รูปแบบเภสัชภัณฑ์[1] รูปแบบเภสัชภัณฑ์ (อังกฤษ: Dosage form) คือรูปแบบทางกายภาพของสารประกอบทางเคมีที่นำมาใช้เป็นยา สารเคมีแต่ละกลุ่มที่นำมาใช้เป็นยานั้นมีการออกฤทธิ์และส่งผลต่อร่างกายแตกต่างกัน ดังนั้นจึงต้องมีการคิดค้นรูปแบบเภสัชภัณฑ์เพื่อให้ยาออกฤทธิ์ได้ตรงกับบริเวณเป้าหมายอย่างมีประสิทธิผลสูงสุด โดยต้องคำนึงถึงความปลอดภัยและความถูกต้องตามเภสัชตำรับ หลักเกณฑ์การจำแนกในทางเภสัชกรรมมีการจำแนกรูปแบบเภสัชภัณฑ์ต่างๆ โดยอาจใช้ลักษณะในการจำแนกได้มากกว่าหนึ่งลักษณะ อาทิ ลักษณะทางกายภาพของเภสัชภัณฑ์ ซึ่งประกอบด้วย ยาเตรียมประเภทของเหลว (Liquid Dosage Forms), ยาเตรียมประเภทของแข็ง (Solid Dosage Form), ยาเตรียมประเภทกึ่งแข็ง (Semisolid Dosage Form), ยาเตรียมประเภทอื่นๆ (Miscellaneous Dosage Form) ลักษณะการนำตัวยาสู่ร่างกาย ประกอบด้วย ปาก (Oral), สูดดม (Inhalational), ฉีด (Parenteral Injection), ยาใช้ภายนอก (Topical) และยาเหน็บ (Suppository) เป็นต้น ยาเตรียมประเภทของเหลวยาเตรียมประเภทของเหลวยังนำมาจัดจำแนกตามลักษณะการละลายน้ำและยาประเภทกระจายตัวอีกดังต่อไปนี้ ยาน้ำสารละลายตัวทำละลายที่ใช้น้ำ
ตัวทำละลายที่ไม่ใช้น้ำยาน้ำกระจายตัวกระจายผงยาแขวนลอยผงยาที่ไม่ละลายน้ำ
ยาเตรียมประเภทของแข็งใช้จำนวนแบ่งส่วนยาใช้ภายนอก
ยาใช้ภายใน
ใช้จำนวนมากยาใช้ภายใน
ยาใช้ภายนอก
ยาเตรียมประเภทกึ่งของแข็ง
ยาเตรียมประเภทอื่นๆ
แหล่งข้อมูลอื่นอ้างอิง
|
Portal di Ensiklopedia Dunia