นกยางกรอกพันธุ์จีน
![]() นกยางกรอกพันธุ์จีน[2] (อังกฤษ: Chinese pond heron, ชื่อวิทยาศาสตร์: Ardeola bacchus) เป็นนกน้ำจืดเอเชียตะวันออกพันธุ์หนึ่งในวงศ์นกยาง (Ardeidae) เป็นพันธุ์หนึ่งใน 6 สปีชีส์ที่อยู่ในสกุล Ardeola (อังกฤษ: pond heron) มันเป็นสปีชีส์ที่เกิดข้างบริเวณ (parapatric) หรือเกือบอย่างนั้นกับนกยางกรอกพันธุ์อินเดีย (A. grayii) ทางทิศตะวันตก และนกยางกรอกพันธุ์ชวา (A. speciosa) ทางใต้ นกสามสปีชีส์นี้สมมุติว่าประกอบเป็นซูเปอร์สปีชีส์ นกกลุ่มนี้เป็นญาติกับ squacco heron (A. ralloides) และนกยางกรอกพันธุ์มาดากัสการ์ (A. idae) จนถึงกลางปี 2011 ก็ยังไม่ได้วิเคราะห์ยีนของนกสกุลนี้ว่าสัมพันธ์กับกันและกันเช่นไร[3] และก็ยังไม่ได้วิเคราะห์กระดูกเพื่อเปรียบเทียบนกต่าง ๆ ที่เป็นประเด็นเช่นกัน[4] ในประเทศไทย เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าพุทธศักราช 2535 จึงห้ามล่า พยายามล่า ห้ามค้า ห้ามนำเข้าหรือส่งออก ห้ามครอบครอง ห้ามเพาะพันธุ์ ห้ามเก็บหรือทำอันตรายรัง การห้ามการครอบครองและการค้ามีผลไปถึงไข่และซาก[2] ลักษณะและนิเวศวิทยานกปกติยาว 47 ซม. มีปีกขาว ปากเหลืองปลายดำ ตาและขาเหลือง ในฤดูผสมพันธุ์ สีทั่วไปเป็นสีแดง น้ำเงิน (หรือเทา-ดำ) และขาว[5]คือ หัวสีน้ำตาลแดง หลังสีเทาอมดำ อกสีแดง[6] และนอกฤดูผสมพันธุ์ เป็นสีน้ำตาล-เทามีลายและจุดขาว ๆ[5] นกอยู่ที่พื้นที่ชุ่มน้ำและสระน้ำตื้น ๆ ไม่ว่าจะเป็นน้ำเค็มน้ำจืดในประเทศจีนและในเอเชียตะวันออกเขตอบอุ่นและเขตกึ่งร้อนที่ใกล้ ๆ กัน เพราะเป็นนกที่ลุ่ม ที่อยู่จึงจำกัดโดยเขตกึ่งอาร์กติกทางเหนือ โดยทิวเขาทางตะวันตกและทางใต้[5] นกเดี่ยว ๆ อาจจะจรจัดไปไกลในที่อื่นบ้าง มีรายงานปี 1995 ว่าเห็นนกมีขนช่วงผสมพันธุ์ตัวหนึ่งที่แม่น้ำ Bonzon ใกล้เมือง Gangaw ในเขตมะกเว (รัฐชีน) ของประเทศพม่า เกินจากแนวตะวันตกที่เป็นเขตของสปีชีส์นี้ มีรายงานปี 1997 ว่าเห็นนกมาหยุดพักที่เกาะเซนต์พอล รัฐอะแลสกา เป็นการบันทึกเห็นนกเป็นครั้งแรกในสหรัฐ[7][8] นกกินแมลง ปลา และกุ้งกั้งปู มักทำรังกับนกยางพันธุ์ต่าง ๆ วางไข่สีเขียวออกน้ำเงิน 3-6 ฟอง[5] นกค่อนข้างสามัญและไม่จัดว่าเสี่ยงสูญพันธุ์ (threatened) โดยสหภาพระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ[9] แต่ในประเทศไทย เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าพุทธศักราช 2535 จึงห้ามล่า พยายามล่า ห้ามค้า ห้ามนำเข้าหรือส่งออก ห้ามครอบครอง ห้ามเพาะพันธุ์ ห้ามเก็บหรือทำอันตรายรัง การห้ามการครอบครองและการค้ามีผลไปถึงไข่และซาก[2] เชิงอรรถและอ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|
Portal di Ensiklopedia Dunia