ยักษ์ (ภาพยนตร์)
ยักษ์ (อังกฤษ: Yak: The Giant King) เป็นภาพยนตร์แอนิเมชันสัญชาติไทยผลงานร่วมทุนสร้างระหว่าง บริษัท สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด, บริษัท บ้านอิทธิฤทธิ์ จำกัด, บริษัท ซูเปอร์จิ๋ว จำกัด และดำเนินงานสร้างโดย บริษัท เวิร์คพอยท์ พิคเจอร์ส จำกัด ผลงานกำกับของนาย ประภาส ชลศรานนท์ ศิลปินแห่งชาติ ร่วมกับ เอ็กซ์- ชัยพร พานิชรุทติวงศ์ ได้แรงบันดาลใจมาจาก วรรณคดี เรื่องรามเกียรติ์ มานำเสนอในรูปแบบของแอนิเมชันหุ่นยนต์ ประวัติรามเกียรต์ หรือ รามายณะ มหากาพย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในบรรดาวรรณกรรมเอเชีย ภาพการขับเคี่ยวที่พิสดารอลังการของฝ่ายพลับพลากับฝ่ายกรุงลงกา เส้นขนานของธรรมะและอธรรมรามและทศกัณฐ์ จึงเป็นขั้วที่ไม่เพียงยืนหยัด อยู่คนฝ่าย แต่ยังเป็น ศัตรูคู่อาฆาตที่ต้องฟาดฟันกันให้แหลกลาญ “คนที่เป็นศัตรูกันต้องต่อสู้กันตลอดไปจริงหรือ?” กี่พันปีมาแล้วที่ทศกัณฐ์และพระรามเป็นศัตรูกัน กี่พันปีมาแล้วที่ทหารเอกของพระรามอย่างหนุมานต้องทำหน้าท่าปราบอธรรมให้สิ้นซาก คำถามนี้คือ จุดเริ่มต้นของภาพยนตร์แอนิเมชั่น “ยักษ์” โดย “ประภาส ชลศรานนท์” โดยภาพยนตร์เรื่องนี้เริ่มดำเนินการสร้างเมื่อ ปี พ.ศ. 2549 แล้วเสร็จและฉายในเดือน ตุลาคม พ.ศ. 2555 รวมระยะเวลาสร้าง 6 ปี[2] เรื่องย่อหลังสงครามอันยิ่งใหญ่ระหว่างหุ่นกระป๋อง ฝ่ายราม กับ หุ่นยักษ์ ฝ่ายทศกัณฐ์จบลงแบบล้างเผ่าพันธุ์ปล่อยทิ้งให้สนามรบกลายเป็นเพียงสุสานซาก เศษโลหะและเป็นขุมทรัพย์ให้กับบรรดาหุ่นค้าของเก่า และแล้วเรื่องราวมิตรภาพและการเดินทางผจญภัยของเจ้าหุ่นยนต์ 2 ตัวที่ดูๆ ไปแล้วไม่มีสิ่งใดที่จะเหมือนกันสักนิดเดียวก็ได้เริ่มต้นขึ้นในอีกหลายล้าน วันต่อมา เจ้าหุ่นตัวหนึ่งใหญ่ยักษ์สมร่างชื่อ “น้าเขียว” บ่งบอกตามลักษณะสีอันเป็นเอกลักษณ์ ดูน่าเกรงขาม กับ “เจ้าเผือก” หุ่นกระป๋องมินิตัวเล็กประเมินจากสภาพจากพวกค้าหุ่นยนต์เก่าบอกได้คำเดียว ว่าไร้ราคา แต่กลับกลายเป็นว่าเจ้าหุ่น2ตัวต่างตื่นขึ้นมาจากการถูกขุดขึ้นพร้อมกับ สภาวะหน่วยความจำเสื่อม ไม่จำอดีตไม่รู้อนาคต แถมยังมีโซ่พิเศษที่ตัดเท่าใดก็ตัดไม่ขาดผูกล่ามติดกัน หนำซ้ำงานนี้พอทั้งคู่ตื่นขึ้นมาก็ อาละวาดจนเมืองขายของเก่ากระเจิดกระเจิงราบเป็นหน้ากลอง ทำให้ทั้งคู่ต้องหนีและกลายเป็นร่วมผจญภัยไปด้วยกันอย่างไม่มีทางเลือก ทีแรกดูเผินๆต่างฝ่ายต่างเป็นส่วนเกินของกันและกัน แต่ตลอดการเดินทางกลับมีเรื่องราวหลากหลายเกิดขึ้นทำให้ทั้งคู่กลายเป็น ฮีโร่โดยไม่รู้ตัว สร้างความผูกผันให้กับทั้งน้าเขียวและเจ้าเผือกก่อเกิดเป็นมิตรภาพที่ทำให้ ส่วนเกินกลายแปรเปลี่ยนเป็นส่วนเติมเต็มสิ่งที่ขาดหายไปของทั้งคู่ และจนวันหนึ่งที่พวกเขาพร้อมจะเป็นเพื่อนสนิทด้วยความเต็มใจ กลับเป็นวันที่ต้องรู้ว่า แท้จริงแล้วตัวตนของพวกเขาคือใคร หน้าที่และภารกิจที่ได้รับมอบหมายจะต้องดำเนินต่อไป ทำให้ต้องเลือกระหว่าง มิตรภาพกับหน้าที่ ว่าสิ่งใดสำคัญกว่ากัน[3] แก่นของเรื่องแก่นเรื่องของภาพยนตร์แอนิเมชั่น “ยักษ์” ที่ผู้กำกับแฝงแง่คิดไว้ภายใต้ความสนุกสนาน รอให้ค้นหาความหมาย อาจเป็นประตูสู่ความหมายเร้นลับที่โลกซ่อนไว้ว่า แท้จริงแล้ว มนุษย์ เกิดมาเพื่อสิ่งใด ซึ่งสิ่งนั้นอาจเป็นกลไกขับเคลื่อนโลกสู่วิวัฒนาการต่างๆมากมายมานับล้านปี อาจเป็นพลังยักษ์ในตัว อาจเป็นการควบคุมพลังยักษ์ให้อยู่ในทางที่ดี หรือ อาจเป็นหน้าที่ เฉกเช่นดวงอาทิตย์ทำหน้าที่ให้พลังงานแสงและความร้อนอย่างซื่อสัตย์ หรือ ที่จริงอาจเป็นเพียงแค่เปิดใจเพื่อเรียนรู้สื่งใหม่ เพื่อต้อนรับมิตรภาพและความรักที่สร้างสันติภาพสู่โลก[2] ตัวละคร
ผู้ให้เสียงพากย์
การสร้างภาพยนตร์ชุดนี้ได้มีการเตรียมการสร้างกว่า 5 ปี โดยสตูดิโอบ้านอิทธิฤทธิ์ โดยมีทีมสร้าง 28 คน[5] ซึ่งได้มีการเสก็ตช์ภาพ และสร้างหุ่นขึ้น โดยกำหนดเนื้อเรื่องหนุมาน และทศกัณฐ์ ที่เกิดใหม่ในปางที่สิบล้านเอ็ดในรูปแบบของหุ่นยนต์[6] การเปิดตัวชัยพร พานิชรุทติวงศ์ ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้กำกับได้เปิดเผยว่าต้องการสื่อให้ทราบว่าเป็นการ์ตูนไทย จึงมีการใส่ธงชาติไทยให้ปรากฏอยู่ในตัวอย่างชุดแรกของภาพยนตร์ จากนั้นจึงมีตัวอย่างภาพยนตร์ชุดใหญ่ตามมาในภายหลัง และภาพยนตร์ชุดนี้ได้รับการเปิดตัวที่เมืองคานส์ และมีหลายประเทศให้ความสนใจ ส่วนในประเทศไทยได้มีการจัดฉายในเดือนตุลาคม เนื่องด้วยตรงกับช่วงปิดเทอม[6] การตอบรับยักษ์ ได้รับการตอบรับในเชิงบวกจากพงศ์สุข หิรัญพฤกษ์ โดยกล่าวถึงภาพยนตร์เรื่องนี้ว่า แม้ธีมภายนอกจะมีลักษณะที่คล้ายกับภาพยนตร์เรื่องโรบอทส์ หากแต่เนื้อเรื่องมีความแตกต่างกันเป็นอย่างมาก อีกทั้งมีส่วนที่น่าทึ่งอยู่ในภาพยนตร์ชุดนี้อยู่หลายส่วน เช่น เสาเที่ยงวัน ชื่อพระรามที่เรียกว่า RAM สดายุ รวมไปจนถึงส่วนหัวของทศกัณฐ์ ตลอดจนการออกแบบตัวละครที่มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง และการแสดงกราฟิกส์พื้นผิวของหุ่นยนต์ที่มีความละเอียดละออ[5] นักวิจารณ์ภาพยนตร์จากเดลินิวส์ ยกย่องในการนำเสนอเรื่องราวที่แม้ผู้ที่ไม่รู้จักเรื่องรามเกียรติ์มาก่อนก็สามารถทำความเข้าใจกับภาพยนตร์เรื่องนี้ได้ไม่ยาก รวมถึงความละเอียดของฉากที่สมจริง เพลงประกอบภาพยนตร์ที่ไพเราะ และหุ่นยนต์ที่มีลักษณะที่คล้ายกับผู้ให้เสียงพากย์ ซึ่งภาพยนตร์ชุดนี้ยังได้รับการจัดฉายที่ประเทศรัสเซีย และเกาหลีใต้ด้วยเช่นกัน[7] และนักวิจารณ์จากสยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ ยังได้ยกย่องการสร้างภาพยนตร์ดังกล่าวในฐานะภาพยนตร์ที่มีความเทียบเท่าภาพยนตร์ฮอลลีวูดด้วยเช่นกัน[1] เพลงประกอบภาพยนตร์ภาพยนตร์ "ยักษ์" มีจุดเด่นอีกอย่างคือ ดนตรีและเพลงประกอบภาพยนตร์ โดย จักรพัฒน์ เอี่ยมหนุน เป็นผู้สร้างสรรค์ดนตรีประกอบภาพยนตร์ ส่วนเพลงประกอบภาพยนตร์ คือเพลง "เกิดมาเป็นเพื่อนเธอ" นั้นได้ แสตมป์ อภิวัชร์ เอื้อถาวรสุข เป็นผู้แต่ง และขับร้องโดย กลุ่มศิลปิน รูมเธอร์ตีไนน์[6] อ้างอิง
แหล่งข้องมูลอื่น |
Portal di Ensiklopedia Dunia