พระครูพิพัฒนิโรธกิจ (ปาน)
พระครูพิพัฒนิโรธกิจ หรือ หลวงพ่อปาน เป็นอดีตเจ้าอาวาสวัดมงคลโคธาวาส (วัดบางเหี้ย) และพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงจากการสร้างเขี้ยวเสือแกะ[1] ประวัติหลวงพ่อปาน เป็นชาวตำบลบางเหี้ย (ตำบลคลองด่านในปัจจุบัน) เกิดปี พ.ศ. 2368 เป็นบุตรคนที่ 3 ของนายปลื้มกับนางตาล มีเชื้อสายจีนทั้งสองคน เมื่อโตขึ้นได้เรียนหนังสือที่วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร แล้วบวชเป็นสามเณรโดยมีพระศรีสากยบุตร (เซ่ง) เป็นพระอุปัชฌาย์ แต่ภายหลังได้ลาสิกขาบทเพื่อกลับมาช่วยทำงานหาเลี้ยงครอบครัว จนอายุครบ 20 ปี จึงอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดอรุณราชวราราม โดยมีพระศรีสากยบุตร (เซ่ง) เป็นพระอุปัชฌาย์ ไม่ปรากฏฉายาแน่ชัด (บ้างว่าติสฺสโร บ้างว่าอคฺคปญฺโ ในการพระราชพิธีฉัตรมงคล ร.ศ. 120 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้เลื่อนเป็นพระครูสัญญาบัตรที่พระครูพิพัฒนิโรธกิจ มีนิตยภัตราคาเดือนละ 6 บาท พัดยศเป็นตาลปัตรพุดตานพื้นกำมะหยี่ขาวหักทองขวาง ท่านมาไม่ทันงานพระราชพิธี จึงโปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงธรรมการส่งสัญญาบัตร ไตร และพัดยศไปพระราชทาน[2] พระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว "เรื่องเสด็จประพาสมณฑลปราจีน" เมื่อ ร.ศ. 127 เพื่อตรวจเยี่ยมการสร้างประตูชลประทานคลองบางเหี้ย ทรงเล่าว่าได้พบพระครูปาน เนื้อความในพระราชหัตถเลขาว่า[3] (อักขรวิธีตามพระราชหัตถเลขา)
พระครูพิพัฒนิโรธกิจ อาพาธเป็นฝีในคอ มรณภาพเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2453[4] เวลา 22:45 นาที ถึงวันอาทิตย์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2454 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้เจ้าพนักงานส่งหีบเพลิงไปพระราชทานเพลิงศพ และพระราชทานเงิน 1,000 สตางค์ ผ้าขาวพับ 2 พับ[5] อ้างอิง
|
Portal di Ensiklopedia Dunia