พระมงคลวุฒ (เครื่อง สุภทฺโท)
พระมงคลวุฒ (หลวงปู่เครื่อง สุภทฺโท) เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญยก ได้เข้าฝากตัวเป็นศิษย์กับท่านเจ้าคุณ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กรุงเทพมหานครเพื่อศึกษาปฏิบัติสมถวิปัสสนากัมมัฏฐานวิชชาธรรมกาย, อดีตเจ้าอาวาสวัดสระกำแพงใหญ่รูปที่ 7,ผู้ก่อตั้งและผู้มีคุณูปการต่อวิทยาลัยสงฆ์ศรีสะเกษ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ประวัติพระมงคลวุฒ (หลวงปู่เครื่อง สุภทฺโท)ท่านมีนามเดิมว่า เครื่อง นามสกุลประถมบุตร เกิดเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2453 ณ บ้านค้อกำแพง (ปัจจุบันคือ บ้านหนองแปน) หมู่ที่ 3 ตำบลสระกำแพงใหญ่ อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ เป็นบุตรของนายสอน และ นางยม ประถมบุตร มีพี่น้องร่วมบิดามารดาทั้งหมด 14 คน ท่านเป็นบุตรคนที่ 4 แต่พี่น้องเสียชีวิตไปในวัยเยาว์ 6 คน คงเหลืออยู่เพียง 8 คน ต่อมาเมื่อวัยเยาว์ตอนอายุได้ 8 ปี ท่านได้ศึกษาเล่าเรียนภาษาไทย กับลุงเกษ ประถมบุตร ซึ่งเป็นลุงแท้ ๆ ของท่าน ซึ่งเป็นครูสอนอยู่กับบ้านตอนเย็นหรือตอนกลางคืนเวลาว่าง ๆ เท่านั้น ครั้นต่อมาเมื่อมีอายุได้ 15 ปี ท่านก็ได้เข้าเรียนที่โรงเรียนรัฐบาลที่วัดสระกำแพงใหญ่ และมีพี่น้องของท่านได้เข้าไปเรียนหนังสือพร้อมกันถึง 3 คน แต่ว่าไม่มีใครช่วยพ่อแม่ทำเกษตรกรรมหรือเลี้ยงสัตว์ โยมพ่อจึงให้พี่น้องพลัดกันไปเรียนคนละวัน ต่อมาหลวงปู่จึงได้ตัดสินใจมเล่าเรียนที่โรงเรียนคนเดียว ท่านเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ชั้นยประถมศึกษาปีที่ 2 ท่านเรียนได้ครึ่งปี รัฐบาลก็มีกำหนดใหม่เปลี่ยนแปลง ต่อมาท่านก็ออกมาช่วยพ่อแม่ทำงานเลี่ยงชีพ รับผิดชอบในหน้าที่ทุกอย่างของผู้หญิง เสียสละช่วยเหลืทอพ่อแม่ทุกอย่างทั้งงานบ้านและงานเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม [1] ต่อมาเมื่อมีอายุได้ 21 ปี ท่านได้ตัดสินใจอุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อปี พ.ศ. 2474 ณ พัทธสีมาอุโบสถวัดสำโรงน้อย หมู่ 6 ตำบลหนองห้าง อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ โดยมีพระครูเทวราชกวีวรญาณ (จูม ธฺมมทีโป) เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์ใบฎีกาชม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์พรหมมา เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “สุภทฺโท” ซึ่งแปลว่า “ผู้ประพฤติงาม” [2] และหลังจากอุปสมบทแล้ว โยมมารดาได้ล้มป่วยหนักและเสียชีวิตลง ต่อมาเมื่ออกพรรษา ญาติพี่น้องได้พูดขอร้องให้หลวงพ่อสึกออกมา หลวงพ่อท่านก็ยังไม่ตกลงใจ ก่อนที่จะสึกออกมา โยมพ่อของท่านบอกให้ท่านเป็นพระสงฆ์ต่อไป เพราะ ถึงอย่างไหนท่านก็ช่วยน้องไม่ได้ จงแสวงหาทางพ้นทุกข์เถิด [3] ต่อมาท่านตัดสินใจเดินทางไปวัดทุ่งไชยเพื่อไปศึกษาเล่าเรียนคัมภีร์มูลกัจจายน์ เป็นเวลา 2 เดือน ก่อนเดินทางต่อไปที่วัดบ้านยางใหญ่ ตำบลเมืองแคน อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ ฝากตัวเป็นศิษย์กับพระอุปัชฌาย์สาย เจ้าอาวาส เพื่อขอเรียนบาลีและคัมภีร์มูลกัจจายน์ พระอุปัชฌาย์สาย เอ็นดูลูกศิษย์คนนี้มาก ด้วยผลการเรียนเป็นที่น่าพอใจ ท่านเรียนได้ดี ทั้งในการแปลภาษาบาลีเป็นประโยคคล่องแคล่วและใส่สัมพันธ์ด้วย เริ่มตั้งแต่การสนธิ เป็นต้นไป จนกระทั่งท่านได้สามารถสอบได้นักธรรมชั้นตรีในปี พ.ศ. 2479 และได้สอบนักธรรมชั้นโทเมื่อปี พ.ศ. 2480 และต่อมาในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2480 ท่านได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดพงพรต ท่านได้ดำรงตำแหน่งอยู่ 10 ปี ก็พ้นจากตำแหน่งเมื่อปี พ.ศ. 2494 และย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่วัดสระกำแพงใหญ่ เมื่อปี พ.ศ. 2495 พร้อมกับได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสระกำแพงใหญ่ รูปที่ 7 [4] ศึกษาธรรมจากพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) กระทั่งถึงปี พ.ศ.๒๔๙๔ เดินทางเข้ากรุงเทพมหานคร ไปขอเรียนวิชาธรรมกายจากหลวงพ่อเจ้าคุณ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ตั้งใจทำสมาธิประพฤติแนววิชาธรรมกายอยู่ ๓ วัน ก็อำลาจากไป หลวงพ่อสด จนฺทสโร ถึงกับประกาศในหมู่ศิษย์ของท่านว่า หลวงปู่เครื่อง สุภทฺโทได้บรรลุวิชาธรรมกายแล้วอำลาจากไป จากนั้นท่านก็ตั้งใจปฏิบัติสมาธิกัมมัฏฐานตามป่า ถ้ำ ภูเขา อีกหลายแห่งด้วยความมุ่งมั่นมานะพยายามอย่างเต็มที่ ได้พบภาพนิมิตต่างๆ มากมาย เป็นงูบ้าง เป็นเสือบ้าง เป็นช้างบ้าง จะเข้ามาทำร้าย ซึ่งเป็นภาพนิมิตประหลาดๆ พิกลพิการไม่เคยเห็นมาก่อน แต่ท่านไม่กลัวไม่หวาดหวั่น ควบคุมสติพิจารณา พยายามตีความด้วยปัญญา สามารถรู้ไปถึงอริยสัจธรรมแก่นแท้ได้ ช่วงปัจฉิมวัย หลังจากได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสท่านก็เปิดสอนพระปริยัติธรรม และได้พัฒนาวัดสระกำแพงใหญ่ รวมทั้งเป็นประธานก่อสร้างอาคาร วิทยาลัยสงฆ์ศรีสะเกษ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เกิดขึ้นที่วัดสระกำแพงใหญ่ และได้พัฒนาสร้างพัฒนาวัด เมรุ ศาลา กุฏิ ต่อมาท่านได้อาพาธเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลศรีสะเกษเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม และย้ายมารักษาตัวที่โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี จนกระทั่งได้ละสังขารด้วยอาการสงบเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 รวมสิริอายุได้ 98 ปี บวชพระมาได้ 77 พรรษา ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดพงพรตได้ 10 ปี ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสระกำแพงใหญ่ได้ 56 ปี[5]
อ้างอิง
|
Portal di Ensiklopedia Dunia