ธงชาติซาอุดีอาระเบีย
ธงชาติซาอุดีอาระเบีย เป็นธงที่ใช้โดยรัฐบาลของราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2506 มีลักษณะเป็นธงสีเขียวบนพื้นสีขาวที่มีจารึกภาษาอาหรับ และดาบ เป็นการประกาศความเชื่อตามหลักศาสนาอิสลาม (ชะฮาดะฮฺ)
ดาบเป็นสัญลักษณ์แห่งความยุติธรรม ธงสีเขียวที่มีตัวอักษรดังนี้หรืออักษรอาหรับอื่นมักถูกพบเห็นในศาสนาอิสลาม และระวังสับสนกับธงชาติซาอุดีอาระเบีย ธงอื่นโดยปกติแล้วจะไม่มีสัญลักษณ์ดาบ ธงดังกล่าวถูกผลิตขึ้นมาให้สมมาตรกันทั้งด้านหน้าและด้านหลัง เพื่อเพื่อให้มั่นใจว่าชะฮาดะฮ์จะอ่านอย่างถูกต้อง ทั้งเมื่อเริ่มอ่านจากขวาไปซ้าย หรือซ้ายไปขวา ดาบจะชี้ไปทางซ้ายมือทั้งหน้าและหลัง ในทิศทางของอักษร ธงดังกล่าวจะถูกชักขึ้นทางซ้ายมือของเสาธง เมื่อมองจากด้านหน้า โดยเสาธงอยู่ทางขวามือของธง[1] สีเขียวที่ใช้ในธงเป็น Pantone 330 c / CMYK (%) C 100 -- M 0 -- Y 50 -- K - 50[2] ประวัติยุคก่อนการรวมชาติซาอุดีอาระเบียถือกำเนิดจากอาณาจักรทั้งสองคือ นัจญด์ และ ฮิญาซ, มีพื้นฐานจากแบบธงรัฐสุลต่านนัจญด์ ก่อนหน้านี้ได้ใช้ธงสีเขียวรูปพระจันทร์เสี้ยวสีขาวตั้งแต่ ค.ศ. 1727 ในปีค.ศ. 1902 เอมิเรตนัจญด์และฮะซาอ์ได้มีการใช้ธงที่มีอักษรภาษาอาหรับจนถึงค.ศ. 1921 ภายหลังจากราชวงศ์ซะอูดทำสงครามได้รับชัยชนะเหนือคาบสมุทรอาหรับ พร้อมกับผนวกดินแดนของราชวงศ์เราะชีด.
สมัยการรวมชาติราชวงศ์ซะอูด ได้ปกครองดินแดนซาอุดีอาระเบีย ด้วยความช่วยเลือของผู้เคลื่อนไหวทางศาสนาวะฮาบีย์ ในศตวรรษที่ 18 นับตั้งแต่นั้นจึงมีธงชาติเป็นของตนเอง. โดยประกอบอักษร"ชะฮาดะฮฺ"บนธงของตน.[3] ค.ศ. 1902 อิบน์ ซะอูด, ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์ซะอูด และ ผู้สถาปนาราชอาณาจักร ได้มีพระบรมราชโองการให้เพิ่มดาบลงบนผืนธง.[3] ในปี ค.ศ. 1938 ได้มีการใช้ธงชาติที่มีรูปดาบไขว้ใต้ชะฮาดะฮฺ แบบธงดังกล่าวเป็นที่นิยมโดยทั่วไป แม้มิได้รับการรับรอง และ ได้เพิ่มแบบธงเรือแสดงสัญชาติ. จนกระทั่งวันที่ 15 มีนาคม ค.ศ. 1973 ได้มีการตราแบบธงขึ้นอย่างเป็นทางการ โดยแก้ไขแบบของดาบให้เป็นดาบตรง (ธงแบบเก่านั้นใช้รูปดาบโค้ง).
ดูเพิ่มอ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่นวิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ ธงชาติซาอุดีอาระเบีย |
Portal di Ensiklopedia Dunia