พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิมลฉัตร
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิมลฉัตร (27 มิถุนายน พ.ศ. 2464 - 5 ธันวาคม พ.ศ. 2552) เป็นพระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน กับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประภาวสิตนฤมล พระประวัติพระประวัติช่วงต้นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิมลฉัตร มีพระนามลำลองว่า พระองค์หญิงตุ๊[1] เป็นพระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน กับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประภาวสิตนฤมล ประสูติเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2464 พระองค์เจ้าวิมลฉัตรมีพระโสทรเชษฐาและพระโสทรเชษฐภคินีรวม 3 พระองค์ ได้แก่
นอกจากนี้ พระองค์เจ้าวิมลฉัตรยังมีพระภคินีและพระอนุชาต่างมารดาอีก 8 องค์ ได้แก่ ท่านผู้หญิงฉัตรสุดา วงศ์ทองศรี, หม่อมเจ้ากาญจนฉัตร สุขสวัสดิ์, หม่อมเจ้าภัทรลดา ดิศกุล, หม่อมเจ้าสุรฉัตร ฉัตรชัย, เฟื่องฉัตร ดิศกุล, หิรัญฉัตร เอ็ดเวิร์ดส, หม่อมเจ้าทิพยฉัตร ฉัตรชัย และหม่อมเจ้าพิบูลฉัตร ฉัตรชัย เสกสมรสพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิมลฉัตรเสกสมรสกับ นาวาโท หม่อมเจ้าอุทัยเฉลิมลาภ วุฒิชัย พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร และหม่อมเจ้าพร้อมเพราพรรณ วุฒิชัย มีพระโอรสธิดาสองคน ได้แก่:
สิ้นพระชนม์พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิมลฉัตรทรงเข้ารักษาพระอาการประชวรที่โรงพยาบาลพระรามเก้า ตั้งแต่วันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2552 ก่อนสิ้นพระชนม์ด้วยภาวะติดเชื้อในกระแสพระโลหิตขั้นรุนแรง และพระวักกะวายเฉียบพลัน ในช่วงเช้าของวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2552 สิริพระชันษา 88 ปี[2] พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานน้ำหลวงสรงพระศพ ณ ศาลาภาณุรังษี วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร ในการนี้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปสรงพระศพในวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2552 และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระโกศราชวงศ์ ทรงรับพระศพไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์โดยตลอด พร้อมพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรม 7 คืน ในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2552 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ (ต่อมาเป็น ท่านผู้หญิงศรีรัศมิ์ สุวะดี) เสด็จไปทรงสดับพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมพระศพ ณ ศาลาภาณุรังษี วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร ในวันต่อมา พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ เสด็จไปทรงสดับพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมพระศพ ณ ศาลาภาณุรังษี วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร ต่อมาในวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ เสด็จไปทรงบำเพ็ญพระกุศลประทานในการออกพระเมรุพระศพ ณ ศาลาภาณุรังษี วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร และในวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ในการพระราชทานเพลิงพระศพ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส โดยมี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ โดยเสด็จด้วย พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิมลฉัตรเป็นพระอนุวงศ์ชั้น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า ที่ดำรงพระชนม์ชีพอยู่เป็นพระองค์สุดท้ายในขณะนั้น หลังจากนั้น พระอิสริยยศนี้ได้เว้นว่างไปเป็นเวลา 15 ปี จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2567 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ สถาปนา หม่อมเจ้าเฉลิมศึก ยุคล ขึ้นเป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคล การทรงงานพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิมลฉัตรทรงปฏิบัติพระกรณียกิจในด้านต่าง ๆ ตลอดระยะเวลาหลายปี ดังนี้
พระกรณียกิจพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิมลฉัตร ทรงดำรงตำแหน่งสำคัญในองค์การและมูลนิธิต่าง ๆ ที่มุ่งพัฒนาสังคมและช่วยเหลือผู้ยากไร้ เป็นองค์ประธานและกรรมการที่ปรึกษาในหลายมูลนิธิและองค์การ โดยทรงปฏิบัติพระกรณียกิจอย่างต่อเนื่องเพื่อประโยชน์สุขของส่วนรวม ดังนี้
พระเกียรติยศ
พระอิสริยยศ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
พระเกียรติคุณที่ได้รับ
พงศาวลีอ้างอิง
|
Portal di Ensiklopedia Dunia