ประธานก่อด้วยศิลาแลงขนาด 6 ห้อง มีมุขยื่นออกมาด้านหน้า ด้านหลังวิหารเชื่อมต่อกับมณฑป คล้ายเป็นห้องทึบอยู่ท้ายวิหาร หลังคาใช้ศิลาแลงก่อเหลื่อมเข้าหากันเป็นรูปจั่วแหลม[2] สมัยวัฒนธรรมอยุธยาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ โบราณวัตถุที่พบส่วนมากเป็นกลุ่มเศษกระเบื้องดินเผาและเศษภาชนะเนื้อกระเบื้องประเภทเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์หมิงถึงชิง ยังพบเหรียญสตางค์และเหรียญบาทปะปนอยู่ในชั้นดิน[3] อ้างอิง![]() วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ วัดชมชื่น
|
Portal di Ensiklopedia Dunia