มีนเยละจอ
มีนเยละจอ[note 1] (อังกฤษ: Minyè Hlakyaw[1]) หรือมีนเยมีนละจอ[note 2] (อังกฤษ: Minyèminhlakyaw[2]) ทรงเป็นเมียวหวุ่น[3]แห่งเชียงใหม่ภายใต้การปกครองของพม่า ระหว่างปี พ.ศ. 2207 ไทยสากล[note 3] - พ.ศ. 2210 ไทยสากล พระประวัติมีนเยละจอมีพระนามเดิมว่า เน-มโยซานจอ[note 2] (อังกฤษ: Némyo Sankyaw) เป็นพระโอรสในมังรายกะยอฉะวาแห่งซะกุ๊ พระราชอนุชาและพระมหาอุปราชาในพระเจ้าตาลูน และคีนอีนพโย[note 2] (อังกฤษ: Khin In Phyo) หลานสาวของยานดะปยิซี[note 2] (อังกฤษ: Yandapyitsi) พระองค์ทรงอภิเษกสมรสกับ คีนจเวะพยู[note 2] (อังกฤษ: Khin Kywet Phyu) หรือที่รู้จักในพระนามโตนดะรี[note 2] (อังกฤษ: Thondari) ผู้เป็นพระขนิษฐาต่างพระมารดา[2] เจ้าชายแห่งเมียวดีเน-มโยซานจอทรงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าชายแห่งเมียวดี[note 4]โดยพระเจ้าปีนดะเล การพิชิตหมิงของชิงทำให้กองทัพราชวงศ์หมิงใต้บุกเข้าสู่พม่าเพื่อปล้นสะดมในปี พ.ศ. 2202 ไทยสากล[4] เน-มโยซานจอทรงเป็นหนึ่งในแม่ทัพผู้นำกองทัพเข้าสกัดกั้นการรุกคืบในเดือนเมษายน พ.ศ. 2202 ไทยสากล แต่ถูกกองทัพหมิงตีแตกไป[2] จนในที่สุดกองทัพหมิงเข้าโจมตีกรุงอังวะในเดือนพฤษภาคม ความล้มเหลวในการต่อต้านกองทัพจีนเป็นสาเหตุหนึ่งที่นำไปสู่การปลดพระเจ้าปีนดะเลออกจากราชสมบัติในปี พ.ศ. 2204 ไทยสากล หลังจากพระเจ้าปเยกษัตริย์พระองค์ใหม่ขึ้นครองราชย์ พระองค์พระราชทานราชทินนาม มีนเยละจอ ให้แก่เน-มโยซานจอแห่งเมียวดีในวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2204 ไทยสากล เมียวหวุ่นแห่งเชียงใหม่ความวุ่นวายในพม่าทำให้อาณาจักรอยุธยาเข้ายึดครองเมืองเชียงใหม่ในปี พ.ศ. 2206 ไทยสากล และกวาดต้อนผู้คนกลับไป ซึ่งรวมถึงพญาแสนหลวงผู้รักษาเมืองเชียงใหม่ในขณะนั้น การต่อต้านจากคนในพื้นที่ทำให้กองทัพอยุธยาตัดสินใจทิ้งเมืองเชียงใหม่ในปี พ.ศ. 2207 ไทยสากล เมื่อทางเชียงใหม่แจ้งข่าวต่อพระเจ้าปเย พระองค์จึงทรงแต่งตั้งให้มีนเยละจอเป็นเมียวหวุ่นแห่งเชียงใหม่ในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2207 ไทยสากล และให้นำกำลังคนไปฟื้นฟูบ้านเมือง[2] มีนเยละจออาจเป็นบุคคลเดียวกับเจ้าฟ้าแม่กุที่ถูกกล่าวถึงในปี พ.ศ. 2208/2209 ไทยสากล (จ.ศ. 1027) โดยราชวงศาพื้นเมืองเชียงใหม่ ต้นฉบับใบลานวัดเชียงมั่น[5]ดังนี้
เนื้อหาที่คล้ายคลึงกันมีปรากฏอยู่ในพงศาวดารเชียงใหม่ ต้นฉบับใบลานวัดพระสิงห์เมืองเชียงราย[6] แต่ระบุเป็นปี พ.ศ. 2308/2309 ไทยสากล (จ.ศ. 1127) ในระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2210 ไทยสากล มีรายงานว่า มีนเยละจอวางแผนต่อต้านกษัตริย์พม่า พระเจ้าปเยจึงมีพระราชโองการให้สืบสวนจนได้ความว่าเป็นความจริง มีนเยละจอจึงถูกปลดจากตำแหน่งเมียวหวุ่นและถูกส่งไปยังโม่ญี่น ในเดือนเดียวกัน เจ้าฟ้าแห่งโม่ญี่น[note 5]ได้รับการแต่งตั้งให้ปกครองเชียงใหม่[1][2] บั้นปลายในระหว่างเดือนธันวาคม พ.ศ. 2215 ไทยสากล ถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2216 ไทยสากล มีรายงานว่า เน-มโยซานจอซึ่งถูกส่งไปโม่ญี่นส่งจดหมายจำนวนมากไปหาพระชายาของพระองค์ เน-มโยซานจอจึงถูกย้ายจากโม่ญี่นไปยังมีนกีน[note 2] (อังกฤษ: Mingin) หลังจากนั้นพระองค์ก็ถูกปลงพระชนม์[2] พงศาวลี
หมายเหตุ
อ้างอิง
|
Portal di Ensiklopedia Dunia