มะแข่น
มะแข่น (ชื่อวิทยาศาสตร์: Zanthoxylum limonella Alston) ชื่อพื้นเมืองอื่น ๆ คือ มะกรูดตาพราหมณ์ (นครราชสีมา); กำจัดต้น, พริกหอม, หมากมาศ (กรุงเทพฯ); มะข่วง, มะแขว่น, บ่าแข่น (ภาคเหนือ); มะแข่น (ไทสิบสองปันนา); มะแขว่น (ลาว); ลูกระมาศ (ภาคกลาง); หมักข่วง (แม่ฮ่องสอน); มะเข่น, มะแข่สะ (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)[1] (ไทยถิ่นเหนือ: ต้นและกิ่งเป็นหนาม ใบเป็นใบประกอบมีใบย่อย 6–8 คู่ ก้านใบสีแดง ใบย่อยรูปไข่หรือรูปรี ปลายแหลม ต้นที่เก็บเกี่ยวผลผลิตได้จะมีอายุตั้งแต่ 3–15 ปี ผลค่อนข้างกลมผลเล็ก ๆ ขนาดผลพริกไทย ผิวขรุขระ สีเขียว มีกลิ่นฉุน คล้ายกลิ่นเมล็ดผักชียี่หร่า ผลแก่เปลือกหุ้มเมล็ดสี แดง แก่จัดสีดำ ออกผลเดือนกันยายนถึงธันวาคม เมล็ดกลม ๆ ดำเป็นมัน ใช้เปลือกผลผสมชูรสอาหาร ใช้รากและเนื้อไม้ เป็นยาขับลมในลำไส้ ลดความดัน เป็นยาขับโลหิตระดูของสตรี[2] ผลเป็นยาบำรุงหัวใจ บำรุงโลหิต บำรุงธาตุ[3] พบมากหรือปลูกมากในเขตพื้นที่ หมู่บ้านผาสิงห์ บ้านผาหลัก บ้านปางส้าน บ้านยอด ตำบลยอด อำเภอสองแคว จังหวัดน่าน เทศกาลมะแข่นถือได้ว่าเป็นพืชเศรษฐกิจอันดับต้น ๆ ของตำบลยอด ทางเทศบาลตำบลยอดจะมีการจัดงาน "วันมะแข่นหอมรสดี ชมวิถีชนเผ่า" ขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยจะจัดในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนของทุกปี ในงานจะมีการออกร้านแสดงสินค้าพื้นเมือง และสินค้าที่แสดงถึงภูมิปัญญาชาวบ้านในตำบล ชมการแห่ขบวนรถบุปผชาติ การแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน การประกวดธิดามะแข่น ร่วมชิมอาหารพื้นเมืองที่มีมะแข่นเป็นส่วนประกอบฟรี การเลี้ยงรับรองแขกผู้มีเกียรติแบบขันโตก และพบกับการแสดงมหรสพอีกมากมาย โดยงาน "วันมะแข่นหอมรสดี ชมวิถีชนเผ่า" ถือว่าเป็นอีกงานประเพณีสำคัญ ที่ได้รับการบรรจุอยู่ในปฏิทินท่องเที่ยวของจังหวัดน่าน[4] อ้างอิง
|
Portal di Ensiklopedia Dunia