รอยนูนรอบฮิปโปแคมปัส
![]() รอยนูนรอบฮิปโปแคมปัส (อังกฤษ: parahippocampal gyrus) เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า รอยนูนฮิปโปแคมปัส (อังกฤษ: hippocampal gyrus[1] เป็นเขตเนื้อเทา ในคอร์เทกซ์เปลือกสมอง (cerebral cortex) ที่อยู่รอบๆ ฮิปโปแคมปัส เขตในสมองนี้มีความสำคัญในการเข้ารหัสความจำ (memory encoding) และการค้นคืนความจำ (memory retrieval) สมองเขตนี้เกี่ยวข้องกับบางกรณีของคนไข้ที่มีภาวะฮิปโปแคมปัสแข็ง (hippocampal sclerosis)[2] ในคนไข้โรคจิตเภท (schizophrenia) เขตสมองนี้ในซีกสมองทั้งสองข้างมีขนาดไม่เท่ากัน[3] ขอบเขตและส่วนย่อยศัพท์ว่า คอร์เทกซ์รอบฮิปโปแคมปัส (parahippocampal cortex) หมายถึงเขตที่ครอบคลุมทั้ง รอยนูนรอบฮิปโปแคมปัสด้านหลัง[4] และส่วนกลางของรอยนูนรูปกระสวย (fusiform gyrus) บทบาทหน้าที่การรู้จำสถานที่เขตสถานที่รอบฮิปโปแคมปัส (อังกฤษ: parahippocampal place area, ตัวย่อ PPA) เป็นเขตย่อยในคอร์เทกซ์รอบฮิปโปแคมปัสที่มีบทบาทสำคัญในการเข้ารหัสและรู้จำสถานที่ (เปรียบเทียบกับการเข้ารหัสและรู้จำใบหน้าหรือวัตถุอื่นๆ) งานวิจัยด้วย fMRI แสดงว่า เขตสถานที่มีระดับการทำงานสูงเมื่อมนุษย์ผู้รับการทดลองดูภาพเกี่ยวข้องกับภูมิลักษณ์ (ลักษณะของภูมิประเทศ) เช่นภาพทิวทัศน์ของภูมิประเทศ ภาพทิวทัศน์ของเมือง หรือว่าภาพของห้องต่างๆ เขตสถานที่นี้ถูกพรรณนาโดยรัสเซลล์ เอ็ปสไตน์ (ปัจจุบันอยู่ที่มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย) และแนนซี แคนวิชเชอร์ (ปัจจุบันอยู่ที่สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์) ในปี ค.ศ. 1998[5] สนับสนุนโดยงานวิจัยที่คล้ายๆ กันของเจ็ฟฟรีย์ แอ็กกวายร์[6][7] และอลูมิต อิไช[8] คนไข้ที่มีความเสียหายใน PPA (เช่นเนื่องจากโรคหลอดเลือดสมอง) มักมีอาการที่ไม่สามารถรู้จำภูมิลักษณ์ แม้ว่าจะสามารถรู้จำวัตถุต่างๆ ในภูมิลักษณ์นั้นได้ (เป็นต้นว่าบุคคล เฟอร์นิเจอร์ และอื่นๆ) PPA มักถูกพิจารณาว่าเป็นเขตคู่กันกับเขตใบหน้าในรอยนูนรูปกระสวย (อังกฤษ: fusiform face area, ตัวย่อ FFA) ซึ่งเป็นเขตสมองที่อยู่ใกล้ๆ กันที่ตอบสนองอย่างมีกำลังเมื่อเห็นหน้า และเป็นเขตสมองที่เชื่อว่ามีความสำคัญต่องการรู้จำใบหน้า การเข้าใจสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับสังคมงานวิจัยอื่นจากที่กล่าวมาแล้วเพิ่มความเป็นไปได้ว่า รอยนูนรอบฮิปโปแคมปัสทางสมองซีกขวามีหน้าที่ยิ่งไปกว่าการรู้จำภูมิลักษณ์ การทดลองที่ทำโดยกลุ่มนักวิจัยในรัฐแคลิฟอร์เนีย นำโดยแคเทอริน แรงกิน แสดงว่า รอยนูนอาจจะมีบทบาทสำคัญในการระบุสถานการณ์รวมๆทางสังคม (social context) ด้วย รวมทั้งการสื่อสารนอกเหนือคำพูด (ปรลักษณ์ภาษา) เมื่อมีการพูดคุยกัน[9] ตัวอย่างเช่น งานวิจัยของแรงกินเสนอว่า รอยนูนรอบฮิปโปแคมปัสทางสมองซีกขวา ทำให้สามารถจับคำพูดประชดเหน็บแหนม (sarcasm) ได้ รูปอื่นๆ
อ้างอิงและหมายเหตุ
แหล่งข้อมูลอื่นๆวิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ รอยนูนรอบฮิปโปแคมปัส
[[หมวดหมู่::ซีรีบรัม]] [[หมวดหมู่::ประสาทกายวิภาคศาสตร์]] [[หมวดหมู่::รอยนูน]] |
Portal di Ensiklopedia Dunia