รางวัลพุทธคุณูปการรางวัลพุทธคุณูปการ เป็นรางวัลเกียรติยศของสภาผู้แทนราษฎรไทย ที่มอบให้แก่บุคคล หรือหน่วยงานที่ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา เพื่อแสดงความกตัญญู และยกย่องทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา รางวัลนี้มอบโดยการกลั่นกรองจากคณะอนุกรรมาธิการการของรัฐสภา ซึ่งถือว่าเป็นตัวแทนของปวงชนชาวไทย เป็นเครื่องหมายหนึ่งที่แสดงถึงการให้ความสำคัญแก่พระพุทธศาสนาในประเทศไทยและความสำคัญของรางวัลนี้ ที่มอบให้แก่ผู้ทุ่มเททั้งกายและใจ ทั้งพระสงฆ์ บุคคลทั่วไป และองค์กร ที่มีความตั้งใจ ทุ่มเท เสียสละ และอุทิศชีวิตเพื่อพระพุทธศาสนา[1][2] ผู้ควรแก่รางวัลจะได้รับมอบโล่รางวัลพุทธคุณูปการ พร้อมด้วยประกาศเกียรติคุณจากประธานสภาผู้แทนราษฏร และประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช ณ สถานที่ วันและเวลาตามแต่สภาผู้แทนราษฏรจะกำหนด ความเป็นมาของการมอบรางวัลพุทธคุณูปการการคัดเลือกผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนารางวัลพุทธคุณูปการ เริ่มในปี พ.ศ. 2552 ซึ่งเป็นปีแรกของการคัดเลือก และได้มีพิธีมอบในวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2552[3] ในปีแรก มีผู้ได้รับโล่รางวัลพุทธคุณูปการทั้งพระสงฆ์ บุคคลทั่วไป และองค์กร จำนวนทั้งหมด 293 รางวัล แบ่งเป็น รางวัลพุทธคุณูปการประเภทวัชรเกียรติคุณ มีพระสงฆ์ได้รับรางวัล จำนวน 3 รูป ประเภทบุคคล จำนวน 3 คน ประเภทองค์กร จำนวน 1 องค์กร, รางวัลพุทธคุณูปการประเภทกาญจนเกียรติคุณ มีพระสงฆ์ได้รับรางวัลจำนวน 46 รูป ประเภทบุคคล จำนวน 24 คน ประเภทองค์กร จำนวน 7 องค์กร, รางวัลพุทธคุณูปการประเภทรัชตเกียรติคุณ มีพระสงฆ์ได้รับรางวัลจำนวน 120 รูป ประเภทบุคคล จำนวน 66 คน และประเภทองค์กรจำนวน 23 องค์กร การพิจารณามอบรางวัลพุทธคุณูปการรางวัลพุทธคุณูปการ เป็นรางวัลเกียรติยศที่คณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร พิจารณามอบให้แก่ผู้ที่ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา เพื่อส่งเสริมยกย่องคุณความดีและประกาศเกียรติคุณแด่บุคคล องค์กร และหน่วยงาน ที่บำเพ็ญประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนาให้ปรากฏแก่พุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป เป็นแบบอย่างแก่สังคม เพื่อเป็นเกียรติ เป็นกำลังใจ และเป็นการแสดงกตัญญูต่อ ผู้ตั้งใจทุ่มเทในบำเพ็ญประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา ผู้มีศีลาจารวัตรอันดีงาม จนเป็นที่ประจักษ์แก่บุคคลทั่วไปว่าไม่มีประวัติด่างพร้อยและสมควรแก่การยกย่อง และ เป็นผู้ธำรงไว้ซึ่งความเป็นพุทธศาสนทายาทหรือเป็นต้นแบบของพุทธบริษัทที่ดี ซึ่งได้ผ่านการเสนอชื่อการพิจารณาคัดเลือกกลั่นกรองจากที่ประชุมคณะอนุกรรมาธิการกิจการพระพุทธศาสนา ใน คณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร และการอนุมัติจากที่ประชุมคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร[4] ประเภทของการคัดเลือกผู้สมควรได้รับรางวัลพุทธคุณูปการจากประกาศคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์การคัดเลือกบุคคลเข้ารับรางวัลพุทธคุณูปการ พ.ศ. 2552 คณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฏร ได้แบ่งประเภทการคัดเลือกออกเป็น 3 ระดับ คือ
นอกจากนี้ ยังมีการมอบใบประกาศเกียรติคุณพุทธคุณูปการแก่พระเถรานุเถระผู้ดำรงตำแหน่งสังฆาธิการสำคัญ ๆ ด้วย ซึ่งไม่นับเข้าในระดับรางวัลดังกล่าวข้างต้น แต่เป็นการมอบถวายเพื่อเป็นการยกย่องและแสดงความกตัญญูในฐานะผู้ปฏิบัติหน้าที่ปกครองในทางคณะสงฆ์และธำรงไว้ซึ่งสถาบันพระพุทธศาสนา ดูเพิ่มอ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|
Portal di Ensiklopedia Dunia