พรรคกล้า
พรรคกล้า เป็นพรรคการเมืองที่จดทะเบียนก่อตั้งเมื่อวันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2563 โดยมีนายกรณ์ จาติกวณิช และนายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี เป็นหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรคคนแรก[2] ต่อมาในวันเสาร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2563 ในการประชุมใหญ่สามัญครั้งที่ 1/2563 ที่ประชุมมีมติให้แก้ไขข้อบังคับพรรคโดยให้เปลี่ยนแปลงที่ทำการพรรคมาอยู่ที่ 86/12 ถนนรัชดาภิเษก แขวงจันทรเกษม เขตจตุจักร ซึ่งเป็นที่ทำการพรรคในปัจจุบัน[3] จากนั้นในวันเสาร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2565 ในการประชุมใหญ่สามัญครั้งที่ 1 ทางพรรคได้เปิดตัวนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุอดีตรองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจเข้ามาเป็นประธานยุทธศาสตร์ของพรรค[4] จากในวันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2565 นายกรณ์ได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคทำให้ต้องพ้นจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคทำให้คณะกรรมการบริหารพรรคต้องพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะก่อนจะย้ายไปสมัครเป็นสมาชิกพรรคชาติพัฒนาพร้อมกับนายกอร์ปศักดิ์[5][6] ในวันพุธที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2565 ในการประชุมใหญ่สามัญครั้งที่ 2 ได้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่จำนวน 7 คนโดยได้นายจีระยุทธ วีรวงศ์ และนางสาวสุดารัตน์ กิ่งนอก เป็นหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรคคนใหม่[7] ซึ่งพรรคกล้าได้จัดประชุมใหญ่สามัญ ครั้งที่ 1/2567 รวมถึงประชุมสาขาพรรคในวันอาทิตย์ที่ 28 เมษายน 2567 ณ ที่ทำการพรรค พร้อมกับเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่จำนวน 9 คน คณะกรรมการบริหารพรรคชุดที่ 1 (7 มีนาคม 2563 - 1 กันยายน 2565)
ชุดปัจจุบัน (21 กันยายน 2565 – 28 เมษายน 2567)ในการประชุมใหญ่สามัญครั้งที่ 2 ได้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่จำนวน 7 คนประกอบด้วย
การเลือกตั้งพรรคกล้าส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้งครั้งแรกคือการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราช เขต 3 แทนตำแหน่งที่ว่าง พ.ศ. 2564 ซึ่งทางพรรคได้ส่งนายสราวุฒิ สุวรรณรัตน์ ลงสมัครรับเลือกตั้งโดยได้มีการเปิดตัวเมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2564[8] ซึ่งนายสราวุฒิได้คะแนนทั้งสิ้น 6,216 คะแนน ไม่ได้รับเลือกตั้ง[9] ต่อมาใน การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชุมพร เขต 1 แทนตำแหน่งที่ว่าง พ.ศ. 2565 พรรคกล้าได้ส่ง พันตำรวจเอก ทศพล โชติคุตร์ ลงสมัครรับเลือกตั้ง[10] ในระหว่างกาหาเสียง ทศพลถูกก่อกวนการหาเสียงถึงสองครั้ง[11] หนึ่งในนั้นมีการยิงปืนใส่รถหาเสียงอีกด้วย ซึ่งทศพลได้คะแนนทั้งสิ้น 7,492 คะแนน ไม่ได้รับเลือกตั้ง ใน การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขต 9 แทนตำแหน่งที่ว่าง พ.ศ. 2565 พรรคได้ส่ง อรรถวิชช์ สุวรรณภักดี ลงสมัครรับเลือกตั้งซ่อม เนื่องจากอรรถวิชช์เคยเป็น สส. ในพื้นที่ดังกล่าว[12] ซึ่งอรรถวิชช์ได้คะแนนเป็นอันดับสาม รวมทั้งสิ้น 20,047 คะแนน ไม่ได้รับเลือกตั้ง[13] ใน การเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2565 พรรคกล้าส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งตำแหน่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร 12 คน และได้ประกาศอีกว่า พร้อมสนับสนุนผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ ที่สนับสนุนนโยบายของพรรค[14] แต่ได้คะแนนรวมเพียง 53,332 คะแนน และไม่มีผู้สมัครคนใดได้รับเลือกตั้ง อ้างอิง
แหล่งข้อมูล |
Portal di Ensiklopedia Dunia