ปางสรงน้ำฝนปางสรงน้ำฝน เป็นพระพุทธรูปอยู่ในอิริยาบถประทับยืน ทรงห่มผ้าวัสสิกสาฎก (ผ้าอาบน้ำฝน) เฉลียงพระอังสา (บ่า) พระหัตถ์ซ้ายห้อยลงข้างพระวรกาย พระหัตถ์ขวายกขึ้นลูบที่พระอุระ (อก) เป็นกิริยาสรงน้ำฝน ประวัติสมัยหนึ่งนครสาวัตถีเกิดความแห้งแล้ง ฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล พืชผลได้รับความเสียหาย ขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค มหาชนทั้งหลายต่างพร้อมใจกันมากราบทูลอาราธนาให้พระสัมพุทธเจ้าเสด็จออกสรงน้ำฝน ณ กลางแจ้งด้วยเชื่อในพุทธปาฏิหาริย์และพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ พระพุทธองค์มีพระประสงค์จะอนุเคราะห์มหาชน จึงทรงผ้าวัสสิกสาฎก (ผ้าอาบน้ำฝน) แล้วเสด็จออกไปยืน ณ กลางแจ้ง แล้วทอดพระเนตรแลดูทิศทั้งหลาย ด้วยพุทธานุภาพ ทันใดนั้นมหาเมฆก็บังเกิดขึ้นเป็นอัศจรรย์ เกิดเสียงฟ้าร้องคำรามสายฟ้าแลบแปลบปลาบ พลันฝนก็ตกลงมาอย่างมากมาย ยังผลให้พระพุทธองค์สรงน้ำฝนกลางแจ้งได้สมพระประสงค์ มหาชนทั้งหลายได้อาบและดื่มกินอย่างสุขสำราญทั่วกัน ความเชื่อและคตินิยม
อ้างอิง
|
Portal di Ensiklopedia Dunia