ฝูงแผ่นดินไหว![]() ![]() ![]() ฝูงแผ่นดินไหว (อังกฤษ: Earthquake swarm) เป็นลำดับของเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นนานเป็นวัน เป็นเดือน หรือเป็นปี ซึ่งแตกต่างจากแผ่นดินไหวธรรมดาซึ่งจะเกิดในเวลาอันสั้นเท่านั้น การปลดปล่อยพลังงานของฝูงแผ่นดินไหวจะมีขนาดเล็กถึงปานกลางหรือใกล้เคียงกัน ต่างจากแผ่นดินไหวหลักที่จะมีเมนช็อกเกิดขึ้นก่อนแล้วตามมาด้วยอาฟเตอร์ช็อกตามมาเป็นชุด ๆ แต่ฝูงแผ่นดินไหวนั้นจะคล้ายกับอาฟเตอร์ช็อกจากแผ่นดินไหวหลักมากเพียงแต่จะไม่มีแผ่นดินไหวใด ๆ ในฝูงแผ่นดินไหวที่เป็นแผ่นดินไหวหลัก กล่าวคือขนาดของฝูงแผ่นดินไหวจะใกล้เคียงกัน [1] ประวัติและลักษณะเทือกเขาโอเรซึ่งตั้งอยู่ระหว่างชายแดนของสาธารณรัฐเช็กและเยอรมนีในภูมิภาคโบฮีเมียตะวันตกและโฟกต์ลันด์เป็นพื้นที่ที่มีชื่อเสียงตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 ว่าเป็นเขตที่เกิดปรากฏการณ์แผ่นดินไหวแบบฝูงแผ่นดินไหวบ่อยครั้ง ซึ่งปรากฏการณ์นี้มักเกิดต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลาหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน ในปี 1899 นักธรณีวิทยาชาวออสเตรียชื่อ โยเซฟ เค็นเน็ตได้ทำการศึกษาฝูงแผ่นดินไหวจำนวนราวหนึ่งร้อยครั้งในพื้นที่โบฮีเมียตะวันตกและโฟกต์ลันด์ ระหว่างเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ปี 1824 และได้บัญญัติคำว่า Schwarmbeben ซึ่งแปลในภาษาไทยว่า "ฝูงแผ่นดินไหว" หรือสวอร์มในภาษาอังกฤษ[2] คำว่า "สวอร์ม" มีที่มาจากลักษณะของจุดกำเนิดแผ่นดินไหว ที่ดูเหมือนกลุ่มผึ้งที่จับกลุ่มหนาแน่นเมื่อพิจารณาจากแผนที่ ภาคตัดขวาง หรือแบบจำลองสามมิติ กิจกรรมของภูเขาไฟและการเคลื่อนที่ของหินหลอมเหลวภายในแผ่นเปลือกโลกเป็นปัจจัยหลักในการเกิดฝูงแผ่นดินไหว หลายครั้งจะมีรายงานแผ่นดินไหวขนาดเล็กจำนวนมากเกิดก่อนการปะทุของภูเขาไฟ [3][4] ฝูงแผ่นดินไหวจะมีลักษณะเด่นคือแทบแยกไม่ออกระหว่างเมนช็อกกับอาฟเตอร์ช็อก ฝูงแผ่นดินไหวอาจถูกตั้งชื่อให้หากสร้างความเสียหายอย่างมีนัยยะสำคัญ ในบางกรณีจะพบแผ่นดินไหวที่คนไม่รู้สึกได้มากกว่าแบบอื่น แต่ก็อาจมีแผ่นดินไหวที่มีความรุนแรงระดับ 5 หรือ 6 เกิดขึ้นติดต่อกันอย่างรวดเร็ว ฝูงแผ่นดินไหวมักเกิดขึ้นเป็นระยะ ๆ ในช่วงเวลาสั้น ๆ บางคนจึงมีอาการ เมาเรือ นอนไม่หลับ บางครั้งอาจถึงขั้นเป็นโรคประสาท ในทางกลับกันอาจกล่าวได้ว่าแผ่นดินไหวเหมือนได้กลายเป็นเรื่องปกติกับคนที่อาศัยอยู่ใกล้กับศูนย์กลางแผ่นดินไหว และพฤติกรรมของพวกเขาในขณะที่เกิดแผ่นดินไหวมีความสงบกว่าผู้ที่อาศัยอยู่ในบริเวณที่มีแผ่นดินไหวน้อย สาเหตุการเกิดแผ่นดินไหวบริเวณรอบ ๆ ภูเขาไฟอาจเป็นผลมาจากการปะทุของหินหนืด หรือในพื้นที่ไม่มีภูเขาไฟก็เกิดฝูงแผ่นดินไหวได้เช่นกันแต่จะเกิดจากการไหลของน้ำใต้ดินเป็นส่วนใหญ่ เช่น ฝูงแผ่นดินไหวมัตสึชิโระ และฝูงแผ่นดินไหวในคาบสมุทรโนโตะ [5] หรือกิจกรรมทางเศรษฐกิจของมนุษย์ เช่น การสร้างเขื่อน[6] การทำเหมือง [7] ก็อาจเกิดจากปัจจัยเหล่านี้ได้ อ้างอิง
|
Portal di Ensiklopedia Dunia