ท่อหู
ท่อหู หรือ ท่อยูสเตเชียน (อังกฤษ: Eustachian tube, auditory tube, pharyngotympanic tube[1]) เป็นท่อที่เชื่อมระหว่างคอหอยและหูชั้นกลาง ในมนุษย์โตเต็มวัยมีความยาวประมาณ 33 มม. และเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3 มม.[2] ได้รับการตั้งชื่อตามบาร์โตโลมีโอ ยูสเตชี (Bartolomeo Eustachi) นักกายวิภาคศาสตร์สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 16[3] ปกติแล้วหูชั้นกลางและช่องหูของมนุษย์และสัตว์บกชนิดอื่นบรรจุด้วยอากาศ อย่างไรก็ตามอากาศในหูชั้นกลางไม่ได้สัมผัสกับอากาศข้างนอกร่างกายโดยตรง ท่อหูเชื่อมจากห้องของหูชั้นกลางไปยังด้านหลังของคอหอย ในเวลาปกติท่อหูจะอยู่ในสถานะยุบตัว ทว่าจะเปิดออกขณะกลืนและเมื่อมีแรงดันบวก การที่แรงกดอากาศรอบ ๆ ลดลงขณะเครื่องบินยกระดับสูงขึ้นทำให้อากาศในหูชั้นกลางขยายตัวและดันกลับไปยังด้านหลังของจมูกและปาก ขณะเครื่องบินลดระดับปริมาณอากาศในหูชั้นกลางลดลงทำให้เกิดสุญญากาศเล็กน้อย เป็นเหตุให้ต้องมีการเปิดท่อหูเพื่อปรับแรงดันของหูชั้นกลางและบรรยากาศรอบ ๆ เท่ากัน นักดำน้ำก็ประสบกับการเปลี่ยนแปลงของแรงดันเช่นกัน ทว่าด้วยอัตราการเปลี่ยนแปลงที่มากกว่าทำให้ยิ่งต้องเปิดท่อหูบ่อยขึ้นเมื่อดำน้ำลึกซึ่งมีแรงกดสูง โครงสร้างท่อหูตั้งอยู่จากผนังด้านหน้าของหูชั้นกลางจนถึงผนังด้านข้างของคอหอยส่วนจมูก ประกอบด้วยส่วนที่เป็นกระดูกและส่วนที่เป็นกระดูกอ่อน ส่วนกระดูกส่วนกระดูกอยู่ติดกับหูชั้นกลางและมีความยาวประมาณ 12 มม. เริ่มข้างในผนังด้านหน้าของโพรงหูส่วนกลาง (tympanic cavity) ใต้ septum canalis musculotubarii และค่อย ๆ แคบลงจนจบที่มุมของจุดต่อระหว่างส่วนพีทรัสและส่วนสความัสของกระดูกขมับ ส่วนปลายมีรอยหยักเพื่อให้ส่วนที่เป็นกระดูกอ่อนสามารถยึดเกาะได้[4] ส่วนกระดูกอ่อนส่วนกระดูกอ่อนของท่อหูมีความยาวประมาณ 24 มม. เป็นอีลาสติกไฟโบรคาร์ทีเลจ (elastic fibrocartilage) รูปสามเหลี่ยม โดยส่วนยอดเชื่อมเกับขอบของจุดสุดใกล้กลางของส่วนกระดูก ส่วนฐานตั้งอยู่ใต้เยื่อเมือกของคอหอยส่วนจมูก เป็นส่วนที่ยกระดับ หรือ torus tubarius ด้านหลังรูเปิดคอหอยของท่อหู (pharyngeal opening of the auditory tube) กล้ามเนื้อการทำงานของท่อหูควบคุมโดยกล้ามเนื้อสี่มัด
ท่อเปิดออกระหว่างการกลืนโดยการหดตัวของกล้ามเนื้อ tensor veli palatini และ levator veli palatini ซึ้งเป็นกล้ามเนื้อของเพดานอ่อน[1] หน้าที่ปรับแรงดันในเวลาปกติท่อหูของมนุษย์จะอยู่ในสถานะปิด ทว่าสามารถเปิดเพื่อให้อากาศจำนวนไม่มากผ่านเพื่อปรับแรงดันระหว่างหูชั้นกลางและชั้นบรรยากาศเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหาย ความแตกต่างของความดันสามารถส่งผลให้เกิดการสูญเสียการได้ยินชนิดการนำเสียงบกพร่องแบบชั่วคราวจากการลดการขยับของเยื่อแก้วหูและกระดูกหู[5] มีหลายวิธีที่สามารถใช้เพื่อปรับแรงดันในหู เช่น การหาว การกลืน หรือการเคี้ยวหมากฝรั่ง โดยเป็นการตั้งใจเปิดท่อหู คนจะได้ยินเสียงดังเปาะเบา ๆ เมื่อเกิดการปรับแรงดันขึ้น มักเกิดเวลาขึ้นเครื่องบิน ดำน้ำ หรือขับรถบนพื้นที่ภูเขา เครื่องมือที่สามารถช่วยปรับแรงดันให้เท่ากันได้แก่ลูกโป่งที่ใช้กับจมูกซึ่งทำให้พองด้วยแรงดันอากาศบวก[6] ระบายมูกท่อหูยังทำหน้าที่ระบายมูกออกจากหูชั้นกลาง การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนหรืออาการภูมิแพ้สามารถทำให้ท่อหูหรือเยื่อคลุมรูเปิดมีอาการบวม และอาจมีน้ำขังเป็นแหล่งเติบโตสำหรับแบคทีเรีย เป็นสาเหตุของหูติดเชื้อ อาจบรรเทาอาการบวมได้โดยการใช้ยาหดหลอดเลือด ตัวอย่างเช่น ซูโดอีเฟดรีน, ออกซีเมตาโซลีน และฟีนิลเอฟรีน[7] อาหารหูติดเชื้อพบบ่อยในเด็กเนื่องจากเด็กมีท่อยูเสเชียนสั้นกว่าทำให้แบคทีเรียสามารถเข้าไปได้ง่ายกว่าและด้วยเส้นผ่าศูนย์กลางที่แคบกว่าทำให้การเคลื่อนตัวของน้ำเป็นไปได้ยากกว่า นอกจากนี้ระบบภูมิคุ้มกันของเด็กที่ยังอยู่ในช่วงกำลังพัฒนาและสุขอนามัยที่ไม่ดีทำให้เด็กมีโอกาสติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนมากกว่า รูปเพิ่มเติม
ดูเพิ่มอ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่นวิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ ท่อหู |
Portal di Ensiklopedia Dunia