ปากน้ำโพปากน้ำโพ อาจหมายถึง 1) พื้นที่บริเวณปากแม่น้ำโพ แควใหญ่ หรือ แม่น้ำน่าน [1] 2) จุดบรรจบของแม่น้ำปิงและแม่น้ำน่าน เป็นแม่น้ำเจ้าพระยา 3) ชุมชนการค้าของชาวจีนที่ก่อตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 อยู่บริเวณปากแม่น้ำโพ แควใหญ่ หรือ แม่น้ำน่าน [1] 4) ตำบลปากน้ำโพ หรือ เมืองปากน้ำโพ [1] ตำบลในอำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ 6) อำเภอปากน้ำโพ เมืองปากน้ำโพในช่วงปี พ.ศ. 2460-2481 เป็นพื้นที่ศูนย์กลางการปกครองของจังหวัด ที่ควบรวมเมืองปากน้ำโพและเมืองนครสวรรค์เข้าด้วยกัน [1] 7) ชื่อเรียกแบบไม่เป็นทางการของเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ หลัง พ.ศ. 2481 จนถึงปัจจุบัน [1] 8) ตลาดปากน้ำโพ ย่านการค้าเก่าแก่และศูนย์กลางความเจริญของจังหวัดนครสวรรค์ [1] 9) สถานีรถไฟปากน้ำโพ - สถานีรถไฟในทางรถไฟสายเหนือ จังหวัดนครสวรรค์
ข้อสมมติฐานที่ 1 ปากน้ำโพมาจาก ปากน้ำโผล่ เพราะเป็นพื้นที่ปากแม่น้ำ ที่แม่น้ำปิง วัง ยมและน่าน มาโผล่รวมกันเป็นต้นแม่น้ำเจ้าพระยา ข้อสมมติฐานที่ 2 ปากน้ำโพมาจาก ต้นโพธิ์ที่อยู่บริเวณปากแม่น้ำ เนื่องจากมีต้นโพธิ์ใหญ่อยู่ริมตลิ่งใกล้วัดโพธาราม ประชาชนจึงเรียกว่า “ปากน้ำโพธิ์” [2]“ปากแม่น้ำโพธิ์” ต่อมาค่อย ๆ กร่อนกลายเป็น “ปากน้ำโพ” มาจนปัจจุบัน [3] ข้อสมมติฐานที่ 3 ปากน้ำโพมาจาก ปากน้ำของวัดโพธาราม หรือ วัดโพธิ์ ซึ่งสภาพภูมิศาสตร์บ้านเมือง ที่มีปากน้ำไหลมารวมกันตรงบริเวณวัดโพธาราม จึงเรียกต่อๆกันว่าปากน้ำวัดโพธาราม และพัฒนาเปลี่ยนมาเป็น “ปากน้ำวัดโพ” และ “ปากน้ำโพ” ในที่สุด [3] ข้อสมมติฐานที่ 4 ปากน้ำโพมาจาก ปากน้ำของแม่น้ำโพ ซึ่งเป็นชื่อของแม่น้ำปิง ส่วนที่แม่น้ำปิงและแม่น้ำวังไหลมาบรรจบรวมกันตั้งแต่จังหวัดตากถึงนครสวรรค์ ดังนั้นตรงปากน้ำปิงมาสบกับแม่น้ำน่าน เรียกว่า “ปากน้ำโพ” [4] [5] [6] ข้อสมมติฐานที่ 5 ปากน้ำโพมาจาก ปากน้ำของแม่น้ำโพ ซึ่งเป็นชื่อของแม่น้ำน่าน บริเวณตั้งแต่อุตรดิตถ์จนถึงนครสวรรค์ เพราะไหลผ่านตลาดการค้าบางโพ-ท่าอิฐ จังหวัดอุตรดิตถ์ ซึ่งเจริญรุ่งเรืองขึ้นประมาณสมัยรัชกาลที่ 3 จนถึงต้นรัชกาลที่ 4 โดยเป็นตลาดน้ำแบบเรือนแพที่ขนสินค้าจากภาคกลางไปค้าขายในพื้นที่สิบสองพันนา หลวงพระบาง แพร่ น่าน ฯลฯ ดังนั้นจึงเรียกพื้นที่ตรงปากน้ำน่านว่า ปากน้ำโพ [7] ซึ่งแม่น้ำโพ หรือ แม่น้ำคลองโพมาจากคลองโพที่อยู่ในจังหวัดอุตรดิตถ์ แล้วไหลลงมาแม่น้ำน่าน [8] ข้อสมมติฐานที่ 6 ปากน้ำโพมาจาก ปากแม่น้ำโพ หรือแม่น้ำน่าน ซึ่งเป็นจุดบรรจบของแม่น้ำสวรรคโลก และแม่น้ำพิษณุโลก [9] ซึ่งแม่น้ำสวรรคโลก น่าจะหมายถึง แม่น้ำยม และแม่น้ำพิษณุโลก น่าจะหมายถึง แม่น้ำน่าน [1]
|
Portal di Ensiklopedia Dunia