นกกระเต็นน้อยธรรมดา
นกกระเต็นน้อยธรรมดา (ชื่อวิทยาศาสตร์: Alcedo atthis; อังกฤษ: Common kingfisher) เป็นนกกระเต็นชนิดหนึ่งที่พบได้ในประเทศไทย จัดอยู่ในวงศ์นกกระเต็นน้อย (Alcedinidae) และมีขนาดที่ค่อนข้างเล็กและน่ารัก มีความยาวจากปลายปากจรดปลายหางประมาณ 16–18 เซนติเมตร เมื่อเทียบกับนกกระเต็นชนิดอื่น ๆ แต่จะแตกต่างกันที่ตัวเมียมีโคนปากล่างและอาจทั้งปากล่างเป็นสีส้มแดงขณะที่ตัวผู้มีปากสีดำสนิท[3] ลักษณะทั่วไปนกกระเต็นน้อยธรรมดามีหัวและหน้าผากสีฟ้าอมเขียว สดใส มีจุดสีฟ้าอ่อนเล็ก ๆ เป็นแนวขวางถี่ ๆ หลายแนว คอสีขาว อกสีน้ำตาลแดง แก้ม และขนคลุมหูสีน้ำตาลแดง ปีกสีฟ้าอมเขียว มีจุดสีฟ้าอ่อนตรงแนวปีก หลังและตะโพกสีฟ้าสดใสมาก ๆ ขาและนิ้วเท้าเล็ก ๆ สีแดงสดใส เป็นนกขนาดเล็ก ยาว 16–18 เซนติเมตร ปีกสั้นกว่า 8 เซนติเมตร หางสั้น[4] นกวัยเล็กมีอกสีหม่นออกขาว ๆ เทา ๆ มีปากล่างสีแดง ขาและเท้าสีดำ และจะค่อย ๆ แดงขึ้นเรื่อย ๆ เมื่ออายุมากขึ้น[3] ถิ่นที่อยู่อาศัยรัฐควีนส์แลนด์ของออสเตรเลีย, ยุโรป, อินเดีย, พม่า, แอฟริกา, จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี, มาเลเซีย, เกาะสุมาตรา, เกาะชวา, เกาะบอร์เนียว, ฟิลิปปินส์, หมู่เกาะโซโลมอน, หมู่เกาะซุนดา, เกาะนิวกินี และไทย สำหรับประเทศไทยมีทั่วไปทุกภาค[5] (แบ่งออกได้เป็น 7 หรือ 8 ชนิดย่อย[6]–ดูในตาราง[2] ชนิดที่พบในประเทศไทย คือ A. a. bengalensis) โดยมีการเก็บตัวอย่างต้นแบบแรกได้จากอียิปต์[6] อาศัยตามแหล่งน้ำ เช่น ลำคลองหนอง บึง บ่อ ทะเลสาบ และ ยังพบได้ตามทุ่งโล่ง ป่าชายเลน ชายหาด และป่าดงดิบแล้งใกล้ที่มีแหล่งน้ำ ลำธารที่น้ำไหลช้า ทั้งในที่โล่งและในป่าที่ไม่ทึบนัก ตามสวนสาธารณะในเมือง และนอกเมือง ป่าโกงกาง จากที่ราบถึงที่สูง 1,830 เมตรจากระดับน้ำทะเล[3] พฤติกรรมการหากินมักพบอยู่โดดเดี่ยวไม่รวมฝูง หากินเวลากลางวัน โดยจะเกาะอยู่ตามกิ่งไม้แห้ง ตอไม้ ในแหล่งน้ำ เพื่อคอยจับปลาตัวเล็กๆ ลูกอ๊อด[4] กบขนาดเล็ก กุ้งน้ำจืดขนาดเล็ก ปลาตีน ตามแต่ที่จะจับได้บริเวณที่ไปอยู่อาศัย และแมลงในน้ำ เช่น แมลงปอ ตั๊กแตน เมื่อพบเหยื่อมันจะบินโฉบใช้ปากคาบเหยื่อ หรือบางครั้งลำตัวของมันจะจมลงไปในน้ำด้วย เมื่อได้เหยื่อมันจะกลับมาเกาะตรงที่เดิมแล้วจึงกลืนกิน หากเหยื่อเป็นปลามันจะหันทางด้านหัวปลาเข้าปาก หากยังไม่อิ่มก็จะคอยจ้องจับเหยื่อต่อไป นกกระเต็นน้อยธรรมดาจัดเป็นนกอพยพเข้ามาหากินในเขตประเทศไทย และยังไม่มีการรายงานพบการทำรังวางไข่ในประเทศไทย นกกระเต็นน้อยธรรมดาจัดเป็นนกอพยพที่พบได้บ่อยและมีปริมาณมากทั่วทุกภาค[3] การกระจายพันธุ์และแหล่งที่พบนกกระเต็นน้อยธรรมดาไม่ใช่นกประจำถิ่นของประเทศไทย แต่เป็นนกที่อพยพมาจากที่ที่มีอากาศหนาวเย็นในช่วงฤดูหนาว นกกระเต็นน้อยธรรมดาแถบอกดำ จะพบตามลำธารในป่าภาคใต้ นกกระเต็นน้อยธรรมดาสร้อยคอสีน้ำตาล จะพบตามป่าที่ราบต่ำภาคใต้ และนกกระเต็นน้อยธรรมดาแดง จะพบทางภาคใต้และภาคตะวันออก[4] ตามป่าชายเลน บางส่วนเป็นนกอพยพจะเริ่มพบในประเทศไทยได้ตั้งแต่ประมาณเดือนกันยายนไปจนถึงปลายฤดูหนาว[3] และเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามกฎหมายไทย[7] อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่นวิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ Alcedo atthis ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Alcedo atthis ที่วิกิสปีชีส์ |
Portal di Ensiklopedia Dunia