ธุลีปริศนา
ธุลีปริศนา เป็นนิยายแฟนตาซีไตรภาค ประพันธ์โดย ฟิลิป พูลแมน ประกอบด้วยมหันตภัยขั้วโลกเหนือ (ค.ศ. 1995) มีดนิรมิต (ค.ศ. 1997) และสู่เส้นทางมรณะ (ค.ศ. 2000) โดยได้รับการแปลกว่า 40 ภาษา และจัดจำหน่ายหนังสือได้กว่า 15 ล้านเล่ม[1] ผลงานทั้งสามได้รับรางวัลเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สู่เส้นทางมรณะ ซึ่งได้รับรางวัลหนังสือวิทเบรดประจำปี ค.ศ. 2001 ในขณะที่วรรณกรรมไตรภาคอยู่ที่ลำดับที่สามการสำรวจความคิดเห็นบิ๊กรีดของบีบีซีใน ค.ศ. 2009 เนื้อเรื่องดำเนินไปเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงจากวัยเด็กสู่วัยผู้ใหญ่ของตัวเอกสองคนคือ ไลรา เบลัควา และวิล แพร์รี่ ซึ่งได้ผจญภัยร่วมกันไปในดินแดนของโลกคู่ขนาน อันเป็นโครงเรื่องหลักของนิยายเรื่องนี้ ในนิยายมีองค์ประกอบทางด้านแฟนตาซี เช่น แม่มด หรือหมีขั้วโลกสวมเกราะ ขณะเดียวกันก็มีแนวความคิดด้านศาสตร์ต่าง ๆ เช่น ฟิสิกส์ ปรัชญา เทววิทยา และความเข้าใจเกี่ยวกับวิญญาณ โดยเนื้อหาส่วนใหญ่นั้นเป็นการกล่าวย้ำถึงบทกลอนพาราไดซ์ ลอสท์ ของจอห์น มิลตัน พูลแมนได้กล่าวแนะนำมนุษยชาติสำหรับสิ่งที่มิลตันเห็นว่าเป็นความล้มเหลวอันน่าสลดใจ[1] เนื่องจากเหตุผลดังกล่าวและเหตุผลอื่น ๆ เช่น การแสดงภาพลบที่มีต่อศาสนาคริสต์และศาสนาโดยรวม จึงทำให้วรรณกรรมเรื่องดังกล่าวได้รับคำวิพากษ์วิจารณ์จากองค์กรศาสนาบางแห่ง สำนักพิมพ์ผู้จัดจำหน่ายวางตัวหนังสือไว้ให้เป็นวรรณกรรมเยาวชน แต่ตัวพูลแมนเองต้องการจะสื่อความถึงบรรดาผู้ใหญ่มากกว่า[2] ในทวีปอเมริกาเหนือ ได้มีการเซ็นเซอร์เนื้อหาที่กล่าวถึงความรู้สึกทางเพศของไลราในสู่เส้นทางมรณะ[3][4] นอกจากนี้ พูลแมนยังได้เขียนหนังสือเพิ่มอีกสองเล่ม ซึ่งมีความเกี่ยวเนื่องกับไตรภาคธุลีปริศนา ไลราแอนด์เดอะเบิร์ดส์ ซึ่งปรากฏในออกซฟอร์ดของไลรา และกาลครั้งหนึ่งในดินแดนทางเหนือ ขณะนี้เขากำลังเขียนหนังสือเล่มหนาเพิ่มอีกหนึ่งเล่ม คือ คัมภีร์แห่งฝุ่นธุลี ต่อมา จึงได้มีการนำเรื่องราวไปแสดงเป็นละครเวทีในโรงละครแห่งชาติ ช่วงปี ค.ศ. 2003-2004 และ นิวไลน์ซีนีม่า ก็ได้นำเรื่องราวในตอนมหันตภัยขั้วโลกเหนือ ไปจัดทำเป็นภาพยนตร์เรื่องอภินิหารเข็มทิศทองคำ ในปี ค.ศ. 2007 ![]() ![]() ชื่อเรื่องกับที่มาของชื่อ![]() ชื่อ "ธุลีปริศนา" (His Dark Materials) นี้ มีที่มาจากบทกวีของจอห์น มิลตัน เรื่อง พาราไดซ์ ลอสท์ เล่ม 2 ความตอนหนึ่งดังนี้ :
เดิมฟิลิป พูลแมน เคยคิดจะใช้ชื่อชุดนิยายว่า "เข็มทิศทองคำ" (Golden Compasses)[5] ซึ่งคำนี้ก็มีปรากฏอยู่ในบทกวีพาราไดซ์ ลอสท์ เช่นกัน แต่ในบทกวีคำว่า compasses หมายความถึง "วงเวียน" ซึ่งเป็นเครื่องมือช่างชนิดหนึ่งซึ่งสื่อความถึงการที่พระเจ้าทรงสร้างโลก ดังปรากฏในภาพวาด The Ancient of Days ของวิลเลียม เบลค แต่ในนิยายนำมาเล่นคำโดยใช้รูปเอกพจน์ (compass) ซึ่งหมายถึง "เข็มทิศ" ในฉบับอเมริกันจึงได้เปลี่ยนชื่อเล่มแรกจาก Northern Lights มาเป็น Golden Compasses เพื่อเล่นคำตามแนวความคิดนี้ ฉากหลังเหตุการณ์ในวรรณกรรมไตรภาคนี้เกิดขึ้นในเอกภพคู่ขนานที่แตกต่างกัน ในมหันตภัยขั้วโลกเหนือ เหตุการณ์เกิดขึ้นในโลกที่เหมือนกับโลกของเรา การแต่งกายก็คล้ายคลึงกับสมัยวิคตอเรีย และยังไม่มีเทคโนโลยีทางด้านรถยนต์หรือเครื่องบินปีกตรึง ยานพาหนะที่สำคัญอย่างเดียวที่ปรากฏคือ เซพเพลิน ในโลกนี้ ดูเหมือนว่าจะไม่เคยมีการปฏิรูปศาสนาของนิกายโปรเตสแตนต์ ในหนังสือระบุถึง จอห์น คาลวินว่าเป็นพระสันตปาปา หรือมิฉะนั้น ก็อาจเป็นไปได้ที่ว่าการปฏิรูปศาสนาของนิกายโปรแตสแตนท์อาจจะประสบสำเร็จอย่างสมบูรณ์ยิ่งจนกระทั่งสามารถล้มล้างสำนักคาทอลิกลงได้อย่างสิ้นเชิง และก่อตั้งโครงสร้างการปกครองคณะสงฆ์ของโปรแตสแตนท์ขึ้นใหม่ทั้งหมด ศาสนจักรในวรรณกรรมของพูลแมน (หรือที่มักเรียกว่า "พระอาจาริยานุภาพ") มีอำนาจปกครองอันเข้มแข็งมากในโลกนวนิยายของเขา ในมีดนิรมิต เหตุการณ์ได้ย้ายจากโลกในหนังสือเล่มแรกมาสู่โลกของเรา และต่อไปยังอีกโลกหนึ่ง อันเป็นที่ตั้งเมืองซีตากาซซี และในสู่เส้นทางมรณะ เหตุการณ์ได้เกิดขึ้นเอกภพคู่ขนานอีกมากมาย เอกภพในตอนมหันตภัยขั้วโลกเหนือ มีเทคโนโลยีที่น่าสนใจหลายประการ แม้ดูเผิน ๆ แล้วเอกภพแห่งนั้นจะมีเทคโนโลยีล้าหลังกว่าโลกของเรา แต่ก็มีความก้าวหน้ากว่าในหลายสาขา โลกของไลรามีวิทยาการทางด้านฟิสิกส์อนุภาคเหมือนกับโลกของเรา แต่เรียกในชื่อ "เทววิทยาเชิงทดลอง" ในตอนสู่เส้นทางมรณะ มีการหารือกันเกี่ยวกับอาวุธล้ำสมัยที่สามารถตรวจจับดีเอ็นเอของผู้เป็นเป้าหมายได้ ทั้งยังสามารถติดตามเป้าหมายไปยังเอกภพต่าง ๆ นอกจากนี้ยังมี "ยานแห่งเจตจำนง" ที่ใช้ความคิดในการควบคุมยาน และติดตั้งอาวุธพลังงานที่ร้ายแรงอย่างยิ่งไว้ด้วย ![]() เอกลักษณ์ที่เด่นชัดประการหนึ่งในนวนิยายของพูลแมน คือแนวคิดเกี่ยวกับ "ภูติ" ในจักรวาลเริ่มแรกของเรื่องหรือเอกภพของตัวละครเอก ไลรา เบลัควา มนุษย์แต่ละคนจะมีดวงจิตที่เป็นตัวตนจับต้องได้ที่แสดงรูปร่างเป็นสัตว์ ซึ่งจำเป็นต้องอยู่ใกล้กับมนุษย์เจ้าของดวงจิตนั้น ๆ พวกแม่มดกับมนุษย์บางคนจะผ่านเข้าไปในดินแดนที่ซึ่งภูติไม่สามารถติดตามเข้าไปได้ หลังจากผ่านพ้นช่วงเวลาอันเจ็บปวดรวดร้าวของการพรากจากนั้นแล้ว ภูติของพวกเขาก็สามารถเดินทางออกไปห่างจากมนุษย์ได้ไกลเท่าที่มันต้องการ[6] ปกติพวกภูติจะพูดคุยกับมนุษย์เจ้าของมันเท่านั้น หากก็สามารถสื่อสารกับมนุษย์คนอื่นหรือภูติตนอื่นได้เช่นกัน ในระหว่างช่วงวัยเยาว์ของมนุษย์ พวกภูติสามารถเปลี่ยนรูปร่างไปมาได้ตามใจชอบ แต่เมื่อใดที่เด็กเหล่านั้นได้เติบโตเป็นหนุ่มสาว ร่างของพวกภูติจะคงอยู่เพียงร่างเดียว รูปร่างสุดท้ายของพวกภูตินั้นจะสื่อถึงบุคลิกลักษณะนิสัยของมนุษย์ผู้เป็นเจ้าของ ซึ่งมีความหมายเป็นนัยว่าบุคลิกของเด็ก ๆ จะปรับตัวจนคงที่เมื่อย่างเข้าสู่วัยรุ่น ในโลกจินตนาการของพูลแมน การที่มนุษย์คนหนึ่งคนใดจะแตะต้องตัวภูติของคนอื่นถือว่าเป็นการเสียมารยาทอย่างร้ายแรง ส่วนการที่มนุษย์ไม่มีภูติก็เป็นเรื่องเลวร้ายน่ากลัวเหมือนกับเห็นคนไม่มีหัว ในบางเอกภพ มีปีศาจซึ่งออกล่าภูติของหนุ่มสาวกับพวกผู้ใหญ่ มันกินพวกภูติเสียแล้วทำให้มนุษย์เจ้าของภูตินั้นสูญเสียสติสัมปชัญญะและค่อย ๆ ตายไป ภูติกับมนุษย์อาจแยกออกจากกันได้ด้วยกระบวนการตัดภูติซึ่งใช้โลหะบางชนิดมาช่วย เช่นที่ดำเนินการตัดภูตด้วยกิโยตินซึ่งทำจากไทเทเนียมและแมงกานีสที่โบลแวงการ์ แต่การทำเช่นนี้มีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตสูงมาก มนุษย์และภูติที่ถูกแยกจากกันจะถูกเปลี่ยนให้อยู่ในสภาพของซากผีดิบ ผลข้างเคียงที่ได้จากกระบวนการตัดภูติยังนำมาซึ่งพลังงานปริศนาปริมาณมหาศาลที่สามารถแปลงมาเป็นพลังงานแอนบาริก (หรือพลังงานไฟฟ้า) ได้ โครงเรื่องมหันตภัยขั้วโลกเหนือเรื่องราวเริ่มต้นขึ้นเมื่อตัวเอก ไลรา บาลัควา ผู้เป็นเด็กหญิงที่ถูกเลี้ยงดูในวิทยาลัยจอร์แดน ออกซฟอร์ด เธอและภูติของเธอ แพนทาไลมอน ได้เรียนรู้ถึงการมีอยู่ของฝุ่นธุลี พระอาจาริยานุภาพมองว่าฝุ่นธุลีเป็นหลักฐานของปฐมบาป ฝุ่นธุลีได้ถูกดึงดูดโดยความไร้เดียงสาของเด็กน้อยกว่าในผู้ใหญ่มาก ซึ่งนำไปสู่การนำเด็กไปทดลองอันน่าสยองขวัญ ภายใต้การควบคุมของคณะกรรมการการพลีกรรม อันเป็นองค์กรของนักเทววิทยาเชิงทดลองของพระอาจาริยานุภาพ โดยมีการลักพาตัวเด็กจำนวนมากไปทดลองทางเหนือ (เด็ก ๆ ต่างเรียกว่า "พวกตัวกินเด็ก") ไลรา ผู้เคยรู้สึกตื่นเต้นที่ตนได้รับการเลี้ยงดูจากสตรีผู้สวยงามและลึกลบ ชื่อว่า มิสซิสโคลเตอร์ แต่ได้มาค้นพบในภายหลังว่าเธอมีส่วนเกี่ยวข้องกับงานอันน่าสะพรึงกลัวในฐานะสมาชิกของคณะกรรมการการพลีกรรม จึงได้หลบหนีออกมา หลังจากที่ได้พบว่าโรเจอร์ พาสโลว์ หายตัวไปจากออกซฟอร์ด ไลราและแพนทาไลมอนได้ตัดสินใจเดินทางขึ้นไปทางเหนือพร้อมกับพวกยิปซีที่ออกตามหาเด็กของพวกเขาที่หายไปด้วยเช่นกัน ระหว่างการเดินทางเธอพบว่า ลอร์ดแอสเรียลและมิสซิสโคลเตอร์คือพ่อแม่ของเธอ ที่นั่นเธอได้รับความช่วยเหลือจากยอริก เบิร์นนิสัน, จอห์น ฟาและฟาร์เดอร์ โครัม ชาวยิปซี, นักแล่นบัลลูน ลี สกอร์บี้ และราชินีแม่มด เซราฟินา เพกคาลา ไลราสามารถปล่อยเด็กออกจากการทดลองของพวกตัดเด็กเหล่านั้นได้และทำลายสถานีวิจัยลง จากนั้น เธอเดินทางไปยังสวาลบาร์ด อันเป็นที่ตั้งของอาณาจักรหมีสวมเกราะ เธอได้พูดล่อหลอกจนทำให้กษัตริย์หมี ยูเฟอร์ รักนิสัน ได้ประลองตัวต่อตัวกับยอริก เบิร์นนิสันจนแพ้ อาณาจักรหมีจึงถูกปกครองโดยยอริก เบิร์นนิสัน ในตอนท้ายของเรื่อง ลอร์ดแอสเรียลกำลังหาหนทางในการเปิดประตูไปยังโลกอื่น ซึ่งต้องใช้พลังงานมหาศาล ซึ่งเขาได้ตัดภูตของโรเจอร์และทำให้เขาเสียชีวิต การระเบิดท้องฟ้าทำให้ประตูระหว่างโลกเปิดออก เขาได้เดินทางไปยังโลกอื่นเพื่อสังหารพระผู้ทรงอานุภาพ มิสซิสโคลเตอร์ต้องการทำลายฝุ่นธุลีและปฐมบาป ซึ่งไลราและแพนทาไลมอนก็ได้ตามไปด้วย มีดนิรมิตไลราได้เดินทางข้ามทางเชื่อมระหว่างโลกอันเกิดมาจากการทดลองของลอร์ดแอสเรียลนำเธอไปสู่ซีตากาซซี ซึ่งประชากรในโลกแห่งนี้สามารถค้นหาทางเชื่อมระหว่างโลกได้ก่อนโลกใด ๆ ในเนื้อเรื่อง จากการใช้เทคโนโลยีอย่างไม่ยั้งคิดของประชากรซีตากาซซีทำให้เกิดปีศาจอันจะคอยดูดกลืนภูติและวิญญาณของมนุษย์ที่เป็นผู้ใหญ่ ทำให้โลกนี้ผู้ใหญ่และหนุ่มสาวไม่สามารถอยู่อาศัยได้อย่างปลอดภัย ที่นี่ ไลราได้พบกับวิล พาร์รี่ เด็กชายอายุ 12 ปีจากโลกของเราผู้สะดุดใจและเดินเข้ามาในช่องว่างระหว่างโลก อันนำมาสู่ชิตากาซซีหลังจากฆ่าผู้ชายคนหนึ่งซึ่งคอยรบกวนครอบครัวของเขาลง ในความพยายามค้นหาพ่อที่หายตัวไปเป็นเวลานานแล้ว ต่อมาวิลได้กลายเป็นผู้ธำรงแห่งมีดนิรมิต ซึ่งเป็นอุปกรณ์ซึ่งถูกตีขึ้นเมื่อ 300 ปีก่อนโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวซีตากาซซีโดยใช้วัตถุดิบเดียวกันกับกิโยตินสีเงินที่โบลแวงการ์ คมมีดด้านหนึ่งสามารถตัดได้ทุกสิ่งทุกอย่างได้อย่างง่ายดาย แต่คมอีกด้านหนึ่งสำคัญกว่านั้น โดยสามารถตัดผ่านได้แม้กระทั่งอนุภาคย่อย ทั้งยังสร้างทางผ่านระหว่างโลกได้ หลังจากพวกเขาพบกับแม่มดจากโลกของไลรา พวกเขาก็ได้เดินทางไปหาพ่อของวิลต่อ ซึ่งซ่อนตัวอยู่ในโลกของไลราโดยใช้ชื่อว่า สตานิสลอส กรัมแมน เพียงเพื่อจะพบว่าเขาถูกสังหารโดยแม่มดนางหนึ่งที่รักเขา ส่วนไลราก็ถูกลักพาตัวไป สู่เส้นทางมรณะเรื่องราวเริ่มต้นขึ้นเมื่อกล่าวถึงไลราที่ถูกลักพาตัวไปโดยแม่ของเธอ มิสซิสโคลเตอร์ สมาชิกศาสนจักรที่ทราบคำนายที่ระบุว่าไลราจะเป็นอีฟคนต่อไป ทูตสวรรค์ บารัคและบัลธามอส ได้แจ้งวิลให้เดินทางไปกับพวกเขาเพื่อส่งมอบมีดนิรมิตเพื่อใช้เป็นอาวุธสงครามต่อต้านพระผู้ทรงอานุภาพ วิลเพิกเฉยต่อทูตสวรรค์ และด้วยความช่วยเหลือของอะมา เด็กสาวท้องถิ่น ราชาหมียอริก เบิร์นนิสัน และจารชนชาวกอลลิเวสเปี้ยนของลอร์ดแอสเรียล เทียลีส์และซาลมาเกีย เขาสามารถช่วยไลราจากถ้ำซึ่งแม่ของเธอซ่อนเธอไว้จากศาสนจักร ผู้ซึ่งตัดสินใจจะฆ่าเธอด้วยเกรงว่าเธอจะถูกล่อลวงจากสิ่งล่อและบาปเช่นเดียวกับอีฟดั้งเดิม ไลรา วิล เทียลีส์และซาลมาเกียได้เดินทางไปยังดินแดนแห่งคนตาย ทำให้ต้องแยกจากภูติของเขาชั่วคราว หลังจากนั้น เขาได้ปลดปล่อยวิญญาณจากการถูกกดขี่คุมขังโดยพระผู้ทรงอานุภาพ แมรี มาโลน นักวิทยาศาสตร์ที่มาจากโลกของวิล มีความสนใจในฝุ่นธุลี (หรือเรียกว่า อนุภาคมืด/เงา) ได้เดินทางไปยังดินแดนที่มีสิ่งมีชีวิตมีความรู้สึกอาศัยอยู่ เรียกว่า มูเลฟา เธอจึงได้เรียนรู้ธรรมชาติของฝุ่นธุลี ซึ่งได้รับการอธิบายว่าเป็นอนุภาคจิตครอบคลุมของการตระหนักรู้ในตัวเอง โดยเป็นทั้งสิ่งสร้างและหล่อเลี้ยงชีวิตไว้ ลอร์ดแอสเรียลและมิสซิสโคลเตอร์ที่กลับใจใหม่ได้ร่วมกันทำลายผู้สำเร็จราชการของพระผู้ทรงอานุภาพ เมตาตรอน ซึ่งทั้งหมดได้ตกลงสู่ห้วงอเวจีไปพร้อมกัน พระผู้ทรงอานุภาพตายด้วยความอ่อนแอของตัวเองเมื่อวิลและไลราปลดปล่อยจากคุกคริสตัลซึ่งเมตาตรอนได้ขังเขาไว้ เมื่อวิลและไลรากลับมาจากดินแดนอห่งคนตาย พวกเขาก็ได้พบกับภูติของตน เรื่องราวจบลงเมื่อวิลและไลราตกหลุมรักกัน แต่ไม่อาจอยู่ร่วมกันได้ในโลกเดียวกันได้ เนื่องจากทางผ่านระหว่างโลกทั้งหมด ยกเว้นทางผ่านเชื่อมระหว่างโลกบาดาลกับโลกของมูเลฟา จำเป็นต้องปิดเพื่อป้องกันการสูญเสียฝุ่นธุลี และทั้งสองคนสามารถมีชีวิตอยู่ได้อย่างปกติในโลกที่พวกเขาถือกำเนิดขึ้นมาเท่านั้น ไลราสูญเสียความสามารถตามธรรมชาติในการอ่านอลิธีอามิเตอร์ และเรียนรู้วิธีการใช้จิตสำนึกของตนให้ได้ผลอย่างเดียวกันแทน ตัวละครหลัก
ผลงานที่เกี่ยวข้องงานเขียนอื่นของพูลแมนที่อยู่ในหนังสือชุดเดียวกันนี้ ซึ่งแม้ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเนื้อเรื่องในธุลีปริศนา แต่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวของตัวละครหลักในเรื่อง โดยเรื่องราวเกิดขึ้นก่อนหน้าหรือหลังจากเหตุการณ์ในวรรณกรรมไตรภาค ได้แก่
แก่นของเรื่องและแรงบันดาลใจ![]() พูลแมนระบุถึงวรรณกรรมเอกของโลกสามเรื่องซึ่งเป็นแรงบันดาลใจต่อธุลีปริศนา ได้แก่ งานเขียนร้อยแก้วเรื่อง On the Marionette Theatre ของ ไฮน์ริช ฟอน ไคลสท์ ผลงานหลายชุดของวิลเลียม เบลก และที่สำคัญที่สุดก็คือ พาราไดซ์ ลอสท์ ของจอห์น มิลตัน ซึ่งเป็นที่มาของชื่อชุดวรรณกรรมไตรภาคชุดนี้[7] พูลแมนเคยแสดงเจตนาอย่างชัดเจนในการดัดแปลงเรื่องราวของมิลตันว่าด้วยสงครามระหว่างสวรรค์กับนรก ซึ่งปีศาจสามารถจะกลายมาเป็นวีรบุรุษก็ได้[8] ในบทนำของเขา เขาดัดแปลงถ้อยคำอันโด่งดังของเบลกที่พรรณนาถึงมิลตัน เป็นการล้อเลียนว่าตัวเขาเอง (พูลแมน) นั้น "เป็นพวกของปีศาจและรู้จักมันดี" พูลแมนยังอ้างอิงถึงแนวคิดอันเป็นเหตุเป็นผลในการพรรณนาโครงสร้างเชิงเทพนิยายที่แฝงอยู่ในนวนิยายของเขาอีกด้วย[9] จากแนวคิดดังกล่าวทำให้การตีความต่าง ๆ ในนวนิยายเป็นไปในทางตรงกันข้ามกับแนวคิดดั้งเดิมของศาสนาคริสต์ อนุภาคเงาหรือฝุ่นธุลีในเรื่อง ซึ่งถือเป็นความผิดบาปสำหรับศาสนจักรในโลกของไลรา กลับกลายมาเป็นจุดเริ่มต้นของทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับ "ชีวิต" การล่มสลายของมนุษย์หรือความผิดบาปครั้งแรกที่ทำให้มนุษย์ถูกลงโทษจากพระผู้เป็นเจ้าโดยการเนรเทศออกจากสวนอีเดน ก็ถูกตีความเสียใหม่ ว่าการล่มสลายครั้งนั้นแท้จริงแล้วเป็นสิ่งที่ดี[10] นักวิจารณ์วรรณกรรมมักเปรียบเทียบไตรภาคชุดนี้กับวรรณกรรมเรื่อง A Wrinkle in Time, A Wind in the Door และ A Swiftly Tilting Planet ของแมเดอลีน เลงเกิล ซึ่งมีแก่นเรื่องคล้ายกัน[11] เช่นเดียวกันกับเรื่องตำนานแห่งนาร์เนีย[12] นวนิยายชุดของ ซี. เอส. ลิวอิส โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตำนานแห่งนาร์เนียดูจะให้แรงบันดาลใจในทางตรงข้ามต่อแกนเรื่องหลักของวรรณกรรมไตรภาคของพูลแมนชุดนี้ พูลแมนกล่าววิพากษ์วิจารณ์นวนิยายชุดนาร์เนียในทางลบหลายประการ เช่น ว่าเป็น "วรรณกรรมการเหยียดผิวอย่างโจ่งแจ้ง" "การดูหมิ่นสตรีอย่างมหันต์" "ไร้ศีลธรรม" และ "ชั่วร้าย"[13][14] อาจกล่าวได้ว่า ธุลีปริศนาเป็นวรรณกรรมที่มีการตีความทางศาสนาตรงกันข้ามกับตำนานแห่งนาร์เนียอย่างสิ้นเชิง ตัวละครเอกอย่างไลรา ก็มาเพื่อแทนที่ลูซี่ ตู้เสื้อผ้าที่พาไปยังโลกอื่น กับเอกภพคู่ขนาน สัตว์พูดได้ สงครามครั้งสุดท้ายของจักรวาล และแม่มด ซึ่งในเรื่องนี้เป็นตัวละครทางฝ่ายดีแทนที่จะเป็นพวกปีศาจ[15] พูลแมนเองก็เคยกล่าวว่า "ผมเกลียดแนวคิดในเรื่องนาร์เนียอย่างที่สุด ที่ว่าวัยเยาว์เป็นยุคอันรุ่งเรือง ส่วนพวกผู้ใหญ่กับเพศสัมพันธ์เป็นความตกต่ำ"[15] อย่างไรก็ดีเมื่อมีผู้ถามว่า พูลแมนต้องการสื่ออะไรในนิยายเรื่องนี้ เขาหลีกเลี่ยงไม่ยอมตอบ แต่เอ่ยถึงแนวคิดทั่ว ๆ ไปว่า
ข้อถกเถียงทางศาสนา![]() จากแนวคิดพื้นฐานในการประพันธ์ จึงไม่น่าประหลาดใจที่วรรณกรรมเยาวชนธุลีปริศนา ได้ทำให้เกิดการถกเถียงทางศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่ชาวคริสเตียนบางกลุ่ม [16][17] แต่พูลแมนเองยังค่อนข้างประหลาดใจที่พบว่าเขาถูกวิพากษ์วิจารณ์น้อยกว่าที่คิด สำหรับประเด็นความเชื่อทางศาสนาในธุลีปริศนา เขากล่าวว่า "ผมค่อนข้างประหลาดใจว่าเหตุใดจึงถูกวิจารณ์น้อยนัก แฮร์รี่ พอตเตอร์ ยังถูกวิจารณ์หนักเสียกว่า ส่วนผมเหมือนร่อนอยู่ใต้เรดาร์ ประกาศแนวคิดบ่อนทำลายที่ละเอียดอ่อนและสำคัญกว่าคำพูดของตาเฒ่าแฮร์รี่เสียอีก หนังสือของผมเกี่ยวกับการฆ่าพระเจ้านะ"[18] ตัวละครบางตัวกล่าวตำหนิศาสนจักรและโครงสร้างการปกครองทางศาสนาอย่างรุนแรง ตัวอย่างเช่น รูต้า สกาดิ ราชินีแม่มดแห่งแลตเวีย ซึ่งเตรียมการทำสงครามกับศาสนจักรในโลกของไลรา นางกล่าวว่า "ประวัติศาสตร์ [ของศาสนจักร] ทั้งหมดที่ผ่านมา... มันเฝ้าพยายามปราบปรามและควบคุมความรู้สึกตามธรรมชาติ และเมื่อไม่สามารถจะทำเช่นนั้นได้ มันก็จะตัดทิ้งเสียเลย" (ดูที่ กระบวนการตัดภูติ) นางยังได้กล่าวเพิ่มเติมภายหลังถึงทุกองค์กรศาสนาว่า "ศาสนจักรทำสิ่งเหล่านั้นแหละ และทุก ๆ ศาสนจักรก็จะทำเหมือนกัน คือควบคุม ทำลาย และล้มล้างความดีทุกอย่าง" ในวรรณกรรม แม่มดกล่าวประโยคนี้เพื่อบรรยายว่าศาสนจักรในโลกของนางได้ทำร้ายพวกแม่มดให้กลายเป็นอาชญากรอย่างไร แมรี่ มาโลน ตัวละครหลักอีกตัวหนึ่ง ระบุว่า "ศาสนาของชาวคริสต์...คือความผิดพลาดทางความเชื่อที่มีพลังอำนาจมาก ก็เท่านั้น" ก่อนหน้านั้นเธอเคยเป็นนางชีคาทอลิก แต่ได้ละคำสาบานเสียเมื่อได้พบกับความรัก และทำให้ความศรัทธาสั่นคลอน อย่างไรก็ดี พูลแมนได้ออกมาเตือนว่าแนวคิดนี้ไม่ใช่มุมมองส่วนตัวของเขา เป็นแต่คำพูดของมาโลน "แมรี่เป็นตัวละครตัวหนึ่งในหนังสือ แมรี่ไม่ใช่ผม นี่เป็นนิยาย ไม่ใช่บทวิจารณ์ หรือคำสอน หรืองานเขียนปรัชญา"[19] พูลแมนพรรณนาภาพชีวิตหลังความตายที่แตกต่างออกไปจากแนวคิดเรื่องสวรรค์ของชาวคริสเตียน ในสู่เส้นทางมรณะ ชีวิตหลังความตายจะดำรงอยู่ในโลกบาดาลอันเป็นดินแดนอันเปลี่ยวร้าง เงียบเหงา ต้องทนทุกข์ทรมานด้วยเหล่าฮาร์ปี้ คล้ายกับโลกบาดาลตามชาวเชื่อของกรีก จนกระทั่งวิลและไลราได้เข้าไปในโลกนั้น และสามารถทำข้อตกลงกันได้ พวกฮาร์ปี้ให้คำมั่นว่าจะเลิกทรมานเหล่าวิญญาณของคนตาย โดยแลกกับการที่จะได้ฟังเรื่องจริงของธรรมชาติจากวิญญาณของคนตายเหล่านั้น จากนั้นก็จะนำวิญญาณแห่งคนตายขึ้นไปสู่โลกเบื้องบน ที่ซึ่งวิญญาณเหล่านั้นจะสลายกลายเป็นอะตอมและไปรวมกันเป็นส่วนเดียวกับธรรมชาติตลอดไป ![]() "พระผู้ทรงอานุภาพ" ในวรรณกรรมไตรภาคของพูลแมน ซึ่งได้รับการเคารพบูชาในโลกของไลราว่าเป็นพระเจ้าแห่งคริสตจักร ในความจริงแล้วเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดแรกที่มีวิวัฒนาการขึ้นเท่านั้น พูลแมนบรรยายไว้อย่างชัดเจนว่าพระผู้ทรงอานุภาพมิได้เป็นผู้สร้างโลกต่าง ๆ แต่ใครหรืออะไรที่เป็นผู้สร้างก็ยังไม่อาจระบุได้ ส่วนภาพของสมาชิกคริสตจักรจะบรรยายว่าเป็นพวกหัวรุนแรง[20][21] ซินเธีย เกรเนียร์ บรรยายไว้ในวัฒนธรรมคาทอลิก ว่า "ในโลกของพูลแมน พระเจ้า (พระผู้ทรงอานุภาพ) เป็นทรราชที่ไร้เมตตา[22] ศาสนจักรของพระองค์เป็นเครื่องมือแห่งการกดขี่ และผู้กล้าหาญที่แท้จริงก็คือผู้ที่สามารถล้มล้างทั้งสองอย่างนี้ได้"[23] วิลเลียม เอ. โดโนฮิว แห่งสันนิบาตคาทอลิค เรียกวรรณกรรมไตรภาคของพูลแมนว่าเป็น "ลัทธิไม่เชื่อพระเจ้าสำหรับเด็ก"[24] พูลแมนแย้งว่าโดโนฮิวกล่าวเช่นนั้นเพื่อพยายามคว่ำบาตรเขา "ทำไมเราถึงไม่เชื่อใจผู้อ่านล่ะ? [...] โอ ผมทั้งมึนทั้งสลดว่ายังมีคนไม่เต็มเต็งหลุดออกมาในโลกอีกหรือเนี่ย" [25] อย่างไรก็ดี พูลแมนยังได้รับการสนับสนุนจากพวกคริสเตียนบางกลุ่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากโรวัน วิลเลียมส์ อาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรี ซึ่งเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณของคริสตจักรแห่งอังกฤษ เขาอธิบายว่าการโจมตีของพูลแมนครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายกล่าวถึงการบังคับฝืนใจ อันตรายจากความเชื่อโดยไร้เหตุผล และการแอบอ้างใช้ศาสนาข่มเหงผู้อื่น แต่ไม่ได้เป็นปฏิปักษ์กับศาสนาคริสต์โดยตรง[26] วิลเลียมส์ยังเสนอว่าวรรณกรรมไตรภาคของธุลีปริศนาควรจะถูกบรรจุไว้ในชั้นเรียนการสอนศาสนาเพื่อการอภิปราย และยังกล่าวอีกว่า "หากได้เห็นกลุ่มนักเรียนมาชมการแสดงละครเวทีเรื่องนี้ของพูลแมนที่โรงละครแห่งชาติกันเป็นจำนวนมากคงจะน่าตื่นเต้นไม่น้อย"[27] พูลแมนแสดงความเห็นตรงไปตรงมาเกี่ยวกับความเป็นคริสเตียนในแง่ของความเชื่อ ที่หมิ่นเหม่ต่อการถูกวิพากษ์อย่างยิ่ง ในประโยคต่อไปนี้ "ผมเดาว่าท่านทั้งหลายคงจะลงความเห็นว่าผมน่ะเป็นพวกนอกศาสนา แต่ถ้าหากพระเจ้ามีจริง และพระองค์เป็นเหมือนอย่างที่พวกคริสเตียนบรรยายเอาไว้จริง ๆ เช่นนั้นก็สมควรแล้วที่พระองค์จะต้องถูกปราบปรามและได้รับการต่อต้าน"[15] อย่างไรก็ดี พูลแมนยังได้กล่าวในการสัมภาษณ์และระหว่างการปรากฏตัวของเขาอีกว่า แนวคิดดังกล่าวสามารถใช้ได้กับทุกศาสนา[28][29] รางวัลที่ได้รับหนังสือเล่มแรก "มหันตภัยขั้วโลกเหนือ" ชนะเลิศเหรียญรางวัลคาร์เนกี ประเภทวรรณกรรมเยาวชน ในประเทศอังกฤษ เมื่อปี ค.ศ. 1995 [30] ต่อมาในปี ค.ศ. 2007 คณะกรรมการเหรียญรางวัลคาร์เนกี CILIP เลือกให้หนังสือนี้เป็นหนึ่งในสิบหนังสือสำหรับเด็กยอดเยี่ยมในรอบ 70 ปี เดือนมิถุนายน ปี ค.ศ. 2007 ผลการโหวตออนไลน์เพื่อเลือกผู้ชนะเหรียญรางวัลคาร์เนกียอดเยี่ยมในโอกาสครบรอบ 70 ปีของรางวัล หนังสือนี้ได้รับเลือกเป็น the Carnegie of Carnegies[31][32] นิตยสาร The Observer ระบุว่า "มหันตภัยขั้วโลกเหนือ" เป็นหนึ่งในร้อย หนังสือนิยายยอดเยี่ยม[33] นอกจากนี้ยังได้รับรางวัลเดอะการ์เดียนอวอร์ด ปี 1996, และบริติชบุ๊คอวอร์ด: หนังสือสำหรับเด็กประจำปี 1996[34] เล่มที่สอง "มีดนิรมิต" ได้รับเหรียญรางวัลคาร์เนกี ปี ค.ศ. 1995, เดอะการ์เดียนอวอร์ด ปี ค.ศ. 1996, และบริติชบุ๊คอวอร์ด: หนังสือเด็กประจำปี ค.ศ. 1996[35] เล่มที่สาม "สู่เส้นทางมรณะ" ชนะเลิศรางวัลคอสต้า ประจำปี ค.ศ. 2001 ซึ่งเป็นรางวัลอันทรงเกียรติของวรรณกรรมอังกฤษ ซึ่งเป็นครั้งแรกที่งานเขียนที่ได้รับรางวัลนี้เป็น "วรรณกรรมสำหรับเด็ก"[36] นอกจากนั้นยังมีรางวัล Whitbread ชนะเลิศหนังสือแห่งปี ค.ศ. 2001 ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในประวัติการมอบรางวัลนี้ที่ผู้ชนะเลิศเป็น "วรรณกรรมเยาวชน" และจัดให้เรื่องดังกล่าวเป็นนวนิยายที่ดีที่สุด 100 เรื่อง[37] รางวัล Whitbread ชนะเลิศรางวัลหนังสือสำหรับเด็กแห่งปี ค.ศ. 2001 รางวัลหนังสือสำหรับเด็กแห่งปี และบริติชบุ๊คอวอร์ด แห่งปี ค.ศ. 2000 และรางวัล Booksellers Association Author of the Year Award ค.ศ. 2002[38] ปี ค.ศ. 2003 สถานีโทรทัศน์บีบีซี จัดสำรวจความนิยม "หนังสือในดวงใจ" และวรรณกรรมไตรภาคของธุลีปริศนาได้รับเลือกเป็นอันดับสาม[39] (อันดับหนึ่งและสองคือ เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ และสาวทรงเสน่ห์) เป็นหนังสือเพียงหนึ่งในสองเรื่อง ในบรรดาห้าอันดับแรก ซึ่งยังไม่ได้ดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ ณ เวลานั้น (อีกเรื่องหนึ่งคือ แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับถ้วยอัคนี ซึ่งออกฉายในปี ค.ศ. 2005) นอกจากนี้ใน 10 อันดับแรก ก็มีเพียงหนังสือทั้งสองเรื่องนี้ที่เป็นผลงานที่สร้างขึ้นในช่วง 25 ปีมานี้เอง การดัดแปลงในสื่ออื่นการดัดแปลงเรื่องธุลีปริศนา มีทั้งในสื่อวิทยุ ละครเวที และภาพยนตร์ วิทยุสถานีวิทยุบีบีซีได้บรรจุลงเป็นละครวิทยุบนบีบีซีเรดิโอ 4 ออกอากาศในปี ค.ศ. 2003 โดยมี เทเรนซ์ แสตมป์ แสดงเป็น ลอร์ดแอสเรียล และ ลูลู่ พ็อพเพิลเวลล์ เป็น ไลรา เบลัควา ปัจจุบันทางบีบีซีได้จัดทำละครวิทยุชุดนี้ออกจำหน่ายในรูปแบบซีดีและเทป ในปีเดียวกัน ละครวิทยุเรื่องมหันตภัยขั้วโลกเหนือ ได้รับการผลิตโดยสถานีวิทยุมวลชนไอร์แลนด์ (RTÉ) ละครเวทีนิโคลัส ไฮต์เนอร์ได้กำกับละครเวทีที่ดัดแปลงจากเรื่องนี้ โดยแบ่งออกเป็นสององก์ เป็นละครขนาดความยาวหกชั่วโมง แสดงที่โรงละครแห่งชาติในลอนดอน ในวันที่ 20 ธันวาคม 2003 ไปจนถึง 27 มีนาคม 2004[40] นำแสดงโดย แอนนา แม็กซ์เวล-มาร์ติน เป็นไลรา โดมินิก คูเปอร์ เป็นวิล ทิโมธี ดาลตัน เป็นลอร์ดแอสเรียล และแพทริเซีย ฮอดจ์ เป็นมิสซิสโคลเตอร์ โดยที่ภูติทั้งหมดเป็นหุ่นซึ่งออกแบบโดยมิเชล เคอร์รี่ การแสดงประสบความสำเร็จอย่างงดงามและได้จัดแสดงซ้ำอีกครั้ง (พร้อมกับนักแสดงชุดใหม่และบทพูดใหม่) เป็นรอบสองตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2004 จนถึงเดือนเมษายน 2005 นับแต่นั้นละครเวทีเรื่องนี้ก็มีการแสดงซ้ำในโรงละครขนาดเล็กหลายแห่งทั่วประเทศอังกฤษ ที่สำคัญก็เช่นที่โรงละครเพลย์บ๊อกซ์ ในเมืองวอริค นอกจากนี้ยังมีรอบพิเศษ ไอริชพรีเมียร์ ที่โรงละครโอเรลลี ในเมืองดับลิน แสดงโดยชมรมการละครของวิทยาลัยเบลวีเดียร์ ภาพยนตร์![]() นิวไลน์ซีนีม่าได้สร้างภาพยนตร์ขึ้นจากวรรณกรรมชุดนี้ โดยใช้ชื่อเรื่องว่า "The Golden Compass" (ชื่อไทยว่า "อภินิหารเข็มทิศทองคำ") ภาพยนตร์ได้ออกฉายในเวลาที่แตกต่างกัน กำกับโดย คริส ไวทซ์ ซึ่งนับได้ว่าเป็นภาพยนตร์ที่ทุ่มทุนสร้างมากที่สุดของนิวไลน์ซีนีม่าเลยทีเดียว[41] โดยการสร้างภาพยนตร์จะยึดหลักให้คล้ายกับเนื้อเรื่องในหนังสือให้มากที่สุด แต่ไวทซ์เห็นว่าควรจะลดบทบาทของคณะปกครองในเรื่องลงเพื่อหลีกเลี่ยงการต่อต้านของผู้ชมในตอนแรก "การนำเสนอ อภินิหารเข็มทิศทองคำ ต่อสาธารณชนจะต้องเป็นไปอย่างระมัดระวัง" เขากล่าว "เราไม่สามารถลดใจความที่เกี่ยวข้องกับศาสนาในหนังสือเล่มที่สองและเล่มที่สามลงได้โดยไม่ทำลายวิญญาณของวรรณกรรมไตรภาคเรื่องนี้... ผมจะยังไม่กังวลกับเนื้อหาในเล่มที่สองและสาม ตลอดเวลาที่ผ่านมาผมทำงานอย่างหนักกับภาพยนตร์เรื่องแรกเพื่อให้มันสามารถส่งต่อไปยังเรื่องที่สองและสามได้"[42] ในปี 2006 พูลแมนได้กล่าวว่า "ฉากตอนที่สำคัญยังคงอยู่ครบ และมีสาระแน่นเหมือนเดิม"[43] เดือนมีนาคม ค.ศ. 2008 เขากล่าวว่าภาพยนตร์ที่ถ่ายทำเสร็จแล้วนั้น "มีหลายสิ่งหลายอย่างในนั้นดี ... แต่ไม่มีส่วนใดที่ถอดแบบมาจากในหนังสือได้เหมือนทั้งหมด ทุกอย่างต้องมีการประนีประนอม"[44] ดาราภาพยนตร์ "อภินิหารเข็มทิศทองคำ" นำแสดงโดย ดาโกตา บลู ริชาร์ดส เป็นไลรา นิโคล คิดแมน เป็นมิสซิสโคลเตอร์ แดเนียล เครก เป็นลอร์ดแอสเรียล และอีวา กรีน เป็นเซราฟินา เพกคาลา ตลอดภาพยนตร์ไตรภาคนี้ ยอริก เบิร์นนิสัน ให้เสียงโดย เอียน แมคเคลเลน และเฟรดดี้ ไฮมอร์ ให้เสียงของแพนทาไลมอน ภาพยนตร์ได้รับเสียงตอบรับที่แตกต่างกันไป[45] การตอบรับของภาพยนตร์ จนถึงวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 2008 ภาพยนตร์เรื่องนี้ทำรายได้กว่า 372,234,100 ดอลลาร์สหรัฐทั่วโลก[46] ทางผู้สร้างยังไม่ได้วางแผนที่จะผลิตภาพยนตร์ภาคต่อออกมา มีการประณามว่าการต่อต้านจากศาสนจักรบีบให้ต้องยกเลิกการสร้างไป แต่ "ความผิดหวัง" กับภาพยนตร์ตอนแรกอาจเป็นเหตุผลแท้จริงของผู้สร้าง[47] ดูเพิ่มอ้างอิง
หนังสืออ่านเพิ่มเติม
แหล่งข้อมูลอื่น
|
Portal di Ensiklopedia Dunia