นุกูล ธนิกุล

นุกูล ธนิกุล
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรสงคราม
ดำรงตำแหน่ง
22 มีนาคม พ.ศ. 2535 – 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543
(8 ปี 232 วัน)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด7 สิงหาคม พ.ศ. 2501 (66 ปี)
เขตดุสิต จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
พรรคการเมืองความหวังใหม่ (2535-2545)
มัชฌิมาธิปไตย (2550-2551)
พลังประชารัฐ (2561-ปัจจุบัน)
คู่สมรสสุกานดา ปานะสุทธะ (หย่า)
บุตรนพดล ธนิกุล
บุพการี

นุกูล ธนิกุล (เกิด 7 สิงหาคม พ.ศ. 2501) เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรสงคราม และเป็นอดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดสมุทรสงคราม

ประวัติ

ร้อยตรี นุกูล ธนิกุล เกิดเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2501[1] เป็นบุตรของนายแคล้ว ธนิกุล กับนางสงัด ธนิกุล [2] สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต จาก มหาวิทยาลัยศรีปทุม สมรสและหย่ากับนางสุกานดา ปานะสุทธะ อดีตนายกองค์การบรืหารส่วนจังหวัดสมุทรสงคราม มีบุตรชายหนึ่งคน คือ นพดล ธนิกุล อดีตผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรสงคราม พรรคพลังประชารัฐ

งานการเมือง

ร้อยตรี นุกูล เข้าสู่วงการการเมือง ด้วยการเป็นตัวแทนของบิดา ในการลงเล่นการเมือง เนื่องจากบิดาเสียชีวิต[3] ก่อนที่จะได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2535 สังกัดพรรคความหวังใหม่ และได้รับเลือกติดต่อกัน รวม 4 ครั้ง

พ.ศ. 2549 ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา และได้รับเลือกตั้ง แต่ทำหน้าที่ได้เพียง 5 เดือนเท่านั้นก็ต้องพ้นจากตำแหน่งด้วยการถูกรัฐประหาร

เขาลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 ในนามพรรคมัชฌิมาธิปไตย แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 นุกูลได้สนับสนุน สุกานดา ปานะสุทธะ ภรรยาของตนในขณะนั้น ลงสมัครในนามพรรคเพื่อไทย แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง

ในปี พ.ศ. 2561 สุกานดาและนพดลย้ายมาสังกัดพรรคพลังประชารัฐ โดยคาดว่านุกูลได้ย้ายตามมาด้วยเช่นกัน

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

ร้อยตรีนุกูล ธนิกุล ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 4 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดสมุทรสงคราม สังกัดพรรคความหวังใหม่
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดสมุทรสงคราม สังกัดพรรคความหวังใหม่
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดสมุทรสงคราม สังกัดพรรคความหวังใหม่
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดสมุทรสงคราม สังกัดพรรคความหวังใหม่

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง
  2. ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย] กรมการปกครอง
  3. นักการเมืองถิ่นจังหวัดสมุทรสงคราม. รองศาสตราจารย์ ดร.กฤษณา ไวสำรวจ สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า. 2555[ลิงก์เสีย]
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-10-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๑๐, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๒๖, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐

 

Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9

Portal di Ensiklopedia Dunia