พิพิธภัณฑ์โบราณคดีพุกาม
พิพิธภัณฑ์โบราณคดีพุกาม (อังกฤษ: Bagan Archaeological Museum) เป็นพิพิธภัณฑ์โบราณคดีและประวัติศาสตร์ในเมืองพุกาม ประเทศพม่า สร้างขึ้นในปี 1904[1] ตั้งอยู่ใกล้กับอานานดาพะย่า มีการก่อสร้างใหม่ในปี 1938 ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง โบราณวัตถุได้ถูกนำไปฝังใต้ดินเพื่อป้องกันการถูกทำลาย ในปี 1952 หลังพม่าได้รับเอกราช กระทรวงวัฒนธรรมได้เริ่มเข้าบริหารพิพิธภัณฑ์ อาคารพิพิธภัณฑ์มีความสูงสามชั้นและเก็บรักษาวัตถุโบราณของพุกามที่สำคัญมากมาย รวมถึง จารึกเมียเซดี ซึ่งเรียกกันว่าเป็นศิลาโรเซตตาของพม่า[3][4][5] ประวัติศาสตร์ในปี 1901 ผู้ว่าการใหญ่แห่งอินเดียเดินทางถึงพุกามเพื่อป้องกันการทำลายสิ่งปลูกสร้างและวัตถุโบราณทางศาสนา ศาสตราจารย์ด้านภาษาบาลีประจำวิทยาลัยย่างกุ้ง เอมานูเอล ฟอร์ชแฮมเมอร์ ได้รับมอบหมายให้ดูแลหน้าที่ในส่วนนี้ ในปี 1902 Taw Sein Ko หัวหน้าแผนกจารึกและศิลา (ปัจจุบันคือแผนกโบราณคดี) ได้รวบรวมศิลาจารึกและโบราณวัตถุจากรอบพุกาม ต่อมาได้สร้างพิพิธภัณฑ์ขนาดเล็กขึ้นทางเหนือของอานานดาพะย่าในปี 1904 เพื่อจัดแสดงวัตถุเหล่านี้[6] ในปี 1994 หัวหน้าคณะรัฐประหาร นายพลต้านชเว ขณะเดินทางเยือนพุกาม ได้เสนอการก่อสร้างพิพิธภัณฑ์ขนาดใหญ่ขึ้นในพุกาม พิพิธภัณฑ์หลังใหม่เปิดในปี 1998 ข้อมูลจากรายงานของรัฐ พิพิธภัณฑ์มียอดเข้าชมอยู่ที่ 295,284 คน ในระหว่างปีงบประมาณ 2018-2019[2] อ้างอิง
![]() วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ พิพิธภัณฑ์โบราณคดีพุกาม |
Portal di Ensiklopedia Dunia