ลินุกซ์ทะเล
ลินุกซ์ทะเล (อังกฤษ: LinuxTLE) คือชื่อของระบบปฏิบัติการที่เป็นการแจกจ่ายลินุกซ์ที่พัฒนาต่อมาจากอูบุนตูโดยเพิ่มความสามารถภาษาไทย พัฒนาโดยเนคเทค โดยรุ่นล่าสุดคือ ลินุกซ์ทะเล 10 รหัสว่า "อ่าวนาง" เป็นลินุกซ์ทะเลรุ่นสุดท้าย ทำมาเพื่อที่เน้นการใช้งานสำหรับผู้ใช้ทั่วไป ทั้งการใช้ที่บ้าน ที่สำนักงาน ในสถานศึกษา สำหรับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ทั้งคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะและคอมพิวเตอร์พกพา จากนั้นลินุกช์ทะเลได้ยุติการพัฒนาลง ด้วยการมาของ LinuxMint ที่ปัจจุบันสามารถใช้งานภาษาไทยได้อย่างเต็มรูปแบบ ชื่อ TLE ย่อมาจากคำว่า Thai Language Extension ที่หมายถึงส่วนขยายภาษาไทย เพื่อบอกให้ทราบว่าเป็นชุดเผยแพร่ลินุกซ์ที่เน้นการใช้งานภาษาไทย โดยชื่อเรียก "ทะเล" นั้นเกิดจากการลากเข้าความในภายหลัง เพื่อให้ออกเสียงได้ง่าย และมีลักษณะความเป็นไทยแฝงอยู่ ประวัติลินุกซ์ทะเล เดิมพัฒนาโดยอาสาสมัครกลุ่ม TLWG[2] และได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่าง โดยในอดีตใช้ชื่อ MaTEL (Mandrake and Thai Extension Linux) MaTEL 6.0 ได้ออกมาในรูปซีดีในเดือนกรกฎาคม 2542 ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อจาก MaTEL เป็น Linux-TLE (ลินุกซ์ทีแอลอี) เพื่อแยกออกมาจากส่วนของแมนเดรก (ปัจจุบันคือ แมนดริวา) และออกรุ่น 6.01 และ 6.1 ในเดือนกันยายน 2542 โดยนอกจากเผยแพร่ในรูปซีดีแล้ว ยังมีการให้ดาวน์โหลดจากเว็บไซต์เนคเทคเอง และในปี พ.ศ. 2543 ทางเนคเทคได้รับมาเป็นผู้พัฒนาและเผยแพร่หลัก และได้ชื่อไทยว่า ลินุกซ์ทะเล โดยมีสัญลักษณ์เป็นรูปโลมา ในรุ่น 3.0 จนถึงปัจจุบัน ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2547 ลินุกซ์ทะเลได้รับการยกย่องให้เป็นดิสโทรยอดเยี่ยมประจำสัปดาห์จากเว็บไซต์ดิสโทรวอตช์[3] ลินุกซ์ทะเลพัฒนาเป็นรุ่น ลินุกซ์ทะเล 10.0 "อ่าวนาง" รุ่นของลินุกซ์ทะเลรุ่นพัฒนาของลินุกซ์ทะเล[4]
ลินุกซ์ทะเล 10.0 "อ่าวนาง"เป็นลินุกซ์ทะเลรุ่นสุดท้าย พัฒนาถึง LinuxTLE 10.0 "Aownang" (อ่าวนาง) (กันยายน พ.ศ. 2553) โดยเป็นการพัฒนาต่อจากฐานลินุกซ์ Ubuntu 10.04 เช่นเดียวกับรุ่น 9.0 หลังจากนั้นลีนุกซ์ทะเลได้ยุติบทบาทลง โดยคนไทยกลุ่มหนึ่งเข้าร่วมการสนับสนุน LinuxMint แทน ทำให้ปัจจุบัน LinuxMint สามารถใช้ภาษาไทยได้อย่างเต็มรูปแบบและถูกนำมาใช้แทน แอปพลิเคชันหลักในลินุกซ์ทะเล 10.0
คุณสมบัติใหม่
สิ่งที่แตกต่างจากรุ่นที่แล้ว
อ้างอิง
ดูเพิ่มแหล่งข้อมูลอื่น
|
Portal di Ensiklopedia Dunia