ระบบถนนอินคา
ระบบถนนอินคา หรือ คาปักญัน (เกชัว: Qhapaq Ñan;[note 1] "ถนนหลวง")[1] เป็นระบบขนส่งที่ครอบคลุมและก้าวหน้าที่สุดในอเมริกาใต้สมัยก่อนโคลัมบัส มีความยาวอย่างน้อย 40,000 กิโลเมตร (25,000 ไมล์)[2]: 242 การสร้างถนนต้องใช้เวลาและความพยายามอย่างมาก[3]: 634 เครือข่ายประกอบด้วยถนนทางการ[4] ที่มีการวางแผน สร้าง ทำเครื่องหมาย และบำรุงรักษาอย่างรอบคอบ มีการปูถนนในกรณีที่จำเป็น มีบันไดขึ้นระดับความสูง สะพาน และสิ่งปลูกสร้างเสริม เช่น กำแพงกันดินและระบบระบายน้ำ มีถนนหลักสองสายวางตัวในแนวเหนือ-ใต้: สายหนึ่งเลียบชายฝั่งและสายที่สองและสำคัญที่สุดอยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดินและบนภูเขา ทั้งสองมีถนนสายย่อยเชื่อมต่อกันมากมาย[5] สามารถเปรียบเทียบได้โดยตรงกับโครงข่ายถนนที่สร้างขึ้นในจักรวรรดิโรมัน แม้ว่าระบบถนนของอินคาจะได้รับการสร้างขึ้นในอีกหนึ่งพันปีให้หลัง[6] ระบบถนนอนุญาตให้มีการขนถ่ายข้อมูลข่าวสาร สินค้า ทหาร และบุคคลโดยไม่ต้องใช้ล้อภายในจักรวรรดิอินคาที่มีอาณาเขตครอบคลุมเกือบ 2,000,000 km2 (770,000 sq mi)[7] และมีผู้อาศัยอยู่ประมาณ 12 ล้านคน[8] ริมถนนมีอาคารตั้งอยู่เป็นช่วง ๆ เพื่อให้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ในระยะทางสั้น ๆ มีสถานีเปลี่ยนกะสำหรับ ชัสกี หรือผู้ส่งสารด้วยการวิ่ง ในช่วงเวลาเดินหนึ่งวันจะมี ตัมปู เป็นจุดรับรองผู้ใช้ถนนและฝูงยามาที่บรรทุกสัมภาระ ศูนย์บริหารที่มีคลังสินค้าสำหรับการกระจายสินค้าจะตั้งอยู่ตามแนวถนน ไกลออกไปทางเขตแดนของจักรวรรดิอินคาและในพื้นที่ที่ถูกพิชิตใหม่จะมี ปูการา ("ป้อมปราการ") ตั้งอยู่[1] เครือข่ายถนนส่วนหนึ่งสร้างขึ้นโดยวัฒนธรรมที่มาก่อนจักรวรรดิอินคา ที่โดดเด่นคือวัฒนธรรมวารีในเปรูตอนเหนือตอนเหนือและวัฒนธรรมตีวานากูในโบลิเวีย[1] องค์กรต่าง ๆ (เช่น ยูเนสโก, ไอยูซีเอ็น) ได้ทำงานเพื่อปกป้องเครือข่ายถนนโดยร่วมมือกับรัฐบาลและประชาคมของ 6 ประเทศ (โคลอมเบีย เอกวาดอร์ เปรู โบลิเวีย ชิลี และอาร์เจนตินา) ซึ่งถนนตัดผ่าน ในสมัยปัจจุบัน ถนนอินคาถูกใช้งานอย่างหนักจากการท่องเที่ยว เช่น เส้นทางอินคาสู่มาชูปิกชูซึ่งเชื่อมโอยันไตตัมโบเข้ากับมาชูปิกชูและเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่นักเดินทางไกล หมายเหตุ
อ้างอิง
|
Portal di Ensiklopedia Dunia